วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘สินเชื่อ-รายได้-ราคา’  อุปสรรค‘คนฐานราก’มีบ้าน

สกู๊ปแนวหน้า : ‘สินเชื่อ-รายได้-ราคา’ อุปสรรค‘คนฐานราก’มีบ้าน

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ผ่านพ้นไปแล้วกับ “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15” งานใหญ่ส่งท้ายปลายปี 2565 เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งภายในงานมีวงเสวนาน่าสนใจหลายหัวข้อ หนึ่งในนั้นคือ “กลไกการเงินเพื่อการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่เพียงพอและมีสุขภาวะ” โดยมีวิทยากร อาทิ ผศ.ดร.บุษราโพวาทอง หัวหน้าภาควิชาคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในการสำรวจของการเคหะแห่งชาติ พบ 5.87 ล้านครัวเรือนไทย (หรือคิดเป็นร้อยละ 27.5 ของครัวเรือนไทยทั้งหมด 21.32 ล้านครัวเรือน) ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย

ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกลุ่มรายได้สูง ร้อยละ 14 รายได้ปานกลาง ร้อยละ 24 รายได้น้อย ร้อยละ 60 และไร้ที่พึ่ง ร้อยละ 2 ในขณะที่ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปีวางเป้าหมายว่า คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579 โดยมีเรื่องของ “การเสริมสร้างระบบการเงินและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย” เป็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ในทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ย่อยของแผน 20 ปีนี้


“ยุทธศาสตร์ที่ 2 มีอะไรบ้างในเรื่องการเงิน? สรุปคร่าวๆ ได้ก็จะเป็นเรื่องเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนที่อยู่อาศัย สนับสนุนระดับชุมชน-ระดับเมืองในเชิงของกองทุน ปรับปรุงกฎระเบียบในการใช้เงินกองทุน พัฒนากลไกต่างๆ ให้เข้าถึงเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และพัฒนากลไกต่างๆ เช่น สินเชื่อที่ครอบคลุมทุกความต้องการ การออมแล้วก็ให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงสินเชื่อ อันนี้เป็นประเด็นทางยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ใน 20 ปี” ผศ.ดร.บุษรา ระบุ

ผศ.ดร.บุษรา กล่าวต่อไปว่า หากดูตั้งแต่ปี 2553-2563 ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4-6 ต่อปี ขณะที่ปัญหาสำคัญของครัวเรือนไทยคือ “รายได้น้อยกว่ารายจ่าย” โดยรายได้เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.63 ต่อปี แต่รายจ่ายเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7.31 ต่อปี ทำให้เก็บออมเงินได้น้อยลงแต่ต้องแบกรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย หากเป็นระดับชาติคือธนาคารต่างๆ ที่พิจารณาสินเชื่อกับผู้ขอกู้เป็นรายบุคคลกรณีเป็นคนรายได้ปานกลาง แต่หากเป็นคนรายได้น้อยก็อาจต้องพึ่งพาธนาคารของรัฐเป็นหลัก และต้องรอให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนออกมา

แต่ยังมีระดับกลุ่ม หรือสถาบันการเงินที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์บ้านมั่นคง ไปจนถึงบริษัทเอกชนบางแห่ง การขอสินเชื่อสถาบันการเงินประเภทนี้นอกจากจะเป็นบุคคลแล้วยังต้องเป็นสมาชิกของกลุ่มด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันการเคหะแห่งชาติมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยระดับโครงการเท่านั้นไม่ใช่กองทุน ขณะที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ซึ่งมีกองทุนสนับสนุน คำถามคือตอบโจทย์ชุมชนหรือเมืองแล้วหรือยัง? รวมถึงไปกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีมาตั้งแต่ปี 2541 ยังคงใช้การได้หรือไม่? เป็นต้น

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า แหล่งทุนสำหรับจัดหาที่อยู่อาศัยมี 3 แหล่งคือ 1.เงินออม ทั้งของบุคคลแต่ละคนและครอบครัว 2.เงิน
งบประมาณ หรือก็คือรายได้รัฐที่มาจากการเก็บภาษี ซึ่งอย่างไรก็ไม่มีวันพอ และ 3.เงินจากตลาดการเงิน ซึ่งในส่วนนี้มีมากที่สุด แต่การจะไปสั่งตลาดการเงินก็ไม่สามารถทำได้ มีแต่ต้องปรับตัวเข้ากับตลาดเท่านั้น

สำหรับประเทศไทยนั้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยใช้ระบบเงินฝาก ซึ่งปัจจุบัน (ปลายปี 2565) เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยในธนาคารอยู่ที่ 4.7 ล้านล้านบาท และคาดว่าต้นปี 2566 จะเพิ่มเป็น 5 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วโลกมีอยู่ 3 ระบบใหญ่ๆ คือระบบอังกฤษ ระบบสหรัฐอเมริกา และระบบยุโรป “ปัญหาของการเขียนแผนยุทธศาสตร์คือมักนำระบบของต่างประเทศที่เคยได้ยินมานำเสนอกับประเทศไทย” เช่น มีความพยายามนำระบบ Securitization ของสหรัฐฯ มาใช้กับไทย
โดยหวังว่าจะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผลคือประสบความล้มเหลว

ขณะที่การเคหะแห่งชาติก็มีข้อจำกัดเพราะมีแหล่งรายได้หลักจากงบประมาณแผ่นดิน จึงสร้างที่อยู่อาศัยได้เพียงขนาดเล็กและอยู่ไกล ส่วนกองทุน พอช. เป็นระบบที่ดีกับชุมชนแออัด แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องกฎระเบียบ รวมถึงการออมซึ่งบางครั้งก็ออมไม่จริง หนึ่ง การขอกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในไทยยังทำได้ง่ายกว่าหลายประเทศในโลก แต่อีกด้านก็เป็นคนไทยเองที่ทำให้ระบบการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีปัญหา ผ่านการผ่อนปรนต่างๆ เช่น 1.ลดเงินดาวน์จนเหลือศูนย์ ซึ่งคนไม่เคยออมเงินดาวน์และปล่อยไปเป็นหนี้ ผลคือรายได้หายไป เสี่ยงมากต่อการเป็นหนี้เสีย

หรือ 2.กู้แล้วยังมีเงินทอน ซึ่งสืบเนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายควบคุมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินของธนาคารที่ผ่านมามีความพยายามให้มีกฎหมายดังกล่าวมานานกว่า20 ปี แต่ไม่มีใครสนใจเพราะทุกคนอยากตีราคาทรัพย์สินเอง ขณะเดียวกัน “อัตราเงินงวดของการผ่อนที่อยู่อาศัยอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงมากกับการเกิดหนี้เสีย” ตามหลักสากลแล้ว ค่าผ่อนที่อยู่อาศัยไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของรายได้ แต่ของไทยสูงกว่านั้น จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้เสียสูงมาก

“วิธีที่จะช่วยให้คนกู้ได้คือส่งเสริมให้คนออมก่อนกู้ ซึ่งในประเทศเยอรมนีเคยทำสำเร็จ เพราะเยอรมนีตอนแพ้สงครามบ้านถูกระเบิดพังไปเกือบทั้งประเทศ เขาใช้วิธีให้โบนัสการออม ถ้าใครออมเพื่อที่อยู่อาศัยเขาเคยให้โบนัสสูงถึง 22% ของเงินที่ออมได้ เขาก็เลยสามารถแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำเร็จทั้งประเทศ ผมเลยมีความเห็นว่า การออมก่อนกู้เท่านั้นที่จะช่วยได้สำหรับทั่วไปทั้งประเทศ อย่างอื่นมันมีข้อจำกัด ทำได้จำกัดเสมอ” กิตติ กล่าว

นิภาภัสร์ มลิทอง คณะทำงาน Urban Smile.net กล่าวถึงกลุ่ม “คนจนเมือง” ว่ามักเป็นแรงงานนอกระบบ (Informal Sector) ที่มีรายได้ไม่แน่นอน และเข้าถึงสินเชื่อในระบบไม่ได้ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะสถาบันการเงินในระบบเองก็ต้องมีต้นทุน ดังนั้นคนจนหากปล่อยให้อยู่แบบปัจเจกก็ยากที่จะไปรอด จึงเป็นที่มาของ พอช. ที่ส่งเสริมการรวมกลุ่ม โดยเริ่มจากสหกรณ์ออมทรัพย์สู่สหกรณ์เคหสถาน มีการปล่อยเงินให้กับกลุ่ม วงเงิน 3.3-3.6 แสนบาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปีและเป็นอัตราคงที่ อีกทั้งให้เวลาผ่อนชำระนานถึง 20 ปี

ขณะเดียวกัน ยังเตรียมความพร้อมให้คนจนมีวินัยในการออม โดยจะเข้าโครงการได้ต้องมีเงินออมอย่างน้อยร้อยละ 5 ของโครงการที่จะขอสินเชื่อ อีกทั้งมีคณะกรรมการและมีสมาชิกค้ำประกันซึ่งกันและกัน โดยสรุปแล้วกลไกนี้ พอช. ปล่อยเงินให้กับสหกรณ์ซึ่งมีชาวบ้านเป็นสมาชิกกลุ่มย่อย เช่น กลุ่มออมทรัพย์ โดยกลุ่มย่อยจะเก็บสินเชื่อส่งสหกรณ์ และสหกรณ์ส่งกลับมาที่ พอช. ทำให้คนคนหนึ่งที่มีรายได้ไม่แน่นอนได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่ม ทั้งนี้ ปัจจุบัน พอช. มีหนี้เสียจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพียงร้อยละ 1 สะท้อนภาพความมีวินัยของคนจน

“แนวคิดของ พอช. เราไม่ได้เน้นเรื่องที่อยู่อาศัยอย่างเดียว เราคิดว่า Physical Change (การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ) ต้องมาให้ทันกับ Social Change (การเปลี่ยนแปลงทางสังคม) อันนี้สำคัญเพราะจะสร้างพลังให้เขา” นิภาภัสร์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’

ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท

‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ! พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’

‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved