วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘กสม.-สสส.’จัดเวทีเสวนา  สิทธิยุติตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

‘กสม.-สสส.’จัดเวทีเสวนา สิทธิยุติตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

วันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : กสม สสส สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  •  

“วันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล (Safe Abortion Day)” ตรงกับวันที่ 28 กันยายนของทุกปี ซึ่งนานาชาติจะมีกิจกรรมรณรงค์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของผู้หญิงในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ หรือ“ทำแท้ง” อย่างปลอดภัย สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีหลายองค์กรที่จัดกิจกรรม รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาเรื่อง“ความก้าวหน้าด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ :สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย” เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา

น.ส.พรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่าการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ซึ่งได้รับการรับรองในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) และกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม


โดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญประจำกติกา ICESCR เห็นว่า การขาดบริการฉุกเฉินด้านสูติกรรมหรือการปฏิเสธการทำแท้งมักนำไปสู่การเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของผู้หญิงที่เป็นมารดา ซึ่งถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนในการมีชีวิตและสุขภาพอนามัยที่ดี ขณะที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ประเทศไทยได้มีประมวลกฎหมายอาญาฉบับแก้ไข ซึ่งมาตรา 301 กำหนดให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

และมาตรา 305 ที่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาให้บริการยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่มีความผิด อย่างไรก็ดี จากรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนปี 2564 ของ กสม. พบว่าภายหลังจากที่กฎหมายบังคับใช้ ยังมีปัญหาในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์หลายประการ เช่น โรงพยาบาลของรัฐจำนวนมากยังขาดความพร้อมในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์และไม่ส่งต่อ (Refer) ไปยังสถานบริการอื่นที่พร้อมให้บริการ

นอกจากนี้ ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2565 พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูลแหล่งบริการโรงพยาบาลที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งกสม. ได้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลให้เร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเสริมสร้างความเข้าใจต่อประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายและกลไกที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กสม. จะนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้รับฟังจากเวที ไปประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2565 ที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา รวมทั้งนำไปสู่การจัดทำรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญา CEDAW ของไทย

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่26 ก.ย.2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 กำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ที่จะยุติการตั้งครรภ์

ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อน เพื่อให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน รอบด้าน ส่งผลให้ผู้ให้บริการสุขภาพและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางกฎหมายท่ามกลางความท้าทายในทางปฏิบัติ เช่น ข้อจำกัดเรื่องจำนวนหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งประเทศไทยกำหนดให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นทางเลือกของผู้หญิงแบบกำหนดเงื่อนไข เช่น การกำหนดอายุครรภ์ที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปลายปี 2564 ระบุว่า 6 ใน 10ของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมทั่วโลกเลือกยุติการตั้งครรภ์ และร้อยละ 45 ต้องยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัยซึ่งถือเป็นปัญหาเชิงสุขภาวะใหญ่ของโลก

ทั้งนี้ การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยควรเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้หญิงมีสิทธิเลือกและได้รับการดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ แต่อุปสรรคที่ผู้หญิงต้องเผชิญในการเลือกยุติการตั้งครรภ์ของตน คือ การเข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ที่ปลอดภัย ในเวลาที่เหมาะสม ในราคาที่จับต้องได้ และได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์ ซึ่งถือเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง

ด้าน น.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “Abortion Rights=Health Rights=Human Rights” สรุปว่า ประเทศไทยยังมีผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัยอยู่จำนวนมาก แม้ว่าจะมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305ที่แก้ไขใหม่แล้วก็ตาม แต่รัฐยังต้องมีหน้าที่ในการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็มสิทธิของผู้หญิงทั้งกลุ่มที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมายและที่ต้องการตั้งครรภ์ต่อให้ได้เข้าถึงระบบบริการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม และสวัสดิการที่ควรได้รับ

“กสม. ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องจัดให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในพื้นที่ใดหรือถือสิทธิประโยชน์ใดอยู่ เพราะสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยคือสิทธิสุขภาพและสิทธิมนุษยชน” น.ส.สุภัทรากล่าวปิดท้าย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘พิสดาร’ระวังเป็น‘ปมด้อย’ แนะพ่อแม่ตั้งชื่อลูกขอให้ยึด‘ประโยชน์สูงสุดของเด็ก’ ‘พิสดาร’ระวังเป็น‘ปมด้อย’ แนะพ่อแม่ตั้งชื่อลูกขอให้ยึด‘ประโยชน์สูงสุดของเด็ก’
  • ‘กสม.’ติดตามการแก้ปัญหา  สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ‘กสม.’ติดตามการแก้ปัญหา สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน
  • ‘กสม.’ร่วมประชุม‘GANHRI2025’  เสริมสร้างความร่วมมือสิทธิมนุษยชน ‘กสม.’ร่วมประชุม‘GANHRI2025’ เสริมสร้างความร่วมมือสิทธิมนุษยชน
  • ‘กสม.’ร่วมพัฒนาศักยภาพ  ตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว ‘กสม.’ร่วมพัฒนาศักยภาพ ตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว
  • ถก พ.ร.บ.เหล้า ถึงเวลาต้องแก้  ‘ควบคุม-ป้องกัน’ จำกัดใบอนุญาต ถก พ.ร.บ.เหล้า ถึงเวลาต้องแก้ ‘ควบคุม-ป้องกัน’ จำกัดใบอนุญาต
  • ‘สสส.’จับมือ‘มธ.’พัฒนาโมเดล  มหาวิทยาลัยสุขภาวะดีแห่งอนาคต ‘สสส.’จับมือ‘มธ.’พัฒนาโมเดล มหาวิทยาลัยสุขภาวะดีแห่งอนาคต
  •  

Breaking News

ครม.อิ๊งค์1/2 เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่

'หมอวรงค์'แฉมีคนพยายามแทรกแซงศาล หวังตีตกไต่สวนคดีชั้น 14

โบนัส500ล้าน!จอมพลิกล็อกรับทรัพย์เข้า8ทีมสโมสรโลก

เรือเฟอร์รีมุ่งหน้า'เกาะบาหลี'ล่ม ดับแล้ว 4 ราย สูญหายอีกเพียบ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved