วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ชม'วัดไทยนาลันทา'ต่อยอดบุญ'พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในอินเดีย'

ชม'วัดไทยนาลันทา'ต่อยอดบุญ'พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในอินเดีย'

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 19.36 น.
Tag : ปรินิพพาน ประสูติ จาริกธรรม พระศาสดา พระพุทธเจ้า พุทธคยา อินเดีย ตรัสรู้
  •  

มีโอกาสมาทำข่าวที่ประเทศอินเดีย กับ "โครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา ครั้งที่ 9" และเดินทางมาถึงที่ "วัดไทยนาลันทา" เมืองนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ท่ามกลางสภาพอากาศของ "อินเดีย" ที่มีสภาพอากาศแปรปรวน โดยกลางวันร้อน กลางคืนหนาว แต่ลมหายใจของ "พระพุทธศาสนา" ยังหนักแน่นในศรัทธาที่มีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมณโคดมบรมครู แม้จะผ่านเวลาอันยาวนานมากว่า 2,600 กว่าปีแล้วก็ตาม 

ในทุกๆ เช้าที่คณะสงฆ์ใน "โครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา" ได้จำวัดอยู่ที่ "วัดไทยนาลันทา" ทางพระสงฆ์, แม่ชี และ ฆราวาสในวัดจะมาตักบาตรด้วยความศรัทธา โดยในเช้าวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 พระครูปริยัติธรรมวิเทศ, ดร. (พัน สุภาจาโร ป.ธ.๔, B.A., M.A., Ph.D.) เจ้าอาวาส "วัดไทยนาลันทา" ได้ออกมายืนใส่บาตรคณะสงฆ์ โดยมี "ไอโฟน" สุนัขแสนรู้เดินตามท่านไม่ห่าง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยเจ้าอาวาส


"วัดไทยนาลันทา" มีประวัติศาสตร์ที่น่าเรียนรู้ศึกษา โดยมีอนุสาวรีย์ของหลวงพ่อคชดิช กัสสปะ ตั้งตระหง่านอยู่หน้าโบสถ์ของ "วัดไทยนาลันทา" ซึ่งหากจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์นี้แล้ว ต้องเริ่มที่ "หมู่บ้านนาลันทา" ในสมัยพุทธกาล หรือ ที่เรียกว่า "นาลกคาม" เป็นบ้านเกิดและที่นิพพานของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาขององค์สมณโคดมบรมครู ต่อมาได้กลายเป็น "มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา" ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นศูนย์กลางการศึกษาของทวีปเอเชีย โดยมีพระนักศึกษาจำนวนเป็นหมื่นรูปมาศึกษาที่ "มหาวิทยาลัยนาลันทา" ต่อมามหาวิทยาลัยนาลันทาได้ถูกทำลายโดยชาวมุสลิมเติร์ก ซึ่งเป็นลูกหลานของเจงกีสข่าน ที่เป็นคนต่างศาสนาและต้องการเพียงทรัพย์สินในมหาวิทยาลัยนาลันทา จึงทำการฆ่าตัดคอพระสงฆ์จำนวนมาก หลังจากนั้นมุสลิมได้นำเหตุการณ์นี้มาสู่ประเด็นทางการเมือง โดยไม่ให้มีพระสงฆ์อีกในอินเดีย ทำให้พระสงฆ์หมดจากอินเดียมา 700 กว่าปี

ภายหลัง หลวงพ่อชคดิช กัสสปะ (Jagdish Kashyap) พระสงฆ์ชาวอินเดีย ได้ศึกษาถึงประวัตศาสตร์ที่ยิงใหญ่ของนาลันทา จึงมีความคิดริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยนาลันทาให้กลับมาอีกครั้ง และได้พากเพียรพยามจนในที่สุดก็ได้สร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาขึ้นมาอีก เมื่อ พ.ศ. 2494 และได้เป็นอธิการบดีคนแรก ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นสังฆนายก ของประเทศอินเดีย และท่านได้ซื้อที่ดินติดกันกับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเป็นที่พัก และสำนักวิปัสสนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาลอินเดียและพุทธบริษัทชาวไทย ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีศรัทธายกที่ดินจำนวน 3 ไร่และอาคาร 6 หลัง อันเป็นสมบัติส่วนตัวของท่านให้เป็นสมบัติของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 แต่ต้องผ่านขบวนการทางกฎหมาย ศาล และคณะสงฆ์ไทย และต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 ขั้นตอนทางกฎหมายได้เสร็จเรียบแล้ว และได้กลายเป็นวัดไทยนาลันทา

นายสมาน สุดโต นักเขียนเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์เขียนถึงความเป็นมาของ "วัดไทยนาลันทา" ว่า หนังสือบันทึกเรื่องงานฟื้นพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป รัฐบาลไทย คณะสงฆ์ไทย ชาวพุทธไทย น้อมเป็นพุทธบูชาในแดนพุทธองค์ อนุสรณ์งานยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย วันที่ 28 ต.ค. 2519 มีบันทึกเรื่องกำเนิดวัดไทยนาลันทา ประเทศอินเดีย (2517-1975) โดย พระมหานคร เขมปาลี ป.ธ. 6 น.ธ.เอก M.A.นักศึกษาชั้นปริญญาเอก สถาบันนวนาลันทา มหาวิทยาลัยมคธ 1 บทความ คำสั่งศาลพิหารซารีฟ จังหวัดนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย วันที่ 6 มี.ค. 2517 (ค.ศ. 1974 ) เรื่องการรับมอบโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สิน สร้างวัดไทยนาลันทา พระมหาเถระ ดร.เจ กัสสปะ สังฆนายกอินเดีย ผู้มอบถวายกรรมสิทธิ์ พระธรรมมหาวีรานุวัตร ในนามวัดไทยพุทธคยา ผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ 1 ชิ้น และบันทึกเรื่อง วัดไทยนาลันทา โดยภิกขุวิเวกนันทะ 1 ชิ้น โดยท่านมหานคร เขมปาลี เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทารูปแรก (ต่อมาเป็นเจ้าคุณราชรัตนโมลี วัดมหาธาตุ มรณภาพปี 2553) เล่าเรื่องการเกิดวัดไทยนาลันทาแปลกกว่าวัดไทยในต่างประเทศอื่นๆ เพราะวัดไทยนาลันทาเกิดขึ้นมาเป็นวัดสมบูรณ์โดยทันทีเหมือนกับอุบัติเทพ ทั้งยังตั้งอยู่ในดินแดนที่เคยเป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและพระโมคัลลานะ พระมหาเถระอัครสาวกขวา-ซ้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ส่วนผู้ที่ทำให้เกิด "วัดไทยนาลันทา" คือพระมหาเถระ ดร.เจ กัสสปะ ผู้อำนวยการและก่อตั้งสถาบันนวนาลันทา ที่สร้างศูนย์วิปัสสนาบนที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของท่าน ต่อมาได้ตัดสินใจมอบถวายที่ดินพร้อมอาคารก่อสร้างให้คณะสงฆ์ไทยเพื่อเป็นสมบัติพระพุทธศาสนาสืบไป ดำริที่จะถวายมีมาตั้งแต่ปี 2514 แต่ตัวท่านมหานคร เขมปาลี ได้ทุ่มเทกับการเรียนจึงไม่ได้สานต่อ แต่ท่าน ดร.เจ กัสสปะ ก็เตือนหลายครั้งพร้อมกับมีหนังสือแสดงความจำนงถวายที่ดินให้คณะสงฆ์ไทย ท่านจึงนำเรื่องเสนอพระธรรมมหาวีรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา และหัวหน้าพระธรรมทูตต่างประเทศ พระธรรมมหาวีรานุวัตรจึงเสนอเรื่องไปยังคณะสงฆ์ไทยและรัฐบาลไทย โดยผ่านสถานทูตไทยประจำอินเดีย กว่าจะทราบว่าทางการไทยตกลงรับเรื่อง ก็ใช้เวลา 2 ปี จากนั้นจึงได้ทำการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินเป็นสมบัติของวัดไทยพุทธคยา เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2517 ตามคำสั่งศาลพิหารซารีฟ

นอกจากนี้ ยังมีบันทึกเรื่อง "วัดไทยนาลันทา" โดยภิกขุวิเวกนันทะ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือฉบับเดียวกันเล่าว่า มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึก 6 หลัง ราคาประมาณ 1 แสนรูปี (พ.ศ. 2517) ท่านผู้ถวายจึงเป็นผู้เสียสละจริงๆ แต่กว่าทางการไทยจะรับนั้นกินเวลาถึง 2 ปี นับว่าใช้เวลามาก ส่วนท่าน ดร.เจ กัสสปะ ผู้ตั้งใจถวายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้สงฆ์ไทยก็ใจร้อน ติดตามตลอด เมื่อล่าช้าก็ทุกข์ใจ เข้าทำนองกว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ และเมื่อทางการไทยรับเรื่องแล้ว เป็นขั้นตอนติดต่อประสานงาน ปรับความเข้าใจ พบเจ้าหน้าที่ พบทนายตั้งหลายครั้ง 

นอกจากนั้น ต้องไปศาลไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งเพื่อติดต่อคนเขียนโฉนด ซื้อเอกสารพร้อมด้วยอากรแสตมป์ภาษีที่ดินทั้งหมด 4,000 รูปีเศษ บางครั้งคนซื้อมาก หมดเวลาราชการซื้อไม่ได้ บางครั้งอากรแสตมป์หมดต้องคอย บางครั้งซื้อไม่ได้เพราะบอกราคาตรงเผงไม่ได้ หากซื้อเกินก็คืนไม่ได้ ซื้อขาดจำนวนโอนโฉนดไม่ได้ จะให้ตัวแทนไปซื้อก็กลัวพาเงินหายไป บางครั้งเบิกเงินมาแล้วเอาไปใช้ทางอื่นเงินขาดไปอีก จะไปเอาเงินวัดไทยก็ไกลจากพิหารซารีฟ 108 กิโลเมตร ส่วนนาลันทาไกลจากศาล 12 กิโลเมตร ไปๆ มาๆ เช่นนี้ลำบากแค่ไหน เสียทั้งค่าอาหาร เวลา และค่าพาหนะ และความอึดอัดใจในการรอคอย 

งานที่สำเร็จแต่ละชิ้นแต่ละอันต้องใช้ความอดทนอย่างมาก เมื่อซื้อเอกสารและอากรแสตมป์ได้แล้ว ต้องเอาใบเสร็จไปแสดงที่ธนาคาร ที่แห่งนี้คนมากจนล้นเสียงดังเจี๊ยวจ๊าวฟังกันไม่รู้เรื่อง คนมีเส้นเข้าประตูหลังได้ คนที่ไม่มีเส้นก็คอย หมดเวลาพรุ่งนี้มาใหม่ พรุ่งนี้มาใหม่ (ย้ำ) คนใจไม่เย็นพออกแตกตายแน่ๆ ถึงกระนั้นท่านก็หงุดหงิด หัวเสีย อ่อนเพลีย เกือบจะเป็นโรคประสาท เมื่อโอนโฉนดได้โล่งใจทุกฝ่ายทั้งผู้ให้ ท่าน ดร.เจ กัสสปะ และ ผู้รับพระธรรมมหาวีรานุวัตร ในนามคณะสงฆ์ไทย เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา รวมทั้งผู้ร่วมงานที่ท่านภิกขุวิเวกนันทะบันทึกไว้ได้แก่ พระมหานคร เขมปาลี (มรณภาพแล้ว ตัวภิกขุวิเวกนันทะ (มรณภาพที่สหรัฐอเมริกา) พระมหาบุญมา มหาวีโร และพระสงฆ์ไทยวัดไทยพุทธคยา

เรียกว่า ประวัติศาสตร์ของ "วัดไทยนาลันทา" ทำให้เห็นว่ากว่าาจะมาเป็นวัดไทยนาลันทาได้นั้นย่อมมีมารและอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา เสมือนกับการสร้างบารมีย่อมมีมารมาทำให้บารมีเพิ่มยิ่งขึ้นนั่นเอง 

ท่านเจ้าอาวาส "วัดไทยนาลันทา" ยังได้ใช้เวลาในช่วงเช้าหลังใส่บาตรพระสงฆ์ใน "โครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา ครั้งที่ 9" เมตตาให้ความรู้แก่สื่อมวลชนในโอกาสที่ "พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในอินเดีย" ขนาด 108 ฟุตว่า ตอนนี้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในอินเดียเกือบจะเสร็จแล้ว โดยเป็นพระพุทธรูปที่ใช้ช่างอินเดียแกะสลักหินด้วยจำนวนหิน 46 ก้อน แล้วนำมาต่อกัน หลังจากนั้นช่างชาวอินเดียจะแกะสลักเป็นองค์พระพุทธรูป ซึ่งใช้ปัจจัยของศรัทธาญาติโยม ยังหลือแต่ในส่วนตกแต่งฐานของพระพุทธรูป และ ตกแต่งห้องปฏิบัติธรรม เพื่อรองรับศรัทธาญาติโยมที่ตั้งใจมาเจริญจิตตภาวนาที่ประเทศอินเดีย แดนพุทธภูมิ โดยปัจจุบันยังขาดปัจจัยในการก่อสร้างกว่า 3-4 ล้านบาท
สำหรับ "พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในอินเดีย" จะอยู่ในพื้นที่ "วัดนวมินทรธัมมิกราช" เมืองเนวาด้า รัฐพิหาร ห่างจากพื้นที่ "วัดไทยนาลันทา" 40 กิโลเมตร ซึ่งในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2566 จะมีการทำบุญทอดผ้าป่ามหากุศล 84,000 กอง เพื่อนำปัจจัยไปใช้ในการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่โดยรอบองค์พระเจ้าใหญ่นวมินทร์ฯ ซึ่งเป็น "พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในอินเดีย"

ขอบคุณข้อมูล : วิกิพีเดีย และ เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พระสงฆ์ในโครงการจาริกธรรมฯเดินบิณฑบาตที่ชุมชนนากาเดสช์ ประเนปาล พระสงฆ์ในโครงการจาริกธรรมฯเดินบิณฑบาตที่ชุมชนนากาเดสช์ ประเนปาล
  • ศรัทธา! \'ชาวกาฐมาณฑุ​ เนปาล\' หลั่งไหลทำบุญ​กับคณะสงฆ์​โครงการ​จาริก​ธรรม​ตามรอย​บาทพระ​ศาสดา​ ศรัทธา! 'ชาวกาฐมาณฑุ​ เนปาล' หลั่งไหลทำบุญ​กับคณะสงฆ์​โครงการ​จาริก​ธรรม​ตามรอย​บาทพระ​ศาสดา​
  • \'สเปซไทม์\'เจาะเวลาหาอดีตไปกับ\'หมอบี\'นำชาวนาถะ​\'ตะลุยแดนพุทธภูมิ​\'อินเดีย เนปาล​ 'สเปซไทม์'เจาะเวลาหาอดีตไปกับ'หมอบี'นำชาวนาถะ​'ตะลุยแดนพุทธภูมิ​'อินเดีย เนปาล​
  • \'หลวงพ่อสำเริง\'นำพระสงฆ์​จาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา​ถึงวัดโคตมีนันส์​ ​​เนปาล​ 'หลวงพ่อสำเริง'นำพระสงฆ์​จาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา​ถึงวัดโคตมีนันส์​ ​​เนปาล​
  • \'หมอบี ฑูตสื่อวิญญาณ\'พาชาวนาถะตะลุยศึกษาพิพิธภัณฑ์สารนาถ ประเทศอินเดีย 'หมอบี ฑูตสื่อวิญญาณ'พาชาวนาถะตะลุยศึกษาพิพิธภัณฑ์สารนาถ ประเทศอินเดีย
  • คณะสงฆ์โครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดาเข้าศึกษา \'วัดพระเชตวันมหาวิหาร\' อินเดีย คณะสงฆ์โครงการจาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดาเข้าศึกษา 'วัดพระเชตวันมหาวิหาร' อินเดีย
  •  

Breaking News

กทม.ผลักดันระบบสุขภาพพร้อมประกาศทำเมืองเข้มแข็งขึ้น

(คลิป) 'กฤษฏิ์' สส.ชลบุรี บอกลา 'พรรคส้ม' เผย! ทัศนคติไปด้วยกันไม่ได้

โฆษกกทม.แนะคนกรุงใช้ขนส่งสาธารณะไปเยี่ยมชมงาน BKK EXPO 2025

ขึ้นแท่นแล้ว! 'นิกส์-วูล์ฟส์'ยังแรงจ่อชิงเพลย์ออฟNBA

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved