วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘อีไอเอ’ไม่จริงใจ!..ไปต่อยาก บทเรียนโครงการ‘ผันน้ำยวม’

สกู๊ปแนวหน้า : ‘อีไอเอ’ไม่จริงใจ!..ไปต่อยาก บทเรียนโครงการ‘ผันน้ำยวม’

วันพฤหัสบดี ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“อีไอเอ (Environmental Impact Assessment-EIA)” หรือ “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” ซึ่งคำอธิบายของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ระบุว่า เป็นการประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง โดยการจัดทำ EIA ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ

1.ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง 2.ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่มีต่อระบบนิเวศ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น 3.คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน และ 4.คุณค่าต่อคุณภาพชีวิตศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม


นั่นคือวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการทำEIA อย่างที่ควรจะเป็น แต่ในความเป็นจริง โครงการพัฒนาขนาดใหญ่หลายครั้งมักปรากฏเป็นข่าวว่า “EIA เป็นเพียงพิธีกรรม” ไม่ได้ทำกันอย่างครบถ้วนรอบด้าน ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบและไม่ได้รับการเยียวยา นำไปสู่ “ความขัดแย้งและไม่ไว้วางใจ” ระหว่างรัฐ (และ/หรือเอกชน) ที่พยายามผลักดันโครงการ กับประชาชนที่สุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบดังตัวอย่าง “โครงการผันน้ำยวม” ที่เพิ่งจัดกิจกรรมแสดงพลังคัดค้าน เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมาณ อุทยานแห่งชาติแม่เงา ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

ตลอดงานมีชาวบ้านผลัดเปลี่ยนมาบอกเล่าวิถีชีวิตการอยู่อาศัยและการทำมาหากิน อาทิ ตัวแทนชุมชนบ้านแม่เงา ระบุว่า คนในชุมชนไม่มีพื้นที่ทำกิน แต่ได้อาศัยพึ่งพิงประโยชน์จากป่าตลอดมา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.ยอดดอย หรือยอดเขา มีเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดไข่ห่าน เห็ดไข่เหลือง เห็ดหูหนู 2.สันดอย หรือตั้งแต่ตอนกลางของภูเขาลงมามีหัวบุก หัวกระชาย หน่อไม้ และ 3.ริมน้ำ มีผักกูด รวมถึงพืชสมุนไพรอย่าง ใบหนาด ทั้งนี้ ด้วยความที่ชาวบ้านต้องพึ่งพาทรัพยากรจากป่า จึงช่วยกันอนุรักษ์ป่าไปพร้อมกันด้วย เช่น การทำแนวกันไฟป่า

ด้านชาวบ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เล่าว่า ชุมชนเคยอพยพโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่มาแล้วหนหนึ่งเมื่อกว่าครึ่งศตวรรษก่อนเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ปัจจุบันชาวบ้านมีอาชีพหลักคือการทำสวนลำไย มีการลงทุนติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากห้วยแม่งูด โดยใช้ระบบ “บ่อบาดาลน้ำตื้น” หมายถึงห้วยแม่งูดมองผิวเผินเหมือนไม่มีน้ำ แต่ลึกลงไปไม่มากนัก เพียง 10-20 เซนติเมตรก็จะเริ่มเจอน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกห้วยแม่งูดว่า “ธนาคารน้ำ”นอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงวัว ซึ่งทั้งลำไยและมูลวัวถือเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของชุมชน มีพ่อค้ามารับซื้อเป็นประจำ

ยอดชาย พรพงไพร นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า มีโอกาสได้เข้าไปร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการผันน้ำยวม อันเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการทำ EIA แล้วพบความไม่ถูกต้องของกระบวนการ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงจัดงานเผยแพร่ข้อเท็จจริงออกสู่ภายนอกอย่างต่อเนื่องทุกปี ว่ามีกี่ชุมชน-กี่ครัวเรือน ที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำเงาบ้าง และยืนยันว่า “การสร้างเขื่อนในโครงการผันน้ำยวมนั้นไม่คุ้มค่าและขอให้ยกเลิก” เมื่อเทียบกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ถูกน้ำท่วม

“สิ่งหนึ่งที่ผมเข้าไปในเวที มีการคุยในพื้นที่มีปัญหาอะไรหรือไม่ ผมก็ได้เข้าไปคุยว่าชาวบ้านกังวลแต่ละเรื่องๆ แต่สิ่งที่ได้รับคำตอบคือผลกระทบของการผันน้ำตรงนี้แค่ 4 ครัวเรือน ผมก็ยกมือถามว่าคุณสำรวจปีไหน? ย้อนกลับมาที่บอกกระทบ 4 ครัวเรือน คนที่ประมูลงานบริษัท 7 หมื่นกว่าล้าน เขาจะไปขอเงินมาให้ครัวเรือนละล้าน เขาว่าขอได้จากบริษัทที่ประมูลงานถ้าไม่ได้ท่านประธานจะควักกระเป๋าคนเดียว 4 ล้าน” นายก อบต.แม่สวด กล่าว

ผศ.ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวบ้านไม่รู้เรื่องโครงการผันน้ำยวมกระทั่งรายงาน EIA ผ่านไปแล้ว อีกทั้งตอนจัดเวทีชี้แจงกับชาวบ้านก็ใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง ไม่ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอย่างเพียงพอ ทั้งที่ยิ่งเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่รัฐยิ่งต้องใส่ใจกับความเห็นของชาวบ้านให้มาก

“ในรายงาน EIA บอกว่าใช้วิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาชาติพันธุ์วรรณา แต่ปรากฏว่าบริบททางสังคมวัฒนธรรมไม่มี แม้แต่บ้านแม่งูดที่ชาวบ้านปลูกลำไยเป็นเศรษฐกิจรายได้หลัก แต่รายงาน EIA บอกว่าชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในการปลูกลำไย บอกแค่นี้! จริงๆ ในทางวิชาการถ้าคุณใช้วิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาและการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา มันต้องมีข้อมูลที่หนักแน่น เป็นข้อมูลที่มาจากพื้นที่จริงๆ” ผศ.ดร.มาลี ระบุ

หาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงปัญหาของโครงการผันน้ำยวมไว้หลายประการ เช่นชาวบ้านลงทุนติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6-7 หมื่นบาทต่อเครื่อง สำหรับทำสวนลำไย แต่โครงการหากเกิดขึ้นต้องขุดลอกเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร สิ่งที่เกิดขึ้นคือชาวบ้านจะไม่สามารถใช้พื้นที่นั้นสูบน้ำได้อีก

อีกทั้งกฎหมายบริหารจัดการน้ำ การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ(ในที่นี้คือจากลุ่มน้ำสาละวินไปลุ่มน้ำปิง) จะต้องหารือผลกระทบและต้องได้รับความยินยอมจากทั้ง 2 ลุ่มน้ำ แต่ก็ไม่มีกระบวนการดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงหลายเรื่องที่ไม่ถูกให้ความสำคัญใน EIA เช่น การขุดอุโมงค์ผันน้ำที่ต้องนำดินจำนวนมากขึ้นมากองพะเนินด้านบน คำถามคือชุมชนที่อยู่ด้านล่างจะเป็นอย่างไร? หรือการตั้งแคมป์คนงานก่อสร้าง จุดจอดรถและถ่ายน้ำมันเครื่อง ก็ไม่มีการพูดถึงมาตรการลดผลกระทบจากเรื่องนี้ เป็นต้น

“ข้อมูลที่เอามาใช้ เขาเอาข้อมูลเมื่อ 40 ปี 20 ปีที่แล้ว แต่ข้อมูล ณ ปัจจุบันไม่มีการเก็บ สถิติน้ำมันเปลี่ยนไป น้ำมันน้อยลงไปกว่าเดิมไม่เหมือนเมื่อก่อน มันจะมากคือช่วงน้ำหลาก แต่เวลาน้ำแล้งมันจะต่ำลงไปเยอะ โขดหินโขดทรายปีนี้กับปีที่แล้วก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นผมคิดว่านี่คือความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำ ของสถิติน้ำ แต่ยังใช้สถิติน้ำเดิม อย่างนี้เรียกว่าไม่มีวิชาการแล้ว ไม่ได้เอาวิชาการมาใช้” หาญณรงค์ กล่าว

ข้างต้นนี้คือเรื่องของโครงการผันน้ำยวม แต่หากมองให้ไกลกว่านั้น การที่ผู้มีอำนาจเห็น EIA เป็นเพียงพิธีกรรมเพื่อให้เป็นไปตามธงที่ตนเองตั้งไว้โดยไม่ใส่ใจผลกระทบต่อคนเล็กคนน้อยอย่างมากพอ ก็อาจทำให้ชุมชนอื่นๆ ที่รับรู้ข่าวสารกังวลและตั้งธงคัดค้านไว้ก่อนได้เช่นกันเมื่อโครงการมีพัฒนาขนาดใหญ่ย่างกรายเข้ามา และหากทุกชุมชนต่างกังวล ก็ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย

เปลี่ยนวิธีคิดสู่ความ “จริงใจ” ตั้งแต่ต้น..คือหนทางให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้ และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ด่วน!! 'จอน อึ๊งภากรณ์'เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 77 ปี

ลูกค้าสายลับ! เชียงรายจับค้ามนุษย์ หมอนวดต่างด้าวเพียบ-แฝงขายบริการ

สมุทรสาครป่วน! จ่อแจกใบแดงซื้อเสียง เลือกตั้งนายกเล็ก

ไปอีก 2!‘อุตตม-สนธิรัตน์’ลา‘บิ๊กป้อม’ไขก๊อกสมาชิกพรรค‘พปชร.’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved