25 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสุรินทร์รายงานว่า ประเพณี "แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ" เพื่อเป็นการรักษาประเพณีของท้องถิ่น ประเพณีแซนโฎนตามีความเป็นมายาวนานนับพันปี ต้นกำเนิดของแนวความคิดประเพณี โดยชาวเขมรพื้นบ้านสุรินทร์เห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น และให้มีการสืบทอดต่อๆกันมา
ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุคของตนเองได้ แซนโฎนตาให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเองเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันไปไม่สิ้นสุด และประเพณี "แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ" โดยจะแบ่งพิธีเป็น 2 ช่วงคือ "สารทเล็ก" หรือ "เบ็ญตู๊จ" ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 และ "สารทใหญ่" หรือ "เบ็ญธม" ตรงกับแรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งถือเป็นวันแซนโฎนตา
แต่ที่เป็นไฮไลสำคัญทีเรียกเสียงฮือฮาในพิธีก็คือ เมื่อชาวบ้านอังกอล ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้จัดพิธีแซนโฎนตาที่สำนักฤาษีคำแสน ที่ชาวบ้านในพื้นที่มักจะไปขอเลขโชคลาภ หรือเข้าไปขอพรกับองค์ปู่กาดำ แต่ที่ทำให้คนสนใส่เป็นอย่างมาก คือตัวเลขจาก ธูปเสี่ยงโชค และเลขที่ปู่คำแสนจะเขียนให้ บนหัวหมูที่นำมาประกอบพิธีเซ่นไหว้ คือเลข 405 - 71 ส่วนเลขธูปนั้นคือ 2457 หลายคนก็รีบพากันนำโทรศัพท์มาถ่ายเก็บไว้ บางคนก็นำปากกามาจด เพื่อนำไปเสี่ยงโชคในงวดที่จะถึงนี้.012