วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘เชื่อมั่น’หลายปัจจัยสร้าง  ‘เทคโนโลยี’เพียงส่วนหนึ่ง

สกู๊ปแนวหน้า : ‘เชื่อมั่น’หลายปัจจัยสร้าง ‘เทคโนโลยี’เพียงส่วนหนึ่ง

วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“Trust (ความเชื่อมั่น, ความไว้วางใจ) คือหัวใจของทุกอย่าง สมมุติว่าท่านกำลังจะแต่งงานแล้วต้องซื้อแหวนเพชรไปหมั้นเจ้าสาว รู้ได้อย่างไรว่าเพชรนั้นเป็นเพชรจริง รู้ได้อย่างไรว่าเพชรนั้นต่อให้เป็นเพชรจริง ไม่ใช่เพชรที่เป็น Blood Diamond(เพชรเปื้อนเลือด) ก็คือเพชรที่มาจากเหมืองที่เกิดขึ้นจากสงครามในบางประเทศทางแอฟริกา

หรือถ้าเกิดท่านอยากจะรับประทานผัก-ผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ท่านรู้ได้อย่างไรว่าผัก-ผลไม้ที่อยู่บนโต๊ะที่ท่านจะรับประทาน เป็นผัก-ผลไม้ Organic (เกษตรอินทรีย์) และร้ายกว่านั้น ถ้าเกิดท่านต้องรับประทานยาไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์อะไร ท่านรู้ได้อย่างไรว่ายานั้นเป็นยาจริง เพราะถ้าเกิดว่าทานผิดเสียชีวิตได้เลย เพราะฉะนั้น Trust คือสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง”


สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) กล่าวในการปาฐกถา หัวข้อ “ทำไมต้องมีสื่อที่สังคมเชื่อใจได้ในโลกที่ไม่น่าไว้ใจ (Why trusted-media matters in a zero-trust world?)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวทีประชุมสุดยอด APAC Trusted Media Summit ประจำปีครั้งที่ 5 จัดโดย โคแฟค (ประเทศไทย) และ Google News Initiative (GNI)เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าด้วยเรื่องของ Trust หรือความรู้สึกเชื่อมั่นไว้ใจกัน มีความสำคัญอย่างมากกับวิถีชีวิตในสังคมมนุษย์

ดังที่ 2 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอย่าง โรนัลด์ คอส (Ronald Coase) และ โอลิเวอร์ วิลเลียมสัน (Oliver Williamson) ได้ทำการศึกษาไว้ โดย คอส ซึ่งได้รางวัลในปี 2534 ค้นพบว่า “การเกิดขึ้นของบริษัทคือการลดต้นทุนในการทำธุรกรรม และธุรกรรมส่วนใหญ่ก็เกิดในบริษัท” ซึ่งหนึ่งในต้นทุนที่ว่าก็คือความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เนื่องจากการทำงานในรูปแบบบริษัทหรือองค์กร เป็นการทำให้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ จึงเกิดความไว้ใจกันได้มากกว่าไปจ้างคนทำงานแบบวันนี้จ้างคนหนึ่ง วันต่อไป
จ้างอีกคนหนึ่ง

ส่วน วิลเลียมสัน ซึ่งได้รางวัลในปี 2552 ชี้ว่า “การที่บริษัทกลุ่มหนึ่งเลือกทำธุรกิจร่วมกันบ่อยๆ ก็มาจากความไว้วางใจกัน” และนำไปสู่การทำงานแบบมีส่วนร่วมไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่เพราะเห็นว่าเป็นคนละบริษัท เช่น บริษัทรถยนต์กับซัพพลายเออร์ เนื่องจากซัพพลายเออร์คือบริษัทที่รับผลิตชิ้นส่วนป้อนเข้าโรงงานผลิตรถยนต์ ดังนั้นบริษัทผลิตรถยนต์ก็ต้องไว้ใจซัพพลายเออร์ด้วย

อย่างไรก็ตาม “เมื่อโลกพัฒนามาถึงยุคดิจิทัล..ดูเหมือนผู้คนจะเริ่มมองว่าโลกนี้ไม่มีอะไรน่าไว้ใจได้เลย (Zero Trust World หรือ Trustless World)” โดยเฉพาะเมื่อบนอินเตอร์เนตเต็มไปด้วยข่าวปลอม (Fake News) แถมระยะหลังๆ ยังมาในรูปแบบคลิปวีดีโอปลอมจากเทคโนโลยี Deep Fake ที่แนบเนียนจนแยกแยะได้ยาก ข่าวปลอมเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

จากวิกฤตแห่งความไว้ใจที่เกิดขึ้น จึงนำมาซึ่งแนวคิด “ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความเชื่อมั่น” เช่น เทคโนโลยี “บล็อกเชน (Blockchain)” ซึ่งใส่ข้อมูลอะไรลงไปแล้วลบหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขทำได้ยากมาก ถูกนำมาใช้สร้างความเชื่อมั่นกับสกุลเงินดิจิทัลยอดฮิตอย่าง “บิตคอยน์ (Bitcoin)” ด้วยสมมุติฐานว่าโลกอินเตอร์เนตไว้ใจใครไม่ได้ จึงต้องมีเทคโนโลยีมารับประกันว่า เงินบิตคอยน์ที่ใช้กันนั้นจะเป็นเงินจริงเพื่อป้องกันการถูกโกงเวลาซื้อ-ขายสินค้า

“มีความคิดว่า ถ้า Bitcoin คือเทคโนโลยีที่สามารถสร้าง Trust ได้ในโลกที่มั่นเป็น Trustless World ก็สามารถเอา Blockchain มาใช้กับสารพัดเรื่องได้ ยกตัวอย่างเอามารับประกันเพชรที่ขุดขึ้นมาไม่ใช่ Blood Diamond และเป็นเพชรจริง ความเชื่อแบบนี้ก็อยู่ในวงการเทคโนโลยีพอสมควร แต่ผมจะชี้ว่าวิธีคิดแบบนี้มีปัญหาอย่างยิ่งและมีจุดอ่อน นั่นก็คือสิ่งที่ Blockchaim รับประกันได้ว่าเพชรนั้นเป็นเพชรจริงมันจะต้องอาศัยระบบการออกใบรับรอง (Certification) ของเพชร นับตั้งแต่เพชรที่ขุดขึ้นมา

ต้องมีใครสักคนไปดูว่าเพชรเม็ดนี้ไม่ได้เป็น Blood Diamond แต่เป็นเพชรที่ขุดขึ้นมาอย่างถูกต้องจริง แล้วก็เอาใบรับรองนั้นใส่เข้าไปใน Blockchain แล้ว Blockchain ก็เป็นฐานข้อมูลที่ไม่สามารถลบได้ ฉะนั้นคนก็เชื่อว่าจะโกงไม่ได้ แต่ทุกท่านก็จะทราบว่าท่านจะไปรับประกันเพชรจริงๆ ได้อย่างไร ในเมื่อเพชรเม็ดจริงกับเพชรที่อยู่ใน Blockchain ซึ่งมันเป็นเพียงข้อมูลดิจิทัล เป็นคนละส่วนกัน ในข้อมูลอาจเป็นใบรับรองที่ไม่ถูกปลอมแปลง แต่ระหว่างขนส่งเพชรเราจะรู้ได้อย่างไร นี่คือจุดอ่อนสำคัญของแนวคิด Trustless World” สมเกียรติ ระบุ

สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นนี้ว่า เพชรอาจมีข้อได้เปรียบเพราะแต่ละเม็ดมีลวดลายไม่เหมือนกัน จึงสามารถนำลวดลายนี้ใส่เข้าไปเป็นฐานข้อมูลใน Blockchain ได้ แต่หากเป็นสินค้าอย่างผัก-ผลไม้ ยารักษาโรค จะทำอย่างไร อีกทั้งในความเป็นจริง “ความไว้วางใจไม่ได้อยู่เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง แต่ต้องมีในทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต การกระจายสินค้า ฯลฯ ตั้งแต่ต้นจนจบ” จึงแทบไม่มีวิธีใดที่ป้องกันได้ 100%

ขณะเดียวกัน “การมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีอย่างมากเกินไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่นก็มีต้นทุนสูงมาก” เช่น เหมือง Bitcoin ใช้ไฟฟ้า 96 TWh ต่อปี มากกว่าชาวฟิลิปปินส์ใช้ไฟฟ้ารวมกันทั้งประเทศ และการใช้พลังงานอย่างมหาศาลแบบนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่าจะไม่มีการปลอมแปลง เพราะเทคโนโลยีนั้นป้องกันได้ก็เพียงการปลอมแปลงข้อมูล แต่ไม่ใช่กับการปลอมสิ่งของในโลกจริง

และเอาเข้าจริงๆ แล้วคงต้องย้อนกลับไปถามว่า “โลกเราไม่มีอะไรไว้ใจได้ (หรือเชื่อใจใครไม่ได้) เลยจริงหรือ?” หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือผลสำรวจในปี 2564 จากสถาบันพระปกเกล้า ว่าด้วยความเชื่อมั่นของสังคมไทยต่อองค์กรต่างๆ ซึ่งแม้บางองค์กรจะถูกมองว่ามีปัญหาในเชิงภาพลักษณ์ เช่น ตำรวจ พรรคการเมือง หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชน แต่ในภาพรวมความน่าเชื่อถือก็ยังค่อนข้างสูงโดยอยู่ที่ร้อยละ 70-80

หรือแม้นักการเมืองจะถูกมองว่าไม่น่าเชื่อถือ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลับได้คะแนนความน่าเชื่อถือสูงมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือ “ความรู้สึกใกล้ชิดจากการได้พบปะพูดคุยกันต่อหน้า (Face-to-Face Interaction)” ซึ่งแตกต่างในโลกอินเตอร์เนตที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือเผยแพร่ และแม้กระทั่งในโลกอินเตอร์เนตที่ถูกมองว่าเชื่อถือไม่ได้เลย ก็ยังมีความพยายามทำให้เกิดความน่าเชื่อถือขึ้นมา เช่น สำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ จนถึงเครือข่ายอย่างโคแฟคที่ร่วมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

“เทคโนโลยี อัลกอริทึม มันช่วยได้เพียงบางส่วน เช่น ตัวข้อมูลข่าวสารระหว่างส่งว่ามันไม่ถูกปลอม แต่ถ้าข่าวมันเป็นข่าวปลอมตั้งแต่ต้น อัลกอริทึมไม่สามารถช่วยได้ อย่างมากก็เป็นเครื่องมือเล็กๆ ในองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งยังต้องใช้มนุษย์ ยังต้องใช้ความเชื่อใจ” ปธ. TDRI ฝากข้อคิด

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved