วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า :  ‘บำนาญแห่งชาติ’ดูแลสูงวัย  (1)เหตุผลที่ไทยจำเป็นต้องมี

สกู๊ปแนวหน้า : ‘บำนาญแห่งชาติ’ดูแลสูงวัย (1)เหตุผลที่ไทยจำเป็นต้องมี

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

การเมืองไทยเข้าสู่ช่วงแข่งขันแบบเต็มสูบ หลังมีการยุบสภาเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ตามด้วยการประกาศวันเลือกตั้งใหญ่ หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในวันที่ 14 พ.ค. 2566 ซึ่งบรรดาพรรคการเมืองก็คงเพิ่มความเข้มข้นในการหาเสียงมากขึ้น หลังจากที่ได้เริ่มไปบ้างแล้วในช่วง 2-3 เดือนล่าสุด โดยเฉพาะการ “เปิดนโยบาย” แบบ “เกทับ” พรรคหนึ่งให้เท่านี้ อีกพรรคให้มากกว่า และต่อมาก็มีพรรคที่ให้มากขึ้นไปอีก

“ผู้สูงอายุ” ก็เป็นอีกกลุ่มเป้าหมายทางคะแนนเสียงของพรรคการเมือง เพราะหากดูข้อมูลที่เปิดเผยโดย กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะพบว่า ณ สิ้นปี 2565 ประเทศไทยมีประชากรสูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 12,519,926 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 18.94 ของประชากรทั้งหมด 66,090,475 คน ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว ยังไม่ต้องนับเรื่องของ “สังคมสูงวัย” ที่จำนวนผู้สูงอายุจะยังคงเพิ่มขึ้นไปอีกในหลายปีข้างหน้าหลังจากนี้ และรวมถึง “ลูกหลาน” ประชากรวัยแรงงานที่ต้องดูแลพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ที่แก่ชรา


เพราะในปัจจุบันผู้สูงอายุมีสิทธิ์ได้รับ “เบี้ยยังชีพ” แบบขั้นบันได เช่น 600 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 60-69 ปี, 700 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 70-79 ปี,800 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 80-89 ปี และ 1,000 บาทต่อเดือน เมื่ออายุ 90 ปีขึ้นไป นั้นต้องยอมรับว่า“ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ” กลายเป็นภาระของลูกหลานที่ต้องส่งเงินมาเลี้ยงดูทั้งที่ควรจะได้เก็บออมเงินสร้างเนื้อสร้างตัวของตนเอง แต่คำถามคือ “นโยบายเกทับทั้งหลายจะหาเงินจากไหนมาจ่าย?” ไม่ว่าจะเป็นพรรคที่เสนอเพิ่มเป็น 1,000 บาท หรือ 3,000 บาทในทุกช่วงอายุ หรือบ้างก็จ่ายตั้งแต่ 3-5 พันบาท ตามช่วงอายุก็ยังมี

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 23 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ได้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” โดยมีอาจารย์ 2 ท่านจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล และ ดร.ทีปกรจิร์ฐิติกุลชัย เป็นผู้บรรยาย

ผลการสำรวจนี้ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคลัง เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และความคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ตลอดจน
ถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องระบบบำนาญแห่งชาติ ทั้งภาคการเมือง นักวิชาการ ข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมสื่อและคนรุ่นใหม่ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแบ่งประเด็นได้ดังนี้

1.ความครอบคลุมและเพียงพอ ในภาพรวมมีความเห็นตรงกันว่า “สวัสดิการผู้สูงอายุในปัจจุบันแม้ครอบคลุมแต่ไม่เพียงพอ แต่มีข้อถกเถียงกันในนิยามคำว่าถ้วนหน้านั้นควรรวมกลุ่มข้าราชการด้วยหรือไม่” ซึ่งภาควิชาการและภาคประชาสังคมย้ำความสำคัญของคำว่าถ้วนหน้าเพราะกังวลเรื่องผู้สูงอายุตกหล่นเข้าไม่ถึง อีกทั้งควรมีการปรับ “เส้นความยากจน” อยู่เป็นระยะๆ

ขณะที่ภาคราชการประจำมองว่าหากวัดตามเส้นความยากจน เบี้ยยังชีพอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ และควรพิจารณารวมสวัสดิการต่างๆ ของรัฐเข้าด้วยกัน เช่น การรักษาพยาบาล ด้านภาคธุรกิจเห็นว่า ความเพียงพอขึ้นอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยด้วย และภาคการเมืองมองว่า การให้เบี้ยยังชีพไม่ใช่การทำให้สุขสบายจนไม่ต้องทำอะไร แต่ให้พอมีพอกินและให้คนสามารถไปทำในสิ่งที่อยากทำได้มากขึ้น

2.บำนาญแห่งชาติกับการออมเพื่อชราภาพ ในภาพรวมเห็นว่าควรแบ่งสวัสดิการเป็น 3 ชั้น เป็นขั้นพื้นฐาน ขั้นที่ได้จากการทำงาน และส่วนเพิ่มจากการออม-การลงทุน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ภาควิชาการเห็นว่า ระบบบำนาญร่วมจ่ายควรเป็นแบบถ้วนหน้าและบังคับ เพราะการออมคือการลงทุนระยะยาวในมนุษย์ อีกทั้งระบบบำนาญแห่งชาติจะแรงจูงใจให้แรงงานเข้าสู่ระบบ แต่ภาคประชาสังคมแย้งว่า บำนาญแห่งชาติควรเป็นสวัสดิการพื้นฐาน เพราะแม้บางคนจะมีวินัยแต่ก็ไม่มีเงินเหลือพอจะออมได้

ด้านฝ่ายราชการประจำรวมถึงท้องถิ่น เห็นว่าวินัยการออมทำให้คนมีศักดิ์ศรีเพราะไม่ได้แบมือขอใคร ส่วนภาคธุรกิจแม้เห็นว่าประชาชนควรมีตาข่ายรับรองความปลอดภัย (Safety Net) แต่ก็ต้องมีการออมภาคบังคับด้วยเพื่อสะสมทุนของตนเอง และฝ่ายการเมืองไม่ปฏิเสธระบบำนาญแบบร่วมจ่ายและสามารถทำควบคู่ไปกับบำนาญแบบไม่ร่วมจ่ายก็ได้ แต่การให้ร่วมจ่ายเพียงอย่างเดียวนั้นน้อยและสายเกินไป (Too Little Too Late)

3.การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุ มีข้อถกเถียงระหว่างการจัดทำกฎหมายใหม่กับการปรับปรุงกฎหมายเดิม และ 4.หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนระบบบำนาญแห่งชาติ แม้จะเห็นตรงกันว่าควรมีหน่วยงานใหม่ขึ้นมาทำงานเรื่องนี้ แต่ก็มีความเห็นต่างกันในเชิงรายละเอียด เช่น ภาควิชาการกลุ่มหนึ่งมองว่าควรเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง แต่อีกกลุ่มเห็นว่าควรเป็นองค์กรกึ่งอิสระ

หรือภาคธุรกิจเอกชนก็มองว่าควรเป็นหน่วยงานที่ดึงผู้มีส่วนได้-เสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ขณะที่ในกลุ่มข้าราชการ หากเป็นข้าราชการประจำ (ยังทำงานอยู่) เห็นว่าควรเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง แต่หากเป็นข้าราชการบำนาญ (เกษียณแล้ว) จะเห็นว่าควรเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ด้านฝ่ายการเมืองมองว่า พม. ควรเป็นเจ้าภาพหลักและควรเป็นกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มด้วย เป็นต้น

“ทำไมต้องมีระบบบำนาญแห่งชาติ?” ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจของประชากรผู้สูงอายุและกลุ่มวัย 40-59 ปี ซึ่งเป็นคนรุ่น“สึนามิประชากร” หมายถึงอยู่ในยุคสมัยที่ไทยมีประชากรเกิดปีละ 1 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต มีความเปราะบางต่อความยากจนสูง ส่วนมากไม่มีความสามารถในการออม เมื่อพิจารณาจากรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน ในขณะที่คนวัยแรงงานมีรายได้เติบโตไม่ทันค่าครองชีพ

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า “ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงอันดับต้นๆ ของโลก” โดยผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 35 ปีล่าสุด ครัวเรือนระดับล่างได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในสัดส่วนที่น้อย ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ แรงงานไทยได้รับค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะค่าจ้างไม่สามารถเติบโตได้ทัน GDP ทั้งที่ผลิตภาพแรงงาน (ความสามารถในการทำงาน) นั้นเติบโตเร็วกว่า GDP

ดังนั้น “อนาคตประเทศไทยเผชิญความเสี่ยงวิกฤตความยากจนในผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม” อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับระบบบำนาญแห่งชาติ ได้แก่ การขยายฐานภาษี และการปฏิรูประบบงบประมาณ ซึ่งจะได้นำเสนอในตอนต่อไป (ฉบับวันเสาร์ที่ 1 เม.ย. 2566)!!!

หมายเหตุ : ดูรายงานได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1SLH79viRq6fQw4o6g6LDh3L2W7Rzi890

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

อึ้งไปเลย! แฟนคลับกา 660 แต้ม เลือก‘ผู้สมัครสท.แก๊งค้ายา’พรรคส้ม

รวบนักค้ารายย่อย! สั่งซื้อยาบ้าในเฟสบุ๊ค เดลิเวอรี่ส่งถึงที่

'อนุทิน'โพสต์ขอบคุณ'พีระพันธุ์'เยี่ยมไข้ เผยคุยกันนานจนพยาบาลต้องจับแยก

‘ปทุมธานี’ระอุ!‘สส.ฟลุ๊ค’พี่ชายลูกพีช โพสต์เดือด‘...ไม่กลัวมึง ไอ้ J’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved