วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
บทความพิเศษ : ‘ไทย’ยังไม่ปลอด‘แร่ใยหิน’  ถึงครา‘ผู้บริโภค’ลงมือ‘แบน’

บทความพิเศษ : ‘ไทย’ยังไม่ปลอด‘แร่ใยหิน’ ถึงครา‘ผู้บริโภค’ลงมือ‘แบน’

วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.40 น.
Tag : แร่ใยหิน ไทย บทความพิเศษ ผู้บริโภค
  •  

เราทุกคนย่อมรับรู้ว่า “บ้าน” เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด แต่จะทำอย่างไรหากได้รู้ว่า“สิ่งที่อยู่เหนือศีรษะของเราขึ้นไปเพียงไม่กี่เมตร” กลับเป็นแหล่งกักเก็บ “สารก่อมะเร็ง” และโรคทางเดินหายใจที่สำคัญ ซ่อนตัวเป็นภัยเงียบอยู่ภายใต้หลังคาบ้านของเราเอง นั่นก็คือ “แร่ใยหิน (Asbestos)” ซึ่งเป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกเส้นใยแร่ซิลิเกต โดยแร่ใยหินนั้นเป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติแข็งแรง เป็นสื่อนำความร้อนต่ำ และทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ทำให้แร่ใยหินเข้ามามีประโยชน์ทางการค้า

โดยนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอุตสาหกรรมซีเมนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องลูกฟูก ท่อซีเมนต์ ฝ้าเพดาน ตลอดจนใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม “เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการค้นพบว่าแร่ใยหิน ซึ่งมีประเภทและชนิดแยกย่อยไปอีกนั้น ทุกชนิดล้วนเป็นสารก่อมะเร็ง” ที่มีผลต่อสุขภาพของทั้งคนงานที่สัมผัส รวมถึงประชาชนทั่วไป โดยเป็นสาเหตุสำคัญของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ โรคที่เกี่ยวกับปอดและมะเร็งปอดอื่นๆ เช่น มะเร็งเยื่อหุ้มปอด


“เนื่องด้วยแร่ใยหินเป็นเส้นใยที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 3 ไมครอน จึงสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการสูดหายใจ หรือการกลืนกิน และด้วยความสามารถฟุ้งกระจายได้ง่ายในอากาศ อนุภาคที่มีลักษณะคล้ายเข็มเล่มเล็กๆ เหล่านี้ก็จะเข้าไปทำลายเนื้อปอด จนเมื่อสะสมนานเข้าผู้ป่วยก็อาจแสดงอาการทรมานด้วยความเจ็บป่วย หายใจลำบากและเสียชีวิตภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ข้อมูลยืนยันจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ชี้ว่ามะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย โดยหนึ่งปัจจัยสำคัญที่รองลงมาจากการสูบบุหรี่ ก็คือ การได้รับแร่ใยหิน ซึ่งผู้ที่สัมผัสกับแร่ใยหินอาจได้รับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า”

เมื่อเป็นเช่นนี้ ที่ผ่านมานานาประเทศทั่วโลกจึงได้ทยอยมีมาตรการ “แบน” โดยห้ามการผลิต นำเข้า-ส่งออก รวมถึงใช้งานแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามคำแนะนำของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ออกมาระบุด้วยเช่นกันว่า แร่ใยหินเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพที่สำคัญที่สุด และเรียกร้องให้ทั่วโลกมีการรณรงค์ในเรื่องนี้ แม้แต่ประเทศอย่าง แคนาดา บราซิล ที่เคยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ก็ยกเลิกใช้และส่งออกไปแล้วด้วยเช่นกัน

ขณะที่ในภูมิภาคอาเซียน มีประเทศที่ประกาศยกเลิกแร่ใยหินแล้ว ส่วนเวียดนามก็แบนเลิกใช้แล้ว แม้กระทั่งในจีนและอเมริกา ก็เลิกใช้เช่นกัน “แต่ในขณะที่หลายประเทศกำลังทยอยเลิกใช้แร่ใยหิน รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยกลับยังคงติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีการนำเข้าแร่ใยหินสูงที่สุดในโลก” โดยอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงคือ “อุตสาหกรรมการผลิตกระเบื้องหลังคา” ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีธุรกิจเหล่านี้ในไทยก็ล้วนมีการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ

“แต่หลังจากที่เกิดความตระหนักในประเด็นนี้กันอย่างกว้างขวาง บริษัทผู้ผลิตจำนวนมากก็เลือกยุติการใช้” ทำให้ปัจจุบันเราพอจะอุ่นใจได้มากขึ้นจากสัดส่วนของกระเบื้องที่มีแร่ใยหินได้ลดลงไปมาก “ถึงขณะนี้เหลืออยู่เพียงไม่เกิน 20% ในตลาด โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่ที่มีความห่วงใยต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัย ได้เลือกเปลี่ยนไปใช้วัสดุทดแทนที่ปลอดภัยกว่าและมีคุณสมบัติทนทานไม่แพ้กัน” อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยบางบริษัทก็มีการพัฒนาวัสดุทดแทน เกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างสรรค์ให้อุตสาหกรรมกระเบื้องหลังคามีความก้าวหน้ามากขึ้น

ในขณะที่บริษัทจำนวนมากเลือกดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล เดินหน้าตามแนวทางเดียวกันกับทั่วโลกที่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ แม้ว่าจะแลกมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม แต่ไม่น่าเชื่อว่าบางบริษัท (ที่ยังเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง) กลับไม่ได้เกิดความ “สะทกสะท้าน” และยังคงยึดมั่นในการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบบนโลกที่มีสมการง่ายๆ ว่า “ต้นทุนการผลิตที่ลดลงย่อมเท่ากับกำไรที่มากขึ้น” ซึ่งก็กลายเป็นคำถามที่ว่า“เหตุใดจึงปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้?” ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นั่นเพราะที่ผ่านมา “เรายังไม่เคยได้เห็นมาตรการบังคับจากภาครัฐ” สิ่งเดียวที่มีให้ยึดถือเป็นเพียงข้อเสนอเชิงนโยบายจาก “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ที่เป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะภายใต้การมีส่วนร่วมของ3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ-วิชาการ-ประชาสังคม ซึ่งให้ฉันทามติร่วมกันในเรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” มาตั้งแต่ปี 2553 เร่งรัดให้แต่ละหน่วยงานควบคุมและจัดการกับแร่ใยหิน จนเกิดเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมาในปี 2554 ที่ได้ “รับลูก” และมอบหมายบทบาทให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการ

แม้เวลาจะผ่านมาแล้วกว่าสิบปี แต่การกำจัดแร่ใยหินในประเทศไทยกลับยังไม่เกิดความสำเร็จ ซ้ำร้ายเรายังได้แต่ปริบตามองตัวเลขการนำเข้าแร่ใยหินที่เพิ่มสูงขึ้นในบางช่วง สวนทางกับความพยายามให้เกิดการ ลด-ละ-เลิก ในขณะที่เคสการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดจากแร่ใยหิน ก็ได้ทยอยรายงานออกมาให้เห็นอยู่เป็นระยะ กระทั่งในปี 2562 ก็ได้เกิดฉันทามติเรื่อง “ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ที่เร่งรัดให้แต่ละหน่วยงานควบคุมและจัดการแร่ใยหิน (อีกครั้ง)

ซึ่งแน่นอนว่ารอบนี้ก็ยังไม่อาจคาดหวังไปได้มากกว่า “เสียงวิงวอน” ในเมื่อยังเป็นเพียงกลไกของ “อำนาจอ่อน” ที่ไม่สามารถไปมีผลบังคับกับภาคธุรกิจได้แต่อย่างใด “คำถามสุดท้าย” จึงกลับมาถึงตัวประชาชนในฐานะ “ผู้บริโภค” อย่างเรา ว่าจะมีบทบาทปกป้องสุขภาพของตนเองได้หรือไม่ ในเมื่อยังไม่สามารถคาดหวังบทบาทของหน่วยงานรัฐ ที่จะไปบังคับบริษัทที่เหลืออยู่บางรายให้ “แบน” แร่ใยหินได้

เมื่อนั้นควรเป็นเราหรือไม่ ที่จะเป็นฝ่าย “แบน” ผลิตภัณฑ์จากบริษัทเหล่านี้แทน?

 

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก! บทความพิเศษ : SME ไทยต้องพร้อมแข่งขันในเวทีโลก!
  • บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน  นิติกรรมอำพราง หลบภาษี? บทความพิเศษ : นายกสืบสันดาน นิติกรรมอำพราง หลบภาษี?
  • บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์  สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ บทความพิเศษ : เด็กเกิดต่ำเป็นประวัติการณ์ สวนทางนโยบายมีลูกเพื่อชาติ
  • บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย  ในยุคที่เด็กเกิดน้อย บทความพิเศษ : ส่องการศึกษาไทย ในยุคที่เด็กเกิดน้อย
  • บทความพิเศษ : ‘Climate Change’  โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’ บทความพิเศษ : ‘Climate Change’ โอกาส-ความเสี่ยง‘ตลาดทุน’
  • บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์ บทความพิเศษ : ‘ประชัย’ออกโรงจี้‘แบงก์ชาติ’คุมค่าเงินบาท ชี้อย่างน้อยต้อง37บาทต่อดอลลาร์
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved