วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ย้อนมอง‘เมืองกรุง’ยุคโควิด  ‘เปราะบาง-เหลื่อมล้ำ’ภาพชัด

สกู๊ปแนวหน้า : ย้อนมอง‘เมืองกรุง’ยุคโควิด ‘เปราะบาง-เหลื่อมล้ำ’ภาพชัด

วันเสาร์ ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“สิ่งที่เราทำ เราเห็นจริงๆ ว่าจุดตัดของเรื่อง Crisis (วิกฤต) จริงๆ ของเรื่องนี้มันอยู่ตอนก่อนที่วัคซีนจะมา พอมันไม่มีวัคซีนสังคมมันไม่มีอะไรที่จะจัดการได้เลย มีทุกอย่างตั้งแต่กินขิงกินอะไรแบบคือมันกลับไปสู่สังคมที่ Knowledge (ความรู้) ในการจัดการพื้นที่มันไม่ Firm (ชัดเจน) สิ่งที่ใช้มันไม่ได้ใช้ Knowledge แล้ว มันใช้สถานะความเป็น Institution (สถาบัน) ของมันในการจัดการ”

ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการบรรยายหัวข้อ “ผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ต่อการผลิตและจัดการปกครองพื้นที่เมืองในกรุงเทพมหานครในสถานการณ์ฉุกเฉินเชิงสุขภาพ : ชีวิตวิถีใหม่ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นธรรมในพื้นที่เมือง” พาย้อนมองไปเมื่อ 3 ปีก่อน ในช่วงแรกๆ ที่โลกและประเทศไทยต้องเผชิญสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่อย่างเพียงพอ สิ่งที่ถูกนำมาใช้จึงเน้นไปในเชิงการใช้อำนาจเพื่อควบคุมเป็นหลัก


หากไม่นับประเทศจีน ต้นทางของการเริ่มระบาดของไวรัสโควิด-19 ไทยถือเป็นประเทศแรกที่ตรวจพบไวรัสดังกล่าว การระบาดระลอกแรกในปี 2563 ตั้งแต่ต้นปีพบเชื้อที่สนามบิน (นักท่องเที่ยว) สนามมวย (คลัสเตอร์เวทีมวยลุมพินี) เหตุการณ์สำคัญในระลอกนี้คือเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. 2563 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งหน่วยเฉพาะกิจอย่าง ศบค. เริ่มล็อกดาวน์ปิดกิจการต่างๆ และยกระดับไปสู่การห้ามออกจากเคหสถานในยามวิกาล หรือเคอร์ฟิว ในช่วงต้นเดือน เม.ย. 2563

อาจารย์พิชญ์ อธิบายสถานการณ์ในช่วงระลอกแรกนี้ว่า เมื่อยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรก็ต้องงัดวิธีเดิมๆ ที่คุ้นเคยออกมาใช้โดยเน้นความเด็ดขาดและการรวมศูนย์ จากนั้นเมื่อเกิดการระบาดระลอกที่ 2 ตั้งแต่มีรายงานพบคลัสเตอร์แรงงานข้ามชาติที่ จ.สมุทรสาคร ช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2563 ซึ่งการระบาดระลอกนี้ทำให้ภาพอคติที่สังคมไทยมีต่อแรงงานข้ามชาติชัดขึ้น เช่น มีการล้อมรั้วลวดหนามรอบหอพักแรงงานข้ามชาติ แต่อีกด้านหนึ่ง ภาครัฐเริ่มหันมาแบ่งพื้นที่ควบคุมเป็นสีต่างๆ ตามความรุนแรงของการระบาด และมีวัคซีนชุดแรก (ยี่ห้อซิโนแวคจากจีน) มาถึง

การระบาดระลอกที่ 3-4 เกิดขึ้นในเดือน เม.ย. และ ก.ค. 2564 ในกรุงเทพฯ ที่สถานบันเทิงย่านทองหล่อ และลามเข้าสู่ชุมชนแออัดย่านคลองเตย หรืออีกจุดหนึ่งคือที่พักแรงงานก่อสร้าง ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นการระบาดที่รุนแรงที่สุดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์สายเดลตา และแนวทางที่ให้คนอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มอันจะทำให้เกิดสถานการณ์โรคระบาดถูกตั้งคำถามมากขึ้น เพราะการอยู่บ้านหมายถึงการไม่ได้ทำงานทำให้ขาดรายได้ กระทั่งการระบาดระลอก 5 ช่วงปลายปี 2564 ในการระบาดรัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมลง ไวรัสกลายพันธุ์ที่ระบาดกลายเป็นสายโอมิครอน สุดท้ายคือยุติการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือน ต.ค. 2565

“จากข้อมูลที่เราเก็บตัวอย่างมา เราเก็บตัวอย่างหลายกลุ่มในกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้เยอะแต่เราได้ข้อสรุปว่า มาตรการของรัฐในมุมมองของประชาชนนั้นไม่เพียงพอและไม่สามารถทดแทนผลกระทบของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ มันจึงทำให้คนต้องพึ่งพาตัวเองเยอะ ดิ้นรนกันเองตลอดเวลา ภายใต้สิ่งที่เรารู้สึกว่ารัฐไม่มีความยืดหยุ่นอะไรเลย สั่งมาก็ไม่รู้เรื่อง แล้วรอบนี้คือไม่รู้เรื่องจริงๆ แต่ก็ยังใช้อำนาจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ เราพบว่ากิจกรรมของภาคเอกชน สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือการนำเงินออมมาใช้และก่อหนี้ของครอบครัวเพิ่มขึ้น การก่อหนี้คือเรื่องใหญ่ มีการปิดพื้นที่สาธารณะ แล้วพื้นที่สาธารณะประเด็นใหญ่ในสังคมไทยที่ต่างจากที่อื่น คือพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ทำมาหากิน เป็นพื้นที่ทำมาค้าขายด้วยไม่ใช่เป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว ฉะนั้นการปิดสวน (สาธารณะ) ไม่ได้สำคัญเท่าปิดไม่ให้ขายของ ปิดตลาดนัด ตลาดนัดคือพื้นที่สาธารณะสำหรับคนไทย” อาจารย์พิชญ์ ระบุ

สถานการณ์โรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ยังทำให้เห็นภาพความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนขึ้นจากกรณีครัวเรือนยากจนไม่สามารถแบ่งพื้นที่บ้านให้ผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงกักตัวได้ ขณะที่เด็กและเยาวชนซึ่งต้องเปลี่ยนมาเรียนทางออนไลน์ก็รู้สึกว่าตนเองมองภาพอนาคตได้ยากขึ้นเพราะไม่ได้ออกจากบ้าน ไม่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสะสมประวัติไปยื่นสมัครเรียน ด้านคนพิการก็ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเพราะต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้นจากเดิมที่มีผู้ช่วยดูแล

แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐเอง หากเป็นบุคลากรระดับปฏิบัติการก็ยังต้องออกมาทำงานนอกบ้านซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ขณะเดียวกันด้วยความที่เป็นคนทำงานภาคสนาม มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ จึงต้องแบกรับความกดดันเพราะด้านหนึ่งต้องกำชับประชาชนว่าเบื้องบนระดับนโยบายสั่งการลงมาห้ามสิ่งต่างๆ นานา แต่อีกด้านหนึ่งก็ไม่สามารถตอบคำถามประชาชนได้ว่าสั่งล็อกดาวน์แล้วประชาชนขาดรายได้จะทำอย่างไร โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่มีรายได้รายวันแบบหาเช้ากินค่ำ

อาจารย์พิชญ์ ยังกล่าวอีกว่า ในสถานการณ์ที่รัฐใช้อำนาจเพื่อควบคุมโรค ภาคเอกชนเองก็ใช้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพยายามเจรจาต่อรอง แต่ก็พบว่าเอกชนที่เป็นทุนใหญ่มีอำนาจต่อรองมากกว่าทุนเล็กรายย่อย สำหรับวิธีการต่อรองของภาคเอกชนจะมีทั้งใช้ความเป็นทุนใหญ่หรือใช้การรวมกลุ่มเคลื่อนไหวในนามสมาคม แต่หากเป็นภาคประชาชนก็จะไม่สามารถต่อรองใดๆ ได้ ทำได้เพียงใช้ชีวิตด้วยความทุกข์ยากลำบาก มีเสียงสะท้อนความรู้สึกเบื่อหน่ายและเหนื่อยล้ากับการใช้ชีวิต

เจาะจงมาที่การบริหารจัดการในเมือง ในโลกยุคก่อนโควิด-19 ระบาด ให้นิยามเมืองที่ดีคือเมืองที่แน่น (Density) เน้นการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่าพาหนะส่วนบุคคล แต่เมื่อโควิด-19 ระบาด พบว่าเมืองใดยิ่งแน่นความรุนแรงของสถานการณ์ก็ยิ่งมาก มีการจำกัดการใช้ระบบขนส่งมวลชน ควบคุมคนให้ต้องอยู่แต่ในบ้าน ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ให้ไปคิดต่อว่า ในความปกติใหม่ (New Normal) จะออกแบบที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างไร

“ในงานวิจัยผมอีกชิ้นที่ทำเรื่องบ้านเช่า บางชุมชนแออัดหายไปเกินครึ่งโดยเฉพาะที่เป็นแรงงาน อย่างกรณีชุมชนวัดสังเวชซึ่งอยู่ตรงข้ามกับถนนข้าวสาร เกินครึ่งหนึ่งหายไปเลยแล้ว Trace (ติดตาม) ไม่ได้ว่าไปไหน แต่คำอธิบายคือกลับบ้านนอก กรณีใกล้ตัวผม คนที่เคยทำความสะอาดบ้านผมปัญหาคือเขาเช่าบ้านอยู่ในชุมชนแออัด เขาอยู่ไม่ได้แล้วเพราะระบบห้องเช่ามันใช้ห้องน้ำรวม

แล้วเขาโดนหนักเพราะเขารับทำความสะอาดบ้านหลายๆ หลังในสัปดาห์หนึ่ง บางบ้านไม่ให้เข้าเลยเพราะถือว่ามาจากพื้นที่ชุมชน แต่บางบ้านที่ไม่ให้เข้าแต่ใจดีจ่ายเงินให้ ยอมเลี้ยงไว้เพราะหวังว่าจะกลับมาทำงานหลังโควิดหาย แต่สุดท้ายเขาเองก็ต้องกลับไปหางานในต่างจังหวัดที่ใกล้บ้านเขา เพราะว่าเขาไม่สามารถทำงานได้และตัวเขาก็เสี่ยงเกินไป เขาเสี่ยงอยู่ในบ้านเพราะชุมชนใช้ห้องน้ำรวมในบ้านเช่า แล้วบ้านคนรวยก็กลัว ไม่ให้เข้าบ้าน จะมียุคหนึ่งที่ไม่ให้เข้าบ้านด้วย ห้ามความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานแบบนี้ด้วย” อาจารย์พิชญ์ ยกตัวอย่าง

บทสรุปของการเฝ้ามองสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา อาจารย์พิชญ์ มองว่า ภาครัฐไทยมุ่งรับมือแบบมองเป็นสถานการณ์ชั่วคราว เช่น เมื่อพื้นที่ใดเกิดสถานการณ์ขึ้นก็จะมีการตั้งจุดพักชั่วคราวตั้งโรงพยาบาลสนาม กระทั่งเมื่อสถานการณ์เบาลงก็ยกเลิก วนไปแบบนี้เสมอแต่ไม่ได้ถูกนำไปคิดต่อยอดให้เป็นระบบว่าหลังจากนั้นจะทำอย่างไรด้วยความรู้ที่มี (Institutionalize Knowledge)

หมายเหตุ : การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา “เมื่อเมืองพลิกผัน พื้นที่ เวลา และชีวิตในเมืองในห้วงโควิด-19” จัดโดยภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ถกปมแม่น้ำข้ามแดนนัดแรก ตั้งคณะทำงาน 4 ชุดแก้ปัญาสารโลหะหนักปนเปื้อน

ผอ.โรงเรียนแห่สมัครนั่งเก้าอี้ ผอ.สกร.อำเภอ เผยว่างกว่า 400 ที่นั่ง

กทม.ปิดภารกิจกู้ภัยตึก สตง. ตำรวจอายัดจุดเกิดเหตุถล่ม-จุดเก็บซาก

‘พปชร.’ทวงแรง! ถาม‘รัฐ’กลัวอะไร กับ‘กัมพูชา’ร้องเพลงชาติบนปราสาทตาเมืองธม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved