วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘คุยเรื่องเพศ’ลดโอกาสพลาด  ป้องปัจจัยเสี่ยงเริ่มที่ครอบครัว

สกู๊ปแนวหน้า : ‘คุยเรื่องเพศ’ลดโอกาสพลาด ป้องปัจจัยเสี่ยงเริ่มที่ครอบครัว

วันเสาร์ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“แม่วัยรุ่น” หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยที่ยังไม่มีความพร้อม เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ดังที่บทความ “โอกาสที่หายไปของ ‘แม่วัยรุ่น’ และสังคมไทย” โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) รวบรวมข้อมูลไว้ตั้งแต่ปี 2535-2563 พบว่า ในปี 2563 แม้สัดส่วนจำนวนแม่วัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) จะลดลงมาอยู่ที่ 29.1 ต่อประชากรหญิงวัยเดียวกัน 1,000 คน จากสถิติสูงสุดในปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 53.1 :1,000 แต่ก็ยังมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งอยู่ที่ 12 : 1,000 และมากกว่าประเทศร่วมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งอยู่ที่ 23 : 1,000

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาผู้เกี่ยวข้องมิได้นิ่งนอนใจ มีความพยายามแก้ไขปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะการออกกฎหมาย พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 เพื่อวางแนวทางและบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจน ซึ่งหนึ่งในนั้นได้กล่าวถึง “การสอนเพศศึกษา” โดยเน้นบทบาทของสถานศึกษา นอกจากนั้น ยังมีความพยายามขยายความเข้าใจไปถึง “ครอบครัว” ให้พ่อแม่ผู้ปกครองสร้างบรรยากาศที่ทำให้บุตรหลานเปิดใจปรึกษาเรื่องเพศแบบตรงไปตรงมา ดีกว่ามารับรู้ภายหลังเมื่อเกิดปัญหาแล้ว


ในวงเสวนา “คุยเรื่องเพศ ลดโอกาสพลาด” เมื่อช่วงปลายเดือน ก.พ. 2566 อรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเด็ก กรมกิจการเด็กเละเยาวชน ฉายภาพสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทย อาทิ ร้อยละ 10.1 ของเด็กอยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะต่ำกว่าเส้นความยากจน มีเด็กถูกกระทำความรุนแรงเฉลี่ย 52 คน/วัน เป็นต้น ขณะที่แม่วัยรุ่น แบ่งได้ 2 กลุ่ม สถิติปัจจุบัน พบว่า อายุ 10-14 ปี อยู่ที่ 0.9 : 1,000 ขณะที่อายุ 15-19 ปีอยู่ที่ 24.4 : 1,000

“จริงๆ ประเทศไทยมีการดำเนินงานในเรื่องนี้ค่อนข้างที่จะได้ผล อัตราลดลงจากเป้าที่เราตั้งไว้เดิม คือ 15-19 ปี ที่เหลือ 25 (ต่อ 1,000) เราตั้งไว้ที่ปี 2569 แต่ปัจจุบันเราถึงแล้ว และในคณะกรรมการก็ได้มีการปรับเป้าหมายลดลงมาอีก เนื่องจากแม้จะทำได้ถึงเป้าแต่ก็ยังเป็นสถานการณ์ที่ยังสูงอยู่ 10-14 ปี ในปี 2570ปรับเป้าลงมาอยู่ที่ 0.5 ต่อ 1,000 แล้วก็ 15-19 ปี จะปรับลงมาอยู่ที่ 19 ต่อ 1,000 ประชากรในกลุ่มเดียวกัน” อรพินท์ กล่าว

สกล โสภิตอาชาศักดิ์ อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ไม่มีคำว่าอายุน้อยเกินไปในการคุยเรื่องเพศ” เช่น ในวัยเด็กสอนเรื่องความแตกต่างของร่างกายระหว่างชาย-หญิง โตขึ้นมาก็สอนเรื่องพื้นที่ส่วนตัวของร่างกายที่ไม่ควรให้คนอื่นมาจับต้อง ซึ่ง “การรอให้เด็กโตเป็นวัยรุ่นแล้วค่อยคุยเรื่องเพศอาจสายเกินไป”เห็นได้จากสถิติแม่วัยรุ่นที่พบการตั้งครรภ์ในเด็กหญิงอายุเพียง10 ปี ดังนั้นการเตรียมความพร้อม ให้ความรู้ด้านร่างกาย ตลอดจนการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า และการคุยเรื่องเพศนอกเหนือจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์แล้ว ยังรวมถึงอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายด้วย

“ผมเชื่อว่ามีพ่อแม่หลายคนที่ลูกอาจจะเป็น LGBT เป็นตุ๊ด เกย์ เลสเบี้ยน เป็นอะไรอย่างอื่นอีกมากมาย เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร อย่าว่าแต่จะพูดอย่างไรเลย ตัวเองยังไม่รู้พอ หรือบางคนจากงานวิจัยที่ผมทำมา ด้วยความที่สังคมเรามันหล่อหลอมมาว่าเพศที่หลากหลายมันเป็นสิ่งผิดปกติหรือผิดธรรมชาติ ทำให้พ่อแม่เวลารู้ว่าลูกเป็น LGBT หลายครั้งจะมี Reaction (ปฏิกิริยา) แรกคือเสียใจ-ผิดหวัง ซึ่งความเสียใจ-ผิดหวัง เมื่อถูกสื่อสารออกไปถึงลูกว่าเราเสียใจ-ผิดหวัง มันสร้างผลกระทบต่อตัวลูกมากๆ

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า การยอมรับของพ่อแม่ต่อเพศที่หลากหลาย ถ้าเกิดพ่อแม่ไม่ยอมรับมันส่งผลต่อสุขภาพจิตของลูกทั้งชีวิตได้เลย คือมันไม่ใช่ ณ ตอนนั้น แต่มันส่งผลต่อเขาไปในระยะยาวได้ แล้วมันส่งผลถึงความเสี่ยงในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้น คือเขาอาจจะด้วยความที่พอไม่ยอมรับเรื่องเพศในตัวตนของเขา การที่เขาจะมาคุยเรื่องเพศกับพ่อแม่ของเขา หรือแม้แต่เรื่อง Sexual Health (สุขภาพทางเพศ)ยิ่งหมดไป เพราะฉะนั้นจะมีชุดความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อย และมีความเสี่ยงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับเพศมากขึ้น” อาจารย์สกล กล่าว

ซาหดัม แวยูโซ๊ะ เยาวชนจากกลุ่มลูกเหรียง กล่าวว่า “ในมุมของเยาวชน เมื่อจะคุยเรื่องเพศมักจะคุยกับคนที่รู้สึกไว้วางใจ” ดังนั้น จึงคุยกับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ด้วยเหตุที่เพื่อนก็เป็นคนวัยเดียวกัน อีกทั้งพบเจอและพูดคุยปรึกษาเรื่องต่างๆ กันอยู่เป็นประจำ รวมถึงได้รับคำตอบที่ฟังแล้วสบายใจมากกว่าพ่อแม่ รวมถึงชีวิตของเยาวชนก็มักจะอยู่กับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ไม่ว่าในโรงเรียนหรือในชุมชน แม้กระทั่งศูนย์ให้คำปรึกษาที่ตนเองทำงานอยู่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส) เยาวชนที่เข้ามาก็เพราะได้รับคำแนะนำจากเพื่อน

โดยมีคำถามยอดนิยม เช่น มีเพศสัมพันธ์แล้วฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิภายนอกแล้วฝ่ายหญิงจะตั้งครรภ์หรือไม่ แล้วฝ่ายหญิงควรทำอย่างไรต่อไป ต้องกินยาคุมหรือไม่ จะใช้ยาคุมแบบไหนดีระหว่างยากินกับยาฉีด รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย จะต้องไปตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไหน เป็นต้น ซึ่งภารกิจของศูนย์คือการให้คำแนะนำเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและรับมือความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

“ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก พอพูดเรื่องเพศแล้วมันบาป พูดไม่ได้นะ แล้วถ้าพูดไม่ได้จะพูดกับใคร เวลาเรามีปัญหาเรื่องอวัยวะในร่างกายที่มันเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเราต้องไปปรึกษาใคร ฝันเปียกเกิดจากอะไร เมนส์มาแล้วต้องดูแลอย่างไร แล้วมันเป็นปัญหาที่คนในพื้นที่เองพอพูดเรื่องนี้เขาไม่กล้า เขาอาย มันบาป มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เพราะฉะนั้นในฐานะที่เป็นตัวแทนเยาวชน ก็อยากจะมาพูดเรื่องเพศให้คนในพื้นที่ว่ามันไม่ใช่เรื่องบาปหรือละเอียดอ่อน แต่เป็นเรื่องของเราที่เราต้องดูแล” ซาหดัม กล่าว

ศิริพงษ์ เหล่านุกูล พ่อเลี้ยงเดี่ยวที่มีลูกวัยกำลังเข้าสู่วัยรุ่น เล่าว่า ปัจจุบันตนเองมีลูก 2 คน คนโตอายุ 11 ขวบคนเล็กอายุย่างเข้า 8 ขวบ ซึ่งด้วยความที่อายุตนเองก็ยังไม่มาก ก็ไม่คิดมาก่อนว่าจะต้องมาคุยเรื่องเพศกับลูกเพราะเป็นเรื่องที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน กระทั่งไปเห็นลูกกับใช้อินเตอร์เนตค้นหาข้อมูลเรื่องเพศ จึงเริ่มกังวลว่าข้อมูลที่ลูกค้นหาได้นั้นถูกต้องหรือไม่แต่ที่ผ่านมาตนเองก็ไม่เคยคุยเรื่องเพศกับครอบครัวมาก่อนจึงไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร

แต่ด้วยความโชคดีที่ตนเองทำงานในองค์กรที่ให้ความรู้เรื่องเพศ ทำให้ได้ซึมซับความรู้และนำกลับไปทบทวน โดยเริ่มตั้งหลักจาก 1.ปรับทัศนคติ ไล่ตั้งแต่ทำให้ตนเองคลายความรู้สึกตกใจกับพฤติกรรมของลูกเพราะนั่นเป็นเรื่องปกติเสียก่อน เพราะเมื่อตนเองเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติแล้ว ก้าวต่อไปก็คือการคิดต่อว่าจะหาทางคุยกับลูกอย่างไร 2.ดูบริบทตามช่วงอายุ วัยใดควรจะพูดคุยในเรื่องใด เช่น ดูว่าลูกอายุเท่านี้ มีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหรือจิตใจอย่างนี้ และ 3.ดูสภาพแวดล้อมเพื่อหาวิธีการพูดคุยที่เหมาะสม

“เขาจะอึดอัดกับการที่คุยเรื่องส่วนตัวต่อหน้าคนอื่น เราก็จะหาสภาพแวดล้อมที่เราได้มีโอกาสคุยกัน 2 คน นั่นคือเวลาก่อนนอน เราก็จะเริ่มจากการเปิดใจเราก่อน ให้เขาได้รู้สึกความปลอดภัย คือเราจะเล่าเรื่องตัวเอง ตอนเด็กๆ เราอายุเท่าเขา เรามีเพื่อนผู้หญิงน่ารัก เราชอบแบบนี้ แล้วเราลองถามว่าเขามีเพื่อนผู้หญิงในกลุ่มที่น่ารักไหม แล้วเขาชอบหรือเปล่า เป็นอย่างไร เราก็เริ่มจากเรื่องง่ายๆ เขาก็ชอบฟังเรื่องของเรา แรกๆมันก็เป็นเรื่องสนุกสนานเล่นๆ โดนแกล้งก่อน แล้วเราก็ค่อยๆ โยงเข้าเรื่องนี้เรื่อยๆ

ทุกวันนี้เวลาที่เราได้เข้านอนพร้อมกัน ก็เป็นเรื่องปกติที่เราจะได้คุยเรื่องแบบนี้ เขาจะขอให้เราเล่า ทุกวันนี้ก็เลยรู้สึกว่า การเตรียมตัวเตรียมพร้อมกับเรื่องที่เราต้องรู้ สิ่งแรกคือตัวเราเองก่อน เราต้องรู้ว่าเรามีความคิดอย่างไร แล้วเราพร้อมที่จะให้พื้นที่กับเขาจริงๆ หรือเปล่าในการพูดคุยเรื่องนี้ สิ่งที่สองคือตัวเขาเอง เราก็ต้องรู้ว่าลูกเรากำลังคิดหรือรู้สึกอะไรอยู่ สุดท้ายก็คือสภาพแวดล้อม” ศิริพงษ์ อธิบาย

ดิเรก ตาเตียว มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กล่าวว่า อย่างแรกคือต้องสร้างความเข้าใจก่อนว่า “เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ” อยู่กับคนเราตั้งแต่เกิดจนตาย จากนั้นฉายภาพให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นซึ่งมีหลายอย่างมาก ขณะที่พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (เช่น การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม) ก็ไม่ได้เกิดกับทุกคน และสามารถป้องกันได้ ซึ่งภารกิจของมูลนิธิฯ คือการฝึกพ่อแม่ให้มีทักษะ โดยเฉพาะ “การสื่อสารเชิงบวก” พร้อมๆ กับการเข้าใจวัยรุ่น

เพราะพ่อแม่เองก็เคยเป็นวัยรุ่นมาก่อน ให้ลองย้อนนึกถึงว่าตอนตนเองอายุเท่าลูก เวลานั้นเป็นแบบไหน ซึ่งก็ไม่ได้ต่างกันแต่สิ่งที่แตกต่างคือสื่อ สังคม เทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามา แต่ก็ยอมรับว่า การฝึกทักษะการสื่อสารเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เช่น เมื่อพ่อแม่มาด้วยอารมณ์โมโห รวมถึง “ปัญหาเศรษฐกิจยังเป็นตัวแปรรบกวนจิตใจที่จะเรียนรู้ของพ่อแม่” เพราะมองปากท้องเป็นเรื่องสำคัญกว่า

“ทุกคนอยู่กับสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตมาตลอด ฉันปากแบบนี้ฉันพูดแบบนี้ จะมาให้ฉันพูดดีมันไม่ง่าย แต่เราก็จะพยายามชวนดูว่าทำอย่างไรให้สติมันกลับมา ดังนั้น ถ้ารู้ว่าตัวเองอารมณ์ร้อนอยู่มันต้องหาทางดับร้อนก่อน บางคนอาจจะต้องเดินไปไหนก่อน บางคนอาจจะหากาแฟกินก่อน จู่ๆ ลูกเดินมาถาม พ่อกำลังหงุดหงิดอยู่ มาถามอะไรตอนนี้ สติมันจึงสำคัญ” ดิเรก กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

สมุทรสาครป่วน! จ่อแจกใบแดงซื้อเสียง เลือกตั้งนายกเล็ก

ไปอีก 2!‘อุตตม-สนธิรัตน์’ลา‘บิ๊กป้อม’ไขก๊อกสมาชิกพรรค‘พปชร.’

ยอดขายร่วง! 'นิสสัน'เตรียมปลดพนักงาน 2 หมื่นชีวิตทั่วโลก

อึ้งไปเลย! แฟนคลับกา 660 แต้ม เลือก‘ผู้สมัครสท.แก๊งค้ายา’พรรคส้ม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved