วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(จบ)  มี‘ประวัติ’ตัดโอกาสกลับตัวใหม่

สกู๊ปแนวหน้า : ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(จบ) มี‘ประวัติ’ตัดโอกาสกลับตัวใหม่

วันอาทิตย์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

(ต่อจากฉบับวันที่ 12 พ.ย. 2565)

ยังคงอยู่กับงานสัมมนาวิชาการ “ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย”จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งตอนที่แล้วกล่าวถึงผลกระทบจากแนวคิดเรื่องการประกันตัวที่เน้นการขังเป็นหลัก-ปล่อยเป็นรายกรณีไป ส่วนในตอนนี้จะว่าด้วยอีกปัญหาหนึ่งคือ “ประวัติอาชญากรรม” ที่ทำให้คนจำนวนมากไม่มีที่ยืนในสังคม โดยไม่แยกว่าจะเป็นความผิดแบบใด หรือแม้แต่ไม่แยกว่าคดีนั้นศาลตัดสินถึงที่สุดว่าผิดจริงแล้วหรือไม่


พล.ต.ต.เจนเชิง ประทุมสุวรรณ ผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากร (ผบก.ทว.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ฐานข้อมูลประวัติอาชญากรที่รวบรวมไว้ มีจำนวนทั้งสิ้นเกือบ 16 ล้านรายการ ในเบื้องต้นทางกองทะเบียนฯ ได้พิจารณาไปแล้วประมาณ 3 ล้านรายการ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกลุ่มที่เข้าหลักเกณฑ์ 1.3 ล้านรายการ กับไม่เข้าหลักเกณฑ์อีก 1.7 ล้านรายการ

กระทั่งในช่วง 1 ปีล่าสุด พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนี้ในชื่อโครงการ “ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชน” โดยจากฐานข้อมูลที่ค้างอยู่ 12 ล้านรายการ ตรวจสอบพบ 7.5 ล้านรายการ ทางสถานีตำรวจได้รายงานมาแล้วว่ามีผลคดีถึงที่สุด ส่วนที่เหลืออยู่อีก 4.5 ล้านรายการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือคดีที่อยู่ระหว่างดำเนินการ กับคดีที่ขาดอายุความ

สำหรับในกลุ่ม 7.5 ล้านรายการ มีอยู่ราว 8 แสนรายการ หรือ 8 แสนคน เข้าเกณฑ์ได้รับการคัดแยกหรือลบประวัติ โดยเกณฑ์ดังกล่าวมี 19 ข้อ เช่น เสียชีวิต อัยการสั่งไม่ฟ้อง ศาลยกฟ้อง กฎหมายแก้ไขให้เรื่องนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ถูกลงโทษปรับเพียงสถานเดียว ถอนคำร้องทุกข์ มีการรื้อคดีมาสอบใหม่แล้วพบว่าคนคนนั้นไม่ใช่ผู้กระทำผิด เป็นความผิดที่ผู้กระทำเป็นเยาวชนหรือเป็นคดีความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น ส่วนที่เหลืออีกราว 6.8 ล้านรายการไม่เข้าข่ายเกณฑ์นี้ เพราะเป็นกลุ่มที่ศาลตัดสินลงโทษจำคุกแล้ว

“เดิมเราก็มองว่าเราจะรอจากสถานีตำรวจหรือหน่วยสอบสวนอื่น เช่น บช.ก. บช.ปส. ตำรวจท่องเที่ยว หรือ สอท. จะแจ้งกลับมา ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ผู้บังคับบัญชาให้กองทะเบียนประวัติอาชญากรดำเนินการในเชิงรุก เป็น Big Data เชื่อมโยงอะไรได้ อย่างนี้เราทำแล้ว อย่างเช่นเราจะพิสูจน์การตายเราก็ไปที่กรมการปกครอง ไปดูจากทะเบียนราษฎร์ อย่างนี้เราทำไปแล้ว และในส่วนของทางศาล ถ้าเราจะนำเรียนท่านขอข้อมูล บางทีทางเทคนิคพอมีจำนวนเยอะหลายๆ รายการ พอเอามารวมกัน มาจับคู่กันมันอาจจะเจอกันลำบาก

เพราะระบบการเขียน AI มันจะไม่ตรงกันมากนัก แต่ในทางปฏิบัติที่ทำอยู่ในปัจจุบันมันก็ไม่ต้องไปทางนั้นทางเดียว เราอาจจะใช้วิธีรับฟังจากประชาชน คือทางศาลท่านรู้อยู่แล้ว อาจจะมีคำพิพากษาติดไว้ในที่ของตัวเอง หรืออัยการมีหนังสือไปถึงผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าสถานะของเขาเป็นอย่างไร อันนี้ถ้าเป็นฝ่ายพวกนี้นำมาเสนอเรา เรานำมาพิจารณาได้ ในส่วนของคดีที่พิจารณาแล้ว เราสามารถขอกับทางราชทัณฑ์ได้ ราชทัณฑ์ก็จะมีว่าคนไหนพ้นโทษแล้ว คนไหนติดคุกมาแล้ว เราก็เอาตรงนี้มาใช้ได้” พล.ต.ต.เจนเชิง ระบุ

ชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงร่างกฎหมายทะเบียนประวัติอาชญากร ว่า เหตุที่มีร่างแก้ไขกฎหมายนี้ขึ้นเพราะต้องการแก้ไขปัญหาเดิมๆ ที่ผ่านมา เช่น 1.กำหนดนิยามอาชญากรให้หมายถึงผู้ที่ศาลมีคำตัดสินว่าผิดจริงแล้วเท่านั้น แก้ปัญหาที่องค์กรต่างๆ มาขอตรวจประวัติคนสมัครงานแล้วพบข้อมูลส่วนนี้ด้วยแล้วตัดโอกาสการได้งานทำ แม้เป็นกรณีเพิ่งถูกจับและอัยการยังไม่สั่งฟ้องด้วยซ้ำ

2.การจัดเก็บประวัติอาชญากรรมจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือชั้นที่เปิดเผยได้และไม่ได้ โดยในต่างประเทศ เช่น เยอรมนี ไม่มีการลบประวัติอาชญากรรม แต่จะแบ่งว่าความผิดระดับใดมีระยะเวลาเท่าใดหลังพ้นโทษ โดยหากพ้นโทษแล้วไม่ได้ทำผิดอีกในระยะเวลาที่กำหนดประวัตินั้นจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นการทั่วไปอีก เหตุที่มีกฎหมายแบบนี้ก็เพื่อให้คนที่เคยพลาดพลั้งได้มีที่ยืนในสังคม

ซึ่งร่างกฎหมายใหม่ของไทยก็นำหลักนี้มาใช้ อาทิ คดีที่กระทำผิดขณะยังเป็นเยาวชน คดีที่ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน คดีที่ผู้กระทำผิดได้รับโทษจำคุกและพ้นโทษออกมาใช้ชีวิตภายนอกแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ความผิดโดยประมาท ความผิดลหุโทษ ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท กลุ่มนี้จะไม่มีการเปิดเผยประวัติเป็นการทั่วไปอีก ปัจจุบันร่างกฎหมายนี้ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

“อีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถเปิดเผยได้ กรณีที่เปิดเผยได้เจตนาคือเพื่อคุ้มครองสังคม เพื่อต้องการอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพราะถ้าไม่มีข้อมูลเหล่านี้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่สามารถต่อยอดเพื่อทำให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนอีกกลุ่มได้ ฉะนั้นในเรื่องการเปิดเผยได้จะเป็นประวัติอาชญากรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการต้องหาคดีตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ คือเปิดเผยตามหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือหน่วยงานความมั่นคง หรืออาชีพสำคัญๆ” รอง ผอ.สำนักงานกิจการยุติธรรม กล่าว

รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวเสริมในส่วนของร่างแก้ไขกฎหมายประวัติอาชญากรรม ว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาของคนจำนวนมาก ตั้งแต่คนที่ถูกจับกุมดำเนินคดีแต่ภายหลังศาลตัดสินยกฟ้อง หรือแม้แต่คนที่เคยทำผิดถึงชดใช้โทษในเรือนจำครบแล้วออกมาก็ไม่สามารถดำรงชีพอย่างมนุษย์ปุถุชนเพราะหางานทำไม่ได้ แน่นอนว่าคดีบางประเภทที่ร้ายแรง เช่น คดีทางเพศ คดีก่อการร้าย อาจกำหนดเงื่อนไขให้เปิดประวัติได้ แต่คดีอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเวลาผ่านไปอาจไม่ต้องเปิดเผยอีก เพื่อให้ใช้ชีวิตปกติในสังคมได้

ปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เมื่อผู้กระทำผิดได้รับโทษแล้ว ออกจากเรือนจำแต่ยังมีประวัติอาชญากรรมติดตัวไปตลอดชีวิต เท่ากับไม่มีโอกาสเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แม้จะได้รับการฝึกทักษะอาชีพขณะถูกจองจำอยู่ก็ตาม แต่อีกประเด็นที่เป็นปัญหากระบวนการยุติธรรมคือ “ระบบกล่าวหา” ในฐานะที่ทำงานในกระทรวงยุติธรรมมาตลอดจนเกษียณ โดยเริ่มต้นจากงานนักสังคมสงเคราะห์ในกรมราชทัณฑ์ ทำให้มีโอกาสได้พบเห็นชีวิตของผู้ต้องขัง หลายคนไม่มีทนายความ หลายคนเข้าไม่ถึงการประกันตัวเพราะความเหลื่อมล้ำด้านฐานะ

และแม้ต่อมาจะมีระบบการเข้าถึงทนายความ แต่ในความเป็นจริงคือทนายความในชั้นสอบสวนกับชั้นศาลเป็นคนละคนกัน “การสู้คดีในระบบกล่าวหาจึงเป็นการต่อสู้ที่ไม่เท่าเทียม” เพราะในทางกลับกัน คนร่ำรวยมีฐานะดี สามารถหาทนายความมาทำงานได้ต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นพิจารณาคดีในศาล อีกทั้งเข้าถึงการยื่นขอประกันตัว จึงมีโอกาสต่อสู้คดีได้มากกว่า..เรื่องนี้จะแก้ไขกันอย่างไร?

SCOOP@NAEWNA.COM

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ข้ามชาติ’ปรับตัวใต้ข้อจำกัด  เรื่องเล่ายุคโควิดที่‘เชียงใหม่’ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ข้ามชาติ’ปรับตัวใต้ข้อจำกัด เรื่องเล่ายุคโควิดที่‘เชียงใหม่’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ย้อนมอง‘เมืองกรุง’ยุคโควิด  ‘เปราะบาง-เหลื่อมล้ำ’ภาพชัด สกู๊ปแนวหน้า : ย้อนมอง‘เมืองกรุง’ยุคโควิด ‘เปราะบาง-เหลื่อมล้ำ’ภาพชัด
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘นักชิม’อาชีพทางเลือก  เอื้อศักยภาพ‘ผู้พิการสายตา’ สกู๊ปแนวหน้า : ‘นักชิม’อาชีพทางเลือก เอื้อศักยภาพ‘ผู้พิการสายตา’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ธัชภูมิ’แหล่งรวมความรู้  ‘ธงนำ’พัฒนาระดับพื้นที่ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ธัชภูมิ’แหล่งรวมความรู้ ‘ธงนำ’พัฒนาระดับพื้นที่
  • สกู๊ปแนวหน้า : กฎหมาย‘ทรมาน-อุ้มหาย’  นับถอยหลัง‘บังคับใช้vsเลื่อน’ สกู๊ปแนวหน้า : กฎหมาย‘ทรมาน-อุ้มหาย’ นับถอยหลัง‘บังคับใช้vsเลื่อน’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ไรเดอร์’เสี่ยง!..แลกเลี้ยงชีพ  ‘ควบคุม-คุ้มครอง’รอรัฐยื่นมือ สกู๊ปแนวหน้า : ‘ไรเดอร์’เสี่ยง!..แลกเลี้ยงชีพ ‘ควบคุม-คุ้มครอง’รอรัฐยื่นมือ
  •  

Breaking News

อะไรคือตรรกะ? 'ทักษิณ'ถามคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าโทษจำคุก 7 ปี แต่เด็กสูบกัญชาเสรี ไม่มีอะไรควบคุม

โจรแสบหลอกตกหวยรางวัลที่1 ยายวัย 76 ปี สูญเงินเก็บทั้งชีวิต 5 แสนบาท

หนุ่มปืนโหดควงปืนลูกซอง บุกจ่อยิงเพื่อนบ้านดับ 2 ศพ คาดปมปัญหาเขตที่ดิน

'โทนี่'ชี้เปรี้ยง!!! 'ประยุทธ์'ไม่กล้ายุบสภาหนีการอภิปราย ถ้าพรรค'รทสช.'ยังไม่พร้อม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved