วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : จากกฎหมายถึงจรรยาบรรณ  เรื่องควรรู้‘จ้างคนทำงานบ้าน’

สกู๊ปแนวหน้า : จากกฎหมายถึงจรรยาบรรณ เรื่องควรรู้‘จ้างคนทำงานบ้าน’

วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566, 07.15 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“โครงสร้างกับความคุ้นชินที่เราอยู่กับคนที่มาช่วยงานในบ้าน สิ่งหนึ่งที่มันแตกต่าง หลายท่านที่ทำธุรกิจท่านก็จะคุ้นชินกับการมีลูกจ้างเข้า-ออกเป็นเวลา มีการควบคุมดูแลกัน แต่ถามว่าลูกจ้างทำงานบ้านเป็นอย่างนั้นไหม? คำตอบก็คือไม่ อยู่กับเรา 24 ชม. หันไปก็เจอ ตื่นมาก็เจอ ก่อนนอนก็เจออีก ไม่เหมือนลูกจ้างที่เราทำในทางธุรกิจ 8 โมงเช้า 9 โมงครึ่งอะไรก็แล้วแต่ จะไปไหนก็ต้องเขียนใบลา ต้องมีรายละเอียด ต้องควบคุมกัน”

ทิศชัย หงษ์ศิรินทนาถ ผู้แทนสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนนทบุรี กล่าวในงานสัมมนา “นายจ้าง : ความสำเร็จในการคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน” ณ รร.ไมด้า งามวงศ์วาน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 ถึงสภาพการทำงานของ “ลูกจ้างทำงานบ้าน” ที่แตกต่างจากลูกจ้างทั่วไปในสถานประกอบการ แต่การอยู่อาศัยใกล้ชิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างทำงานบ้าน “การแยกแยะระหว่างเวลาพัก-เวลางาน” จึงทำได้ยาก


เมื่อไปดู กฎกระทรวงฉบับใหม่ฉบับที่14 (พ.ศ. 2555) ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 สำหรับนายจ้างที่จ้างลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจร่วมอยู่ด้วย จะพบการควบคุมตามกฎหมาย เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี การลาป่วย จะเหมือนกับลูกจ้างอื่นๆ ทั่วไป แต่ก็ยอมรับว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แทบไม่เหลือการบังคับใช้สำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้จ้างลูกจ้างทำงานบ้านต้องระมัดระวังคือ “ต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างลูกจ้างทำงานบ้านกับลูกจ้างในภาคธุรกิจ” ที่ผ่านมามีกรณีผู้ที่ใช้บ้านของตนเองตั้งร้านค้า ภายในบ้านมีการจ้างลูกจ้างทำงานบ้าน แต่ก็มีการนำลูกจ้างทำงานบ้านมาช่วยงานในร้านค้าด้วย ลักษณะนี้อาจไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นการบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

“งานบ้านจะอยู่ในกลุ่มที่เราเรียกว่างานจ้างที่ไม่แสวงกำไรทางธุรกิจ ฉะนั้นโดยเนื้อตัวของเขาเองการมีลูกจ้างงานบ้านแล้วบังเอิญบ้านนั้นเป็นหน่วยธุรกิจ เป็นสำนักงานหรือร้านค้า พยายามต้องแยกแยะ อย่าให้ลูกจ้างทำงานบ้านลงไปรวมอยู่ในงานร้านค้าหรืองานสำนักงาน ไม่เช่นนั้นวัตถุประสงค์ทั้งหมดมันจะเปลี่ยน” ผู้แทนสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนนทบุรี กล่าว

ขณะที่ สุนทรี วิลาทอง จัดหางานจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า ลูกจ้างทำงานบ้านไม่อยู่ในกลุ่มที่ต้องเข้าระบบประกันสังคม แต่ด้วยความที่รัฐต้องการให้แรงงานมีหลักประกัน จึงมีช่องทางการซื้อบัตรประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลของรัฐ อย่างไรก็ตาม ทางฝั่งนายจ้างมองว่าการซื้อกับ รพ.รัฐ มีข้อจำกัด มีเงื่อนไขต่างๆ นานา และใช้เวลาทำบัตรค่อนข้างนาน จึงมีนายจ้างส่วนหนึ่งหันไปทำประกันกับ รพ.เอกชน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็จำกัดว่าต้องเป็น รพ.รัฐ เท่านั้น ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามแก้ไข เช่น ให้ซื้อประกันเอกชนไปก่อนในช่วงใกล้ถึงครบกำหนดการต่ออายุการทำงานของลูกจ้าง แล้วค่อยไปรอคิว รพ.รัฐอีกครั้ง แต่ก็จะมีนายจ้างมองอีกว่าตนเองต้องเสีย 2 ต่อ ทั้งเอกชนและรัฐ ล่าสุดมีการผ่อนปรนก่อนวันที่ 15 พ.ค. 2566ให้นายจ้างยื่นเรื่องมาก่อนโดยยังไม่ต้องมีประกันสุขภาพของ รพ.รัฐ แล้วค่อยไปเข้าคิวซื้อประกันทีหลัง ส่วนข้อเสนอของนายจ้างที่ขอให้รัฐรับรองประกันสุขภาพจาก รพ.เอกชน เบื้องต้นยังไม่มีเรื่องนี้เข้ามา

“เรื่องนี้ขอรับไว้แล้วจะเสนอผู้บริหาร เพราะกำลังจะมองว่า ถ้าเกิดไม่ว่าโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ถ้าเกิดรับขึ้นประกันสุขภาพได้ ทางเรามองว่ามันก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ได้ให้มีหลักประกันให้กับลูกจ้างแค่นั้นเอง” สุนทรี กล่าว

อีกด้านหนึ่ง บุญสม น้ำสมบูรณ์ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet Thailand) กล่าวถึงคู่มือ “จรรยาบรรณในการจ้างลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย” ว่าคู่มือนี้มีที่มาจากการหารือร่วมกันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เครือข่ายลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย

กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ รวมถึงภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง จนออกมาเป็นคู่มือที่ระบุแนวปฏิบัติที่ดี แบ่งเป็นฝ่ายนายจ้าง ประกอบด้วย 1.สัญญาจ้าง ควรทำในรูปแบบเอกสารลายลักษณ์อักษรแม้จะสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้ก็ตาม 2.ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เวลาพัก แม้จะไม่มีกฎหมายกำหนดแต่ก็ไม่ควรจะน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ทำงานไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ ไม่รวมเวลาพัก ไม่ลงโทษด้วยการหักค่าจ้างเกินความจำเป็น 3.ที่พัก ต้องเป็นสัดส่วน สะอาด ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย

4.ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าด้วยเหตุด้านถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ สีผิวศาสนา เพศ ฯลฯ 5.การลาคลอด ทำได้โดยได้รับค่าจ้าง รวมถึงเปิดให้ลูกจ้างชายลาไปช่วยภรรยาดูแลลูกได้ด้วย 6.โอกาสในการพัฒนาอาชีพและการศึกษา 7.การคุ้มครองความภัยและอาชีวอนามัย 8.สิทธิความเป็นส่วนตัว เช่น การนับถือศาสนา การเก็บสิ่งของมีค่าของตนเองไว้ด้วยตนเอง 9.หลักประกันทางสังคม โดยเฉพาะหากทำให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าถึงประกันสังคม หรือสวัสดิการอื่นๆ ที่รัฐจัดให้ และ 10.การเลิกจ้าง จ่ายเงินช่วยเหลือตามความเหมาะสมหากเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด

บุญสมกล่าวต่อไปว่า ขณะที่ข้อควรปฏิบัติของฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ 1.รับผิดชอบในหน้าที่การงานตามที่ได้รับมอบหมาย 2.ซื่อสัตย์สุจริต 3.มีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้าง 4.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของนายจ้างและสมาชิกในครอบครัว 5.ปกป้องทรัพย์สินของนายจ้าง 6.มีวินัย ปฏิบัติตามกฎและคำสั่งที่เป็นธรรมของนายจ้าง รวมทั้งข้อตกลงตามสัญญาจ้าง 7.เรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 8.สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีกับนายจ้าง และ9.มีมารยาท สุภาพเรียบร้อย

“วัตถุประสงค์ในการทำจรรรยาบรรณฉบับนี้ เราก็มองเพื่อให้เห็นแนวปฏิบัติที่เป็นธรรมกับการจ้างลูกจ้างทำงานบ้าน คำว่าเป็นธรรมก็จะหมายถึงทั้ง 2 ฝ่าย ก็คือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง วัตถุประสงค์อันที่ 2 ที่เราทำจรรยาบรรณอันนี้ขึ้นมา ก็เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อันที่จริงแล้วความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างทำงานบ้านกับนายจ้างของเรามันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คือถ้ามีความรู้สึกที่ดีต่อกันการอยู่ด้วยกันก็จะมีความสุข ส่วนประการที่ 3 เราก็อยากส่งเสริมให้ลูกจ้างทำงานบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” บุญสม กล่าว

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ยังกล่าวอีกว่า จากการพูดคุยทั้งหมดจนผลักดันกลายเป็นคู่มือจรรยาบรรณฉบับนี้ มีความคาดหวังให้เกิดการณรงค์เพื่อให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้ปฏิบัติตาม โดยผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านและดาวน์โหลดคู่มือได้ที่ Link เว็บไซต์ https://www.homenetthailand.org/archives/2304


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

สมุทรสาครป่วน! จ่อแจกใบแดงซื้อเสียง เลือกตั้งนายกเล็ก

ไปอีก 2!‘อุตตม-สนธิรัตน์’ลา‘บิ๊กป้อม’ไขก๊อกสมาชิกพรรค‘พปชร.’

ยอดขายร่วง! 'นิสสัน'เตรียมปลดพนักงาน 2 หมื่นชีวิตทั่วโลก

อึ้งไปเลย! แฟนคลับกา 660 แต้ม เลือก‘ผู้สมัครสท.แก๊งค้ายา’พรรคส้ม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved