วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียน‘โรงพยาบาลคูเมือง’  ใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบบริการมาตรฐาน HA IT

สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียน‘โรงพยาบาลคูเมือง’ ใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบบริการมาตรฐาน HA IT

วันอาทิตย์ ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์สุขภาพในประเทศไทยตอนนี้ มีทั้งเรื่องผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ความเจ็บป่วยในผู้สูงอายุมากขึ้น ประชาชนอายุยืนขึ้น และอัตราการเกิดน้อยลง หรือช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาก็เป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้เราเผชิญกับข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ในการให้บริการ

นี่คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ “โรงพยาบาลคูเมือง” มองหาเครื่องมือที่จะมาช่วยในแก้ปัญหาในบริบทเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ที่เพิ่มขึ้น จากผู้สูงอายุ จากโรคอุบัติใหม่ ทำให้คนต้องทำการ Social Distancing คือ ต้องเว้นระยะห่างในการใช้ชีวิต นำมาสู่การตอบโจทย์เรื่องนี้ด้วย “ดิจิทัลเทคโนโลยี” และไม่เพียงแค่การทำให้งานบริการสาธารณสุขมีคุณภาพ แต่เครื่องมือนี้ ยังมีมาตรฐานสากล ที่ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ ระบบพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (HA IT) โดย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) หน่วยงานที่สร้างมาตรฐานที่ผ่านการรับรองจากสากล


นายแพทย์กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์ ได้อธิบายถึง การใช้เทคโนโลยี ในงานบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลคูเมือง ว่า ก่อนที่โรงพยาบาลจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จะมีการตั้งโจทย์ของโรงพยาบาลก่อนว่ามีตรงไหนที่มีปัญหา มีข้อผิดพลาด หรือมีภาระงานส่วนใดที่ต้องปรับบ้างจากนั้นจึงนำเอาเทคโนโลยีจะเข้ามา เพื่อลดข้อจำกัดต่างๆ ลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ และสามารถช่วยแจ้งเตือนต่างๆ ในการบริการ อาทิ การใช้เทคโนโลยีในการสั่งจ่ายยาของแพทย์หลังการตรวจระบบจะมีการบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย ว่าแพ้ยาชนิดใด หรือยาบางชนิดที่ไม่สามารถทานพร้อมกันได้ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดของแพทย์ ที่บางครั้งการตรวจผู้ป่วยจำนวนมากอาจส่งผลต่อเรื่องความจำ ระบบการแจ้งเตือนข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเกิดโรคก็จะสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการดูแล ปรับพฤติกรรมก่อนเกิดความรุนแรงได้ การจัดคิวผู้ป่วยให้เข้ารับการรักษารวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีในการจัดตารางเวรของแพทย์ พยาบาล ที่ไม่ต้องใช้คนจัดเหมือนในอดีตก็ช่วยลดความผิดพลาด ป้องกันปัญหาบุคลากรทำงานหนักเกินไป

ในเรื่องของการนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการบริการนี้ หากเราไม่มีความเข้าใจ เราจะเอาเทคโนโลยีมานำหน้า ทำให้เกิดคำถามว่ามันตอบโจทย์อะไร แต่ถ้าเราเข้าใจบริบทของเราว่ากลุ่มไหนที่มีปัญหา ประชาชนกลุ่มไหนที่เข้าไม่ถึงบริการ ประชาชนกลุ่มไหนที่ดูแลสุขภาพตัวเองไม่ได้ กลุ่มไหนที่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดปัญหา เราก็สามารถเอาเทคโนโลยีมาช่วยอย่างนี้ได้ เช่น กรณีที่เรามีข้อมูลอยู่แล้วเต็มโรงพยาบาลเลย คนมาใช้บริการจำนวนมาก มีข้อมูลของผู้ป่วยในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็น ค่าแล็บ ผลเลือด การมาโรงพยาบาล การวินิจฉัยโรค เราสามารถเอาข้อมูลเหล่านี้มาให้เทคโนโลยีเรียนรู้ได้

“ปัจจุบันเทคโนโลยีไปไกลมาก อย่างในต่างประเทศจะเห็น Machine learning ให้เทคโนโลยีมาเรียนรู้ว่า มีรูปแบบไหนบ้างที่ทำให้ผู้ป่วยคนนั้นๆ มีความเสี่ยงจะเกิดโรคอะไร เราสามารถเอาคนกลุ่มนี้มาจัดการก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้ป่วย หรือว่าเกิดโรคอะไรกับผู้ป่วย อย่างเช่น ค่าไตสูงขึ้น เรารู้ว่าคนไข้กลุ่มนี้ถ้าเราไม่ทำอะไร เขาจะเกิดภาวะไตวายได้ในอนาคต เราก็เอาข้อมูลเหล่านี้มาสู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขา” นายแพทย์กิตติ กล่าว

นายแพทย์กิตติกล่าวอีกว่า การจะบอกว่าโรงพยาบาลเราเก่งเรื่องเทคโนโลยีอาจจะยังไม่ถูกนัก ทำให้จำเป็นต้องมีมาตรฐานเข้ามาประเมินอีกที มาตรฐานที่จะมียืนยันได้ว่า “เราทำได้ดี หรือทำได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน” โดยใช้เครื่องมือของ สรพ. คือ การเข้ารับประเมินมาตรฐานเฉพาะโรค เฉพาะระบบ (HA IT) เข้าเมื่อ สรพ. บอกว่าเราผ่านเกณฑ์ จึงทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราคิดและดำเนินการนั้นถูกต้อง ส่วนการจะตอบคำถามที่ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้สามารถวัดผลได้หรือไม่ จริงๆ ต้องชี้แจงว่าบางเรื่องเป็นการทำงานร่วมกันไม่ใช่ใช้แค่เทคโนโลยี ยกตัวอย่าง เช่น การดักจับเรื่องแทพย์จ่ายยาไม่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยบางกลุ่มโรค ก็ต้องทำงานร่วมกันทั้งทีมแพทย์ เภสัชกร ทีมไอที เพราะต้องร่วมออกแบบด้วยกัน จึงเรียกว่าเป็นความสำเร็จร่วมกันมากกว่า กล่าวคือ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดความสำเร็จเป็นการบูรณาการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน 

“ประชาชนผู้รับบริการจะรับทราบหรือไม่ว่าการบริการของเราที่เอาเทคโนโลยีมาช่วย ทำให้เขาได้ประโยชน์ อย่างกลุ่มผู้สูงอายุอาจจะไม่สามารถสัมผัสได้ เพียงแต่จะรู้ว่าวันนี้ได้รับการตรวจเร็วขึ้น ได้กลับบ้านเร็วขึ้น ปกติตรวจเสร็จต้องนั่งรอรับยา หลายคนกลับได้รับเร็วมียาส่งถึงบ้าน โดยเราก็ร่วมมือกับทางไปรษณีย์ไทย แต่บางอย่างอาจสัมผัสไม่ได้เพราะเป็นที่มุมมองของผู้ให้บริการ ที่เราดูเรื่องความปลอดภัย ลดการผิดพลาด ให้เกิดกระบวนการที่เป็นไปตามกระบวนการอย่างถูกต้อง” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูเมือง กล่าว

อย่างไรก็ตามในส่วนของเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ ในโรงพยาบาลคูเมืองไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ลงทุนเยอะ เพราะเทคโนโลยีธรรมดาหลายอย่างช่วยในเรื่องการทำงานอยู่แล้ว เช่น ปกติเขาต้องทำการจัดเวร ทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล บางครั้งเกิดการผิดพลาดก็ตีกลับไปกลับมา ก็เสียเวลาแทนที่จะได้ไปดูแลคนไข้ หรือบางโปรแกรม เรามีอยู่แล้ว แต่ไม่เคยไปตั้งค่าการใช้งานให้มีการดักจับอย่างการดักจับการจ่ายยาผิดพลาด หรือบางโรคที่มีการเตือนว่าคนไข้กลุ่มนี้ต้อบได้รับยาอะไร บางทีแทบไม่ต้องลงทุนเลย เพียงเราใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเนื้องาน

สำหรับโปรแกรมที่โรงพยาบาลคูเมืองนำมาปรับใช้เป็นโปรแกรมพื้นพื้นฐานทั่วไป ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ได้แก่ Microsoft word, Excel, PowerPoint, Infographic, Google Drive, Google Data Studio, และ Zoom โดยจะยึดหลักความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงาน
ภายนอกในการสร้างเครือข่ายระบบสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากไปรษณีย์ไทย ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการจัดส่งยาถึงบ้าน โดยไม่ต้องรอรับยานานที่โรงพยาบาล

แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) กล่าวว่า โรงพยาบาลคูเมือง นับว่าเป็นต้นแบบในเรื่องของ “หลักคิด” เนื่องจากบริบทของโรงพยาบาลในแต่ละแห่งแตกต่างกัน เทคโนโลยีในแต่ละที่ก็ต่างกัน อย่างโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่บนเขา พื้นที่ห่างไกลอาจจะใช้เทคโนโลยีในบางรูปแบบไม่ได้ แต่อาจจะใช้เทคโนโลยีในบางรูปแบบได้แต่ในเรื่องของหลักคิดสำคัญมาก ในบริบทของโรงพยาบาลที่เป็นโรงพยาบาลชุมชนว่ามีปัญหาอย่างไร กลุ่มผู้ป่วยเป็นแบบไหน ซึ่งของโรงพยาบาลคูเมือง นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาออกแบบระบบบริการเพื่อการดูแลคนไข้ให้ดีขึ้น จากนั้นเมื่อได้หลักคิดแล้วเกิดการลงมือปฏิบัติ แล้วก็เก็บข้อมูลโดยการออกแบบกระบวนการที่ตอบโจทย์ความตั้งใจของเขาในทุกเรื่อง

แพทย์หญิงปิยวรรณ กล่าวอีกว่า โรงพยาบาลคูเมืองเป็น 1 ใน 2 สถานพยาบาล ที่ผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ ระบบพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (HA IT) โดย สรพ. โดยอีกแห่งคือโรงพยาบาลน่าน ซึ่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีความสนใจเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม เมื่อนำมาปรับใช้กับระบบบริการของโรงพยาบาลก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแค่ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานในการรักษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น อันส่งผลไปถึงประชาชนที่เข้ามารับบริการ ที่สำคัญจะเห็นภาพชัดเจนเลยว่าบุคลากรตั้งใจและมีวิสัยทัศน์เดียวกันที่พัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพ และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

พญ.ปิยวรรณ กล่าวว่า หัวใจสำคัญที่ สรพ. ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินระบบพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (HA IT) มีคีย์เวิร์ดสำคัญ ดังนี้ 1.Process Management หรือ การจัดการกระบวนการ จะเห็นชัดเจนว่า มีการพัฒนาดำเนินการอย่างเป็นระบบและตลอดสาย มีการวิเคราะห์ตลอดสาย ตั้งแต่การเข้ามารับบริการจนคนไข้กลับบ้าน 2. Result หรือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ที่นี่เป็น1 ใน 2 โรงพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2565 ในการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการบริการ 3. Learning คือ มีการเรียนรู้ ดำเนินการทำแล้วต้องปรับทำแล้วต้องเกิดนวัตกรรม เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำแล้วเกิดองค์ความรู้ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเวร

และ 4. Quality คุณภาพ ซึ่งที่โรงพยาบาลคูเมืองแห่งนี้ กล่าวได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการโปรแกรมพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (HA IT) ของ สรพ. ซึ่งเราทำเรื่องนี้ขึ้นมาโดยอาศัยงบประมาณจาก สำนักงบประมาณ เพราะเห็นว่าเรื่องดิจิทัล เรื่องเทคโนโลยี สำคัญ เราจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้กับสถานพยาบาลในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปใช้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์กับองค์กร ตัวอย่างของโรงพยาบาลคูเมือง ต้องชื่นชมและทำได้ดีมาก คือ การกำหนดทิศทางขององค์กรว่าจะไปทางไหน และนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปช่วยในด้านใดบ้าง

โดยการออกแบบกระบวนการที่ตอบโจทย์ปัญหานั้นๆ ซึ่งแนวทางการใช้เทคโนโลยีของโรงพยาบาลคูเมือง ที่ผ่านการรับรองจะมีการนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการประจำปี HA NationalForum ครั้งที่ 23 ด้วย โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 14-17 มีนาคม 2566 ภายใต้แนวคิดหลัก “Synergy for Safety and Well-being”ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย สกู๊ปพิเศษ : ถอดบทเรียนแก้ปัญหาการพนันในสถานประกอบการไทย
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ยอดขายร่วง! 'นิสสัน'เตรียมปลดพนักงาน 2 หมื่นชีวิตทั่วโลก

อึ้งไปเลย! แฟนคลับกา 660 แต้ม เลือก‘ผู้สมัครสท.แก๊งค้ายา’พรรคส้ม

รวบนักค้ารายย่อย! สั่งซื้อยาบ้าในเฟสบุ๊ค เดลิเวอรี่ส่งถึงที่

'สุชาติ'ชี้เป็นเอกสิทธิ์สส.ย้ายพรรค ส่วนตัวไม่ขอก้าวล่วง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved