วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘ยึดระเบียบ-ปรับโครงสร้าง’ ทางออกคลายปัญหา‘หนี้ครู’

สกู๊ปแนวหน้า : ‘ยึดระเบียบ-ปรับโครงสร้าง’ ทางออกคลายปัญหา‘หนี้ครู’

วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“หนี้ครัวเรือน” หนึ่งในปัญหาใหญ่ของสังคมไทย อาทิ ข้อมูลจาก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เปิดเผยเมื่อเดือน ส.ค. 2565 ระบุว่า ภายในสิ้นปี 2565 หนี้ครัวเรือนไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 89.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) และคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 14.97 ล้านล้านบาท สูงที่สุดในรอบ 16 ปี หากดูเป็นรายอาชีพ “ครู” ที่ควรจะเป็นแบบอย่างของเด็กและเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ กลับเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีปัญหาหนี้สินค่อนข้างรุนแรง และเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนานมาหลายยุคสมัย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2565 เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกร้องให้ครูที่กำลังประสบปัญหาหนี้สิน ขอให้กล้าเปิดเผยเอกสารรับเงินเดือน (สลิป) เพื่อให้สังคมเห็นปัญหา ครูถูกหักเงินเดือนไปชำระหนี้ต่างๆ จนเหลือไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรี หรือเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือนที่ได้รับ โดยหวังส่งสัญญาณไปถึงผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง


โดยทางเครือข่ายฯ ได้ชี้ปัญหาไว้ 4 ประการ ดังนี้ 1.การยอมให้เจ้าหนี้ตัดเงินเดือนของครูไปได้จนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ 2.การอำนวยความสะดวกตัดเงินเดือนให้เจ้าหนี้โดยไม่ได้พิจารณาว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แพงเกินกว่าเป็นสินเชื่อสวัสดิการหรือไม่ 3.แม้เห็นว่าครูนั้นได้กู้ยืมเงินศักยภาพที่จะใช้คืนด้วยเงินเดือนแล้วแต่ก็ไม่ได้ห้ามปราม และ 4.ปล่อยให้เจ้าหนี้กำหนดลำดับการตัดหนี้ตามอำเภอใจ โดยกำหนดให้ตัดเงินต้นท้ายสุด

ทั้งนี้ เคยมีกรณีที่กลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 2,919 คน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากหากดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ.2551” ในข้อ 7 ระบุว่า ข้าราชการที่ประสงค์จะให้ส่วนราชการหักเงินเดือนหรือเงินบำเหน็จบำนาญเพื่อชำระหนี้เงินกู้ มีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้สวัสดิการภายในส่วนราชการหรือสหกรณ์ได้ตามความประสงค์

แต่ทั้งนี้ การจะให้ส่วนราชการหักเงิน ณ ที่จ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้นั้น จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังหักจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละ 10 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2551 (2) ร้อยละ 15 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2552 (3) ร้อยละ 20 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2553 (4) ร้อยละ 25 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 (5) ร้อยละ 30 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2555 ในกรณีที่ไม่เป็นตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งให้ส่วนราชการผู้เบิกงดหักเงินจนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง

แต่ในความเป็นจริงยังพบครูถูกหักเงินจนเหลือน้อยกว่าจำนวนดังกล่าว นำมาสู่การฟ้องคดีในครั้งนั้น กระทั่งใน
วันที่ 26 ก.ย. 2562 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในเรื่องนี้ ระบุว่า ภายหลังจากที่ได้มีการออกระเบียบแล้ว สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เสนอให้ออกระเบียบ ได้มีหนังสือลงวันที่ 31 ม.ค. 2551 แจ้งเวียนระเบียบให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทราบ แต่กลับปรากฏว่าศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหัวหน้าสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ยังคงหักเงินเดือนและเงินบำนาญของผู้ฟ้องคดีแต่ละรายไม่เป็นไปตามระเบียบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีแต่ละรายมีเงินเหลือสุทธิหลังจากหักชำระหนี้แล้วน้อยกว่าอัตราร้อยละ 30 กับทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) ยังรับต่อศาลว่า ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้ฟ้องคดีแต่ละราย ได้มีการออกหนังสือรับรองเงินเดือนหรือเงินบำเหน็จบำนาญและรายการหักเงิน ณ ที่จ่าย ย้อนหลังให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่ละราย

เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้เงินสหกรณ์และกู้เงินสวัสดิการภายในของส่วนราชการที่มีการทำความตกลงกับสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างๆ ได้ โดยที่ผู้บังคับบัญชารวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการผู้เบิก ไม่ได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามระเบียบฯ ข้อ 6 และข้อ 7 แต่อย่างใด จึงพิพากษาให้ รมว.ศธ.ปลัด ศธ. และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำกับดูแลให้หน่วยงานในสังกัด หักเงินเดือนให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว

ดังนั้นเครือข่ายฯ จึงเรียกร้องให้ ศธ. ในฐานะ “นายจ้าง” ของครู เข้ามาเป็นคนกลางเจรจากับเจ้าหนี้ทุกราย โดย ศธ.มีเครื่องมือสำคัญคือระเบียบปี 2551 ดังกล่าว ซึ่งหากบังคับใช้อย่างเคร่งครัด เจ้าหนี้ก็จะไม่สามารถหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามปกติ ก็จะทำให้เจ้าหนี้ต้องยอมเข้าสู่กระบวนการผ่อนปรนและปรับโครงสร้างหนี้ ระเบียบนี้จะนำไปสู่ภาวะที่พึงปรารถนา ที่ลูกหนี้มีเงินเดือนเหลือร้อยละ 30 เพื่อดำรงชีพ ส่วนอีกร้อยละ 70 เพื่อชำระหนี้

ขณะเดียวกัน บทบาทของสถาบันการเงินและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ ซึ่งจะต้องให้กู้ยืมอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรม เป็นอีกด้านที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยมีข้อเสนอดังนี้ 1.สถาบันการเงินควรปรับปรุงวิธีการหักเงิน โดยหักจากสัดส่วนร้อยละ 70 เหมือนกับเจ้าหนี้รายอื่นๆ 2.สหกรณ์สามารถเข้ามาช่วยครูตามเจตนารมณ์การดัด ด้วยการปรับปรุงการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่เดิมจ่ายทุกเดือนให้เกิดขึ้นพร้อมกับที่ครูจะได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนผู้กู้

3.เจ้าหนี้ทุกรายต้องปรับอัตราดอกเบี้ยที่เก็บจากครูให้อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงผ่อนปรนให้เหมาะสมกับที่เป็นสินเชื่อสวัสดิการที่มีความเสี่ยงต่ำ 4.ยกเลิกการบังคับซื้อประกันสินเชื่อที่เป็นการสร้างภาระโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในส่วนเงินกู้ที่ยังไม่เกินศักยภาพในการชำระคืนโดยเงินเดือน และ 5.ปรับปรุงการชำระหนี้ให้เป็นธรรม ให้เงินที่จ่ายไปช่วยให้เงินต้นลดลง และไม่ผลักภาระให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบเสมือนเป็นผู้กู้ร่วม โดยกระบวนการทางคดีต้องดำเนินการกับผู้กู้ให้ถึงที่สุดก่อนแล้วจึงเป็นผู้ค้ำ ไม่ใช่ฟ้องทั้งผู้กู้และผู้ค้ำพร้อมกัน

อนึ่ง สุดท้ายแล้วเมื่อระเบียบฯ ถูกบังคับใช้และทำให้ครูรุ่นปัจจุบันที่ประสบปัญหาหนี้สินได้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเป็นธรรม ก็เชื่อได้ว่าในอีกด้าน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติสินเชื่อก็จะต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้กู้ยืมให้สมเหตุสมผลกับรายได้ของครูที่จะมายื่นขอ ไม่ปล่อยให้ “พ่อพิมพ์-แม่พิมพ์ของชาติ” ในอนาคตก่อหนี้เกินศักยภาพในการใช้คืน และกลายเป็นปัญหาซ้ำรอยรุ่นก่อนหน้า!!!

หมายเหตุ : สามารถอ่านรายละเอียดคำพิพากษาของศาลปกครองได้ที่ Link https://admincourt.go.th/admincourt/editorupload/files/111(1).pdf หรือค้นหาบนอินเตอร์เนตในหัวข้อ คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกับพวก ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

‘อนุสรณ์’ชี้ปม‘แพทยสภา’ไม่กระทบรัฐบาล ดักคออย่าฉวยโอกาสปลุกม็อบ

เมียนมาทิ้งบอมบ์! ถล่มโรงงานแร่คาเรนนี ทัพกะเหรี่ยงรุกกลับตีค่ายทหารยับ

เปิดปูม‘วิทยา กันส์แทคติกส์’ ปรมาจารย์อาวุธปืน ผู้เซฟชีวิต‘ครู’ชายแดนใต้

‘นายกฯ’เตรียมบิน‘ฮานอย’ ยกระดับความสัมพันธ์‘ไทย-เวียดนาม’สู่หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved