วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
เรื่องเล่าจากชาวศรีลังกา  นโยบายเกษตรซ้ำเติมเศรษฐกิจ

เรื่องเล่าจากชาวศรีลังกา นโยบายเกษตรซ้ำเติมเศรษฐกิจ

วันอาทิตย์ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : ศรีลังกา เศรษฐกิจ
  •  

ผ่านพ้นไปแล้วกับการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยวัชพืช (International Weed Science Congress : IWSC) โดยงาน IWSC 2022 ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-9 ธ.ค. 2565ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ซ.สุขุมวิท 22 ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ เป็นเวทีรวมคนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ในภาคเกษตรกรรมจากทั่วโลก มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการกำจัดวัชพืช

โดยเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 7 ธ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวมีโอกาสได้พุดคุยกับ ศ.พุทธิ มารัมเบ (Prof.Buddhi Marambe) อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเพาะปลูก (Crop Science) คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเปราเดนิยา (University of Peradeniya) ประเทศศรีลังกา หนึ่งในนักวิชาการที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยมี จรรยา มณีโชตินายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย และอดีตผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นล่ามช่วยแปลภาษาจากอังกฤษเป็นไทย


ย้อนไปเมื่อช่วงกลางปี 2565 หนึ่งในข่าวที่ทั่วโลกให้ความสนใจคือวิกฤตเศรษฐกิจในศรีลังกา เมื่อรัฐบาลยอมรับว่าประเทศเข้าสู่สถานะล้มละลาย ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอ ท่ามกลางสภาพสังคมที่ย่ำแย่เพราะขาดแคลนน้ำมันซึ่งเชื่อมโยงกับการผลิตกระแสไฟฟ้า จุดกระแสชุมนุมประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี และปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังได้รับเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank)

“..รัฐบาลรู้มาตั้งนานแล้วแต่เขาไม่เคยบอกประชาชนว่าเรามีปัญหาเรื่องเงินทุนสำรอง..” ศ.พุทธิ กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศของตนซึ่งปัญหาเศรษฐกิจในศรีลังกายังเชื่อมโยงไปถึงปัจจัยการดำรงชีพพื้นฐานอย่าง “อาหาร” เพราะนโยบาย “แบนปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช” ที่รัฐบาลเลือกใช้ เหตุผลที่บอกกับประชาชนคือรัฐบาลเป็นห่วงสุขภาพ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงคือ “ต้องการแก้ปัญหาเงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศ” เนื่องจากปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นศรีลังกาต้องนำเข้าทั้งหมด ไม่ได้ผลิตเองในประเทศแต่อย่างใด

จุดเริ่มต้นของการแบนสารเคมีเกษตรในศรีลังกา เกิดขึ้นในปี 2551 โดยมีการจุดกระแสให้เลิกใช้ “พาราควอต (Paraquat)” ซึ่งแม้เหตุผลจะฟังดูแปลกๆ คือมีคนนำพาราควอดไปกินเพื่อฆ่าตัวตาย และมีการทักท้วงว่าหากแบนด้วยสาเหตุนี้คงไม่สมเหตุสมผล เพราะปัญหาไม่ได้มาจากตัวสารเคมีหรือผู้ผลิตแต่เป็นเพราะมีคนจงใจนำไปใช้แบบผิดวัตถุประสงค์ (Misuse) แต่สุดท้ายรัฐบาลศรีลังกาก็เลือกที่จะแบน

อย่างไรก็ตาม การแบนพาราควอดยังไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรศรีลังกามากนัก เพราะรัฐบาลให้เวลาปรับตัวถึง 6 ปี โดยค่อยๆ ลดการนำเข้าจนเลิกใช้ได้จริงในปี 2557 ซึ่งเวลานั้นเกษตรกรหันไปใช้ “ไกลโฟเซต(Glyphosate)” เป็นสารกำจัดวัชพืชทดแทน กระทั่งในปี 2559รัฐบาลศรีลังกาตัดสินใจแบนไกลโฟเซต ครั้งนี้เกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเพราะไม่มีสารอื่นทดแทน อีกทั้งสั่งแบนทันทีโดยเกษตรกรยังไม่ทันตั้งตัว

“..ตอนจะแบนไกลโฟเซต มีพระและหมอ (ส่วนหนึ่ง) ไปบอกว่าเป็นสารพิษก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ซึ่งยังยืนยัน (Approve) ไม่ได้ แต่ต่อมาคนเหล่านี้ก็เข้าไปเป็นสมาชิกอยู่ในรัฐสภา..” ศ.พุทธิ ระบุ ซึ่งแม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน แต่การออกมาพูดในลักษณะนี้ด้วยความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้กับนายทุนใหญ่ก็สร้างกระแสความนิยมในสังคมได้ไม่น้อยและนำไปสู่การแบนไกลโฟเซตในเวลานั้น

อนึ่ง ศรีลังกา เคยยกเลิกการแบนไกลโฟเซตในปี 2561 โดยเปลี่ยนเป็นอนุญาตให้ใช้ในพืชบางชนิด ได้แก่ ชา ยางพาราและมะพร้าว กระทั่งในปี 2564 กลับมาแบนอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน
ซึ่งแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 6 เดือน แต่ครั้งนี้เป็นการแบนสารเคมีทุกประเภททั้งสารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ย ทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลงจนไม่ต้องคิดเรื่องการส่งออก เพราะลำพังการเลี้ยงคนในประเทศก็ยังไม่เพียงพอ

ศ.พุทธิ ยกตัวอย่างพืชสำคัญในประเทศ เช่น “ข้าว” ซึ่งศรีลังกาปลูกไว้เพื่อการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ข้อมูลจากรัฐบาลพบว่า ผลผลิตลดลงร้อยละ 36.7 แต่ในภาควิชาการคาดว่าน่าจะลดลงมากถึงเกือบร้อยละ 50 ขณะที่ “ชา” พืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก ผลผลิตช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2564 หายไปถึง 12.5 ล้านกิโลกรัม โดยใบชานั้นมีราคาอยู่ที่ 4 เหรียญสหรัฐ หรือราว 140 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น เพราะไม่มีปุ๋ยเคมีเพื่อบำรุงพืชและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ซึ่งแม้ภายหลังจะเลิกแบน โดยนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2564 เป็นต้นมาเกษตรกรศรีลังกาสามารถใช้ไกลโฟเซตได้กับพืชทุกชนิด แต่การนำเข้าปัจจัยการผลิตเหล่านี้ต้องใช้เวลา รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศก็ย่ำแย่มากแล้ว การจะฟื้นฟูผลผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกเพื่อดึงเม็ดเงินต่างชาติเข้าประเทศจึงไม่ใช่เรื่องง่ายโดยนักวิชาการชาวศรีลังกาผู้นี้ สรุปบทเรียนด้านนโยบายเกษตรของศรีลังกา ว่า การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อเลี้ยงดูคนทั้งประเทศอย่างไรเสียก็ไม่อาจปฏิเสธสารเคมีได้

ถึงกระนั้นก็ต้องย้ำว่า การใช้สารเคมีต้องใช้ให้เป็น หรือก็คือปฏิบัติตาม แนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค หรือ “GAP (Good Agricultural Practice)” อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีปริมาณสารเคมีตกค้างจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่า เงินกู้ที่ได้มามาจากทั้ง IMF และ World Bank จะถูกใช้เพื่อฟื้นฟูประเทศอย่างแท้จริงและจัดลำดับความสำคัญตามความจำเป็น ไม่ซ้ำรอยการใช้จ่ายแบบไม่สมเหตุสมผลอย่างในอดีต

จนศรีลังกาต้องเผชิญกับวิกฤตที่เป็น “บทเรียน” แก่ชาติอื่นๆอยู่ในเวลานี้!!!

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • จีนเร่งออกมาตรการต่างๆกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ จีนเร่งออกมาตรการต่างๆกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ
  • คนไทยมองบวกเศรษฐกิจปี’67ดีขึ้นไม่เชื่อวิกฤติแต่รับเงินดิจิทัลหมื่นบาท คนไทยมองบวกเศรษฐกิจปี’67ดีขึ้นไม่เชื่อวิกฤติแต่รับเงินดิจิทัลหมื่นบาท
  •  

Breaking News

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved