วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : จาก‘โค้ดดิ้ง’ถึง‘วิธีคิด’  ปรับสร้างเพื่อรับยุคดิจิทัล

รายงานพิเศษ : จาก‘โค้ดดิ้ง’ถึง‘วิธีคิด’ ปรับสร้างเพื่อรับยุคดิจิทัล

วันอาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

ผ่านพ้นไปแล้วกับงาน “CODING ERA: The Next Wave of Thailand’s Education ยุคโค้ดดิ้ง : คลื่นลูกใหม่แห่งการศึกษาไทย” จัดโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ บริษัท โค้ด คอมแบท (SEA) จำกัด กรุงเทพมหานคร (กทม.) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริษัท Thermaltake จำกัด ระหว่างวันที่ 17-18 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หนึ่งในนั้นคือการสะท้อนมุมมองของผู้บริหารองค์กรรวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพหลากหลายแขนง ว่าด้วยการพัฒนาการศึกษาและทักษะคนไทยให้ตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล ในช่วงที่จัดโดย Obama Foundation Leader Asia Pacific อาทิ สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ผู้ก่อตั้ง Saturday School ส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านการดึงทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมพัฒนา กล่าวว่า แม้ในช่วง 2-3 ปีล่าสุดจะมีความพยายามนำหลักสูตร “โค้ดดิ้ง (Coding)” เข้าไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ แต่ความท้าทายคือทำอย่างไรจะทำให้ครูซึ่งเติบโตมาในโลกยุคอนาล็อกสามารถสอนโค้ดดิ้งได้ และจะทำอย่างไรให้เด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์สามารถเรียนรู้เรื่องนี้ได้


ซึ่งเท่าที่เห็นคือมีความพยายามสอนในลักษณะ Unplugged Coding หรือการสอนโค้ดดิ้งโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ แต่เป็นการฝึก “การคิดเชิงตรรกะ (Logic)” จากกิจวัตรประจำวัน เช่น เช้าวันนี้ตื่นนอน ก่อนไปโรงเรียนต้องทำอะไรบ้าง ให้เรียงลำดับขั้นตอนมา ส่วนโรงเรียนที่มีความพร้อมก็สอนโค้ดคิ้งกันอย่างจริงจังมากขึ้น มีการนำเครื่องมือเข้าไปช่วย แต่ก็ยังพบการเรียนการสอนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนโรงเรียนทั้งประเทศ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมนั้นโลกพัฒนาไปไกลมาก นอกจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) แล้วยังมีควอนตัม (Quantum) ที่กำลังมา

กรวุฒิ ลาภปรารถนา ผู้ก่อตั้ง บริษัท เทคอัพ ทาเลนท์ จำกัด ฝึกอบรมทักษะ Coding สำหรับผู้สนใจเปลี่ยนมาเข้าสายงานนี้(เช่น โปรแกรมเมอร์) กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญแต่กลับไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนักคือ “ความกล้าลองผิดลองถูก” ยกตัวอย่างการขี่จักรยาน ต้องเริ่มจากการกล้าที่จะขี่และไม่กลัวที่จะล้ม เช่นเดียวกับการเรียนโค้ดดิ้งที่ตอนเริ่มหัดเขียนโค้ดย่อมต้องมีการเขียนผิด (Error) ซึ่งก็ต้องปรับแก้กันไป หากทำให้คนมีวิธีคิด (Mindset) ว่าลองทำแล้วผิดก็ไม่เป็นไรแล้วลงมือแก้ไขกันใหม่ แบบนี้ก็จะไปได้เร็วมาก เพราะการล้มก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

อลิสา นภาทิวาอำนวย ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Socialgiver ส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและยังได้ช่วยเหลือสังคม กล่าวถึง แพลตฟอร์มที่ก่อตั้งไม่ได้มีความล้ำในเชิงเทคโนโลยี แต่ตีโจทย์เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ (Human Behavior) หรือพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น “หลายคนอยากสมัครงานด้านการตลาด มีความเป็นครีเอทีฟ อยากแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเน้นสร้างความประทับใจ (Impress) กับ CEO (ผู้บริหาร) แต่ให้เน้นไปที่การชนะใจผู้บริโภค ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอ่านข้อมูล (Data) เป็น” เรื่องนี้เป็นพื้นฐาน ซึ่งการตัดสินใจไม่ได้ใช้เพียงความรู้สึก แต่เป็นการตีโจทย์ ถามคำถามที่ดี ใช้ข้อมูลให้เป็น มีวิธีหาข้อมูลที่พลิกแพลงมากขึ้น และมีความยืดหยุ่น

อธิป ตันติวรวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ซึ่งมีภารกิจขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านพลังงาน กล่าวว่า หากแบ่งทักษะเป็น 2 ด้าน คือ “Hard Skill” (ความรู้ทางวิชาการ-เทคนิคที่ใช้ในการทำงานต่างๆ) คำถามคือปัจจุบันประเทศไทยมีการเรียนการสอนเรื่องพลังงานหมุนเวียน (Renewable) แล้วหรือยัง? เพราะเรื่องนี้น่าจะเป็นภาคส่วนหลักของตลาดพลังงานในอนาคต หรือเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) ก็เป็นอีกกระแสที่กำลังมา ประเทศไทยก็น่าจะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้

ขณะที่ “Soft Skill” (ทักษะทางสังคม เช่น วิธีคิด บุคลิกภาพ) สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา (Learn & Relearn)” เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น สิ่งที่เคยเรียนเมื่อ 5 ปีก่อนมาวันนี้อาจจะใช้ไมได้แล้ว แต่ละคนจึงต้องมองความเปลี่ยนแปลง มองเห็นทักษะที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ทักษะนั้นมาใช้ได้เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจ

พิน เกษมศิริ Business Development and Partnership Lead ของ Generation Thailand เชื่อมร้อยการศึกษากับโลกของการทำงาน กล่าวว่า จากที่เคยทำการสำรวจซึ่งต้องพูดคุยกับภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการพบปัญหา 1.ไม่มีคนทำงาน 2.มีคนทำงานแต่ไม่มีคุณภาพ และ 3.คนมีคุณภาพไม่อยู่ในองค์กรเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีมีการซื้อตัวบุคลกรสูงมาก

อย่างไรก็ตาม ในการสร้างหลักสูตรแม้จะให้ความสำคัญกับความรู้เชิงเทคนิค แต่ก็ต้องเน้นเรื่องพฤติกรรมหรือวิธีคิดด้วย เช่น คนจะเรียนโค้ดติงได้ “วิธีคิดที่เอื้อต่อการเติบโต (Growth Mindset)” นั้นสำคัญ เพราะระหว่างเรียนอาจมีวันที่ไม่ไหวจริงๆ หรือวันที่ต้องก้าวข้ามอุปสรรค ภารกิจของ Generation จึงไม่ได้สอนเฉพาะความรู้เชิงเทคนิคเท่านั้น เนื่องจากเท่าที่เคยพูดคุยกับผู้ประกอบการ ได้รับเสียงสะท้อนกลับมาว่า แม้จะมีความรู้ในเชิงเทคนิค หากไม่มีวิธีคิดที่ดีไปทำงานก็ไม่ประสบความสำเร็จ

อมฤต เจริญพันธ์ M.P.Techstars All-Stars Community Builder กล่าวว่า คำถามที่มักพูดกันเสมอคือ 1.จะหาคนเก่งได้ที่ไหน?กับ 2.จะทำให้คนเก่งอยู่กับองค์กรไปนานๆ ได้อย่างไร? เพราะความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีนั้นสูงมาก ซึ่งสตาร์ทอัพจะทำให้ความคิด-ความฝัน กลายเป็นความจริงได้จำเป็นต้องมีคนมาสร้างนวัตกรรมให้ เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจ ส่วนเรื่องความพร้อมที่จะเรียนรู้หรือฝึกทักษะใหม่ๆ (Relearn & Reskill)ผู้นำหรือผู้ประกอบการที่ดีต้องทำเป็นแบบอย่างขององค์กร

อคิราภ์ วงศ์วรรณ ผู้ร่วมก่อตั้ง Adam Aarom Advisory บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน มีภารกิจหาแหล่งทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SME) ไทย กล่าวว่า“การศึกษาไทยยังเป็นการเรียนการสอนแบบแยกส่วน (Silo) เช่น วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษา ฯลฯ แต่ขาดการเชื่อมโยงกัน” ทั้งที่ในชีวิตจริง การแก้ปัญหาต้องใช้ความรู้หลายอย่างมาประกอบกันเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ จึงควรปรับปรุงการศึกษาให้สามารถประยุกต์เข้ากับการใช้งานในชีวิตจริง รวมถึงสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดหรือโลกว่าไปถึงไหนแล้ว

ส่วนการ Relearn & Reskill มีตัวอย่างจากที่ทำอยู่ 3 ข้อในองค์กร คือ 1.หาเวลาให้แต่ละคนได้เล่าว่าไปเจอเรื่องอะไรใหม่ๆ มาบ้าง อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับงานก็ได้ เช่น รถตุ๊กตุ๊กพลังงานไฟฟ้า รถเมล์สายใหม่ ฯลฯ เป็นการฝึกปฏิบัติ (Workshop) ให้คุ้นเคยว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 2.บอกเล่าเรื่องความล้มเหลว (Fail) แต่ไม่ใช่การซ้ำเติมหากเป็นการเสริมพลัง (Empower) เพื่อสร้างนิสัยไม่กลัวความล้มเหลว และ 3.ทำให้แต่ละคนเข้าใจตนเองก่อน(Self Awareness) หากใจยังไม่นิ่ง ยังเปลี่ยนไป-มา ก็ยากที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ได้อีกทั้งยังเกิดความเครียดด้วย!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

กรมประมง-เร่งเสริมศักยภาพ ‘การเพาะเลี้ยงม้าน้ำ’ สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่าสูง

สลด!ลุงตั้งใจกลับบ้านมาเลือกตั้ง ขับซาเล้งตกคันนาทับคอดับกลางทุ่ง

พยาบาลคนดังมาตอบแล้ว! ดราม่า'ณเดชน์'หอบหืด แต่วิ่งจนซิกแพคขึ้น

'น้าแพน'เชื่อมีคนยุยงเบื้องหลังพ่อ-น้องชายปมมรดก 4.8 ล้าน 'ทนายไพศาล'ลุยช่วยคดี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved