วันอาทิตย์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : สทน.จับมือ3มรภ.ยกระดับ‘อาหารพื้นบ้านล้านนา’  ด้วยนวัตกรรมอาหารปลอดภัยจาก‘เทคโนโลยีฉายรังสี’

สกู๊ปพิเศษ : สทน.จับมือ3มรภ.ยกระดับ‘อาหารพื้นบ้านล้านนา’ ด้วยนวัตกรรมอาหารปลอดภัยจาก‘เทคโนโลยีฉายรังสี’

วันอาทิตย์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

เมื่อพูดถึง “อาหารฉายรังสี” เชื่อว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเข้าใจกันดีแล้วว่า “ปลอดภัย” แต่ในส่วนของผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น อาจยังลังเลใจในเรื่องความคุ้มค่ากับการลงทุน

สทน.จับมือ มรภ.เชียงราย แห่งแรกในภาคเหนือ


สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. จึงได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดกิจกรรมอบรมสัมมนาให้ความรู้ภายใต้หัวข้อเรื่อง “พัฒนาอาหารพื้นถิ่น สู่มาตรฐานสากล เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี” เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง ได้เห็นโอกาสทางธุรกิจ

โดยเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาดร.พิริยาธร สุวรรณมาลา รองผู้อำนวยการ วิชาการ สทน. เปิดเผยว่า เชียงราย เป็นจังหวัดที่มีอาหารพื้นถิ่นและสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ เช่น ไส้อั่ว น้ำพริกอ่อง ข้าว สับปะรด ฯลฯ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการขยายช่องทางการตลาดได้

ทั้งนี้ “การฉายรังสี” เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร ที่มาจากการแปรรูปเพื่อถนอมอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ อีกทั้ง “อาหารฉายรังสี” ยังเป็นมาตรฐานการบริโภคปลอดภัยที่สากลให้การยอมรับด้วย สทน. จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้พร้อมเปิดรับสมัครผู้ประกอบการภาคเหนือ ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นเข้าร่วมโครงการ “การสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่นด้วยการฉายรังสี” โดยผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ค่าขนส่งผลิตภัณฑ์มาทดลอง ค่าฉายรังสี ค่าตรวจวิเคราะห์เชื้อ รวมถึงค่าดำเนินการต่างๆ

สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้เรื่อง “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการฉายรังสี” / “future food trend และงานพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในท้องถิ่น” / “การขออนุญาต อย. กับอาหารพื้นถิ่น” และการบรรยาย เรื่อง “การตรวจสอบการเจือปนน้ำตาลในน้ำผึ้ง และน้ำผลไม้ ด้วยเทคนิควิเคราะห์ไอโซโทปเสถียร” รวมทั้งเสวนาพูดคุยกับผู้ประกอบการตัวจริงที่ประสบความสำเร็จด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสี ได้แก่ คุณพรเทพ เทพเสนา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไทยอินโนฟู้ด จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ “แหนมสไลด์ แหนมตุ้มจิ๋ว” ตราสุทธิลักษณ์ และ คุณวสันต์กอบุตร กรรมการผู้จัดการบริษัท แคร์ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ “ฉัยรัย ปูไข่ดองฉายรังสี”

เปิดตัวเทคโนโลยี การตรวจสอบน้ำตาลในน้ำผึ้งและน้ำผลไม้

ต่อมา วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรมอบรมสัมมนาให้ความรู้ภายใต้
หัวข้อเรื่อง “พัฒนาอาหารพื้นถิ่น สู่มาตรฐานสากลเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี” เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น และนักศึกษาคนรุ่นใหม่ ได้เห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ และเข้าใจประโยชน์ของการฉายรังสีในอาหารเพื่อแก้ไขกระบวนการผลิตสินค้าได้ตรงความต้องการมากขึ้น

ดร.พิริยาธร สุวรรณมาลา รองผู้อำนวยการ วิชาการ สทน. เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ทุกแง่มุม ตั้งแต่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการฉายรังสีในอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นและการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี เพื่อการยื่นขอเลขสารบบ หรือเลข อย.

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวผลงานวิจัยเรื่อง“การตรวจสอบการเจือปนน้ำตาลในน้ำผึ้ง และน้ำผลไม้ ด้วยเทคนิควิเคราะห์ไอโซโทปเสถียร” เพื่อยกระดับสินค้ากลุ่มน้ำผึ้งและน้ำผลไม้ เช่น น้ำมะพร้าวสดและน้ำมะพร้าว UHT ด้วย โดยขณะนี้ สทน. มีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์พร้อมให้บริการตรวจพิสูจน์ด้วยต้นทุนที่เข้าถึงได้เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น

ติวเข้มผู้ประกอบการ จ.กำแพงเพชร

จากนั้น วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการภายใต้หัวข้อ “พัฒนาอาหารพื้นถิ่น สู่มาตรฐานสากล เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ด้วยเทคโนโลยีฉายรังสี” ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ดร.พิริยาธร สุวรรณมาลา รองผู้อำนวยการ วิชาการ สทน. เปิดเผยว่า ภาคเหนือ นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น เป็นจุดขายสำคัญของการท่องเที่ยวแล้ว เรื่องของ “อาหารพื้นถิ่น” ก็ถือเป็นหนึ่งในจุดเด่นที่สามารถพัฒนา เพื่อนำมาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สทน. มุ่งสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเทคโนโลยี “การฉายรังสีในอาหาร”

พร้อมกันนี้ยังเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ ได้เห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ และเข้าใจประโยชน์ของการฉายรังสีในอาหาร เพื่อแก้ไขกระบวนการผลิตสินค้าได้ตรงความต้องการมากขึ้น

โดย จ.กำแพงเพชร มี “แกงขี้เหล็ก นครชุม”เป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ พัฒนาเป็นก้อนปรุงสำเร็จรูป เพิ่มโอกาสสู่การส่งออกได้ เหมือนเช่นเครื่องแกงไตปลาก้อน พร้อมปรุง ซึ่งเป็นสุดยอดอาหารพื้นถิ่น หรือ Product Champion ของภาคใต้

ภายในงาน นอกจากจะมีการบรรยายให้ความรู้ในด้านต่างๆ แล้ว ยังมีการเปิดเวทีเสวนา โดยมี ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสีมาร่วมพูดคุย ได้แก่ คุณพรเทพ เทพเสนา บริษัท ไทยอินโนฟู้ด จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ “แหนมสไลด์แหนมตุ้มจิ๋ว” ตราสุทธิลักษณ์ และ คุณพรพิมล รักษาผลเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงไตปลาก้อนพร้อมปรุง ตราบ้านบนนบ จ.พัทลุง มาร่วมพูดคุยถ่ายทอดประสบการณ์

โดยคุณพรเทพ ได้สรุปให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฉายรังสีในอาหาร ผ่าน 3 อ. ได้แก่ 1.อนามัย คือการที่ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอยู่ในอาหาร 2. อายุ คือ การช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ และ 3.โอกาส คือ การที่ผลิตภัณฑ์สามารถวางจำหน่ายได้ยาวนานขึ้นจากเดิม เป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้า และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของเราเอง

ด้าน คุณพรพิมล ได้กล่าวเชิญชวนให้เพื่อนผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพราะนอกจากจะได้รับคำปรึกษาต่างๆ แบบฟรีๆ จากนักวิจัยแล้ว ยังทำให้ได้เพื่อนเพิ่มมากขึ้นส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายถือว่าเพิ่มขึ้นน้อยมาก เพราะผลที่ได้กลับมาคุ้มค่ามากกว่า ทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาในการผลิต และสามารถตอบรับออเดอร์ที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่าเดิม

ทั้งนี้ สทน. เปิดรับสมัครผู้ประกอบการภาคเหนือที่ประสบปัญหาในการผลิตหรือต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นเข้าร่วมโครงการ “การสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น
ด้วยการฉายรังสี” เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว ผู้ประกอบการจะได้รับคำปรึกษาแนะนำ พร้อมนำผลิตภัณฑ์มาตรวจวิเคราะห์และทดลองฉายรังสีได้ โดยนักวิจัยของ สทน. จะเป็นผู้ดูแลการวิจัยและสรุปผลการวิจัยให้ผู้ประกอบการ ซึ่งทาง สทน.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่าขนส่งผลิตภัณฑ์มาทดลองค่าฉายรังสี รวมถึงค่าดำเนินการทดลองต่างๆ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 15 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ‘รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์’ สถานพยาบาลต้นแบบ  ใช้กลไกการรับรองเฉพาะโรค ตามมาตรฐาน สรพ. ดูแลผู้ป่วย สกู๊ปพิเศษ : ‘รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์’ สถานพยาบาลต้นแบบ ใช้กลไกการรับรองเฉพาะโรค ตามมาตรฐาน สรพ. ดูแลผู้ป่วย
  • สกู๊ปพิเศษ : ปักธง ‘สวทช. ยุค 6.0’ นำพลังวิจัยรับใช้สังคม สกู๊ปพิเศษ : ปักธง ‘สวทช. ยุค 6.0’ นำพลังวิจัยรับใช้สังคม
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘กรมการท่องเที่ยว’พัฒนา6เส้นทาง  ชู‘40ห้องน้ำโบว์แดง’ยกระดับการท่องเที่ยวไทย สกู๊ปพิเศษ : ‘กรมการท่องเที่ยว’พัฒนา6เส้นทาง ชู‘40ห้องน้ำโบว์แดง’ยกระดับการท่องเที่ยวไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘ยุทธศาสตร์ 3 ส.’ของพรรคประชาธิปัตย์  สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ สกู๊ปพิเศษ : ‘ยุทธศาสตร์ 3 ส.’ของพรรคประชาธิปัตย์ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘5เสาหลัก’ต้องขับเคลื่อน  มุ่งสู่‘สูงวัยคุณภาพชีวิตดี’ สกู๊ปพิเศษ : ‘5เสาหลัก’ต้องขับเคลื่อน มุ่งสู่‘สูงวัยคุณภาพชีวิตดี’
  • สกู๊ปพิเศษ : กสศ. เปิดข้อมูลความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี’65  ชี้การให้โอกาสเด็กยากจนจะช่วยเพิ่มรายได้ประเทศในอนาคต สกู๊ปพิเศษ : กสศ. เปิดข้อมูลความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาปี’65 ชี้การให้โอกาสเด็กยากจนจะช่วยเพิ่มรายได้ประเทศในอนาคต
  •  

Breaking News

'ตรีนุช'เป็นประธานพิธีเททองหล่อตราเสมาธรรมจักร ประจำ ศธ.

'รมช.สันติ'เผย งานระดมทุน พปชร. คนอุดมการณ์เดียวกันร่วมงานล้นหลาม

'ชัยภูมิ'นำชาวบ้านทำธนาคารน้ำใช้แล้วลงดิน แก้ปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน

เปิดงานสมโภชแห่เจ้ามูลนิธิอำเภอเบตง ชาวบ้านขอให้เกิดความสงบสุข

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved