วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘บำนาญแห่งชาติ’ดูแลสูงวัย  (จบ)เก็บภาษีแบบไหนรับได้?

สกู๊ปแนวหน้า : ‘บำนาญแห่งชาติ’ดูแลสูงวัย (จบ)เก็บภาษีแบบไหนรับได้?

วันเสาร์ ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ยังคงอยู่กับรายงานผลการศึกษาโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ช่องว่างทางการคลัง แหล่งรายได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ การเมืองของการจัดตั้งระบบบำนาญแห่งชาติ โดยคำนึงถึงผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อผู้สูงอายุ” ซึ่งจัดทำโดย ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดูรายงานได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1SLH79viRq6fQw4o6g6LDh3L2W7Rzi890

หลังจากตอนที่แล้ว (หน้า 5 ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 30 มี.ค. 2566) ว่าด้วยเรื่องความจำเป็นของการมีระบบบำนาญแห่งชาติของผู้สูงอายุในประเทศไทย รวมถึงมุมมองจากหลายภาคส่วนทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ว่าระบบดังกล่าวควรมีลักษณะอย่างไร ส่วนฉบับนี้จะว่าด้วยข้อเสนอเรื่อง “แหล่งรายได้” ที่จะนำมาใช้ขับเคลื่อนระบบบำนาญแห่งชาติให้เกิดขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย


“การปฏิรูประบบงบประมาณ” มีข้อเสนอ 1.จัดหมวดหมู่งบประมาณใหม่และลดรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพ เช่น รวบรวมงบด้านสวัสดิการที่กระจัดกระจายมาจัดสรรใหม่ในรูปสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ปรับลดรายจ่ายด้านกลาโหมและการป้องกันประเทศ เพิ่มงบลงทุนด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ 2.เพิ่มบทบาทสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสำนักงบประมาณของฝ่ายบริหาร จัดสรรให้มีงบประมาณทางเลือก (Alternative Budget)

เปิดช่องทางให้มีการสำรวจเสียงสะท้อนของประชาชนว่าต้องการให้จัดสรรงบประมาณในรูปแบบใด และ 3.จัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ออกแบบโครงสร้างระบบงบประมาณโดยกันเงินส่วนหนึ่งให้ประชาชนมีส่วนในการใช้เงินโดยตรง ในระยะเริ่มต้นอาจเริ่มทำแบบ Sandbox กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)เพราะมีขนาดไม่ใหญ่มาก และสามารถสะท้อนเสียงประชาชนได้ทั่วถึง

กับ “การขยายฐานภาษี” ซึ่งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างในผลการศึกษานี้ พบ 3 อันดับแรก “ภาษีธุรกรรม(Financial Transaction Tax หรือ Capital Gains Tax)” เช่นจากการซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นภาษีที่กลุ่มตัวอย่างสนับสนุนให้เก็บมากที่สุด เพราะทำได้ง่ายและกฎหมายภาษีที่มีอยู่ก็รองรับ แต่ก็มีข้อกังวลเรื่องการทำลายการแข่งขันในตลาดทุน รวมถึงอาจมีการโยกย้ายเงินไปลงทุนในแหล่งที่มีผลตอบแทนสูง

รองลงมาคือ “ภาษีเงินได้” และไม่มีข้อกังวล โดยในกลุ่มนิติบุคคล เช่น ลดสิทธิประโยชน์ภาษี BOI ปรับปรุงสิทธิประโยชน์การหักค่าใช้จ่ายที่กำกวมซ้ำซ้อน ลดแรงจูงใจในการวางแผนภาษีของกลุ่มทุน ส่วนกลุ่มบุคคลธรรมดา เช่น สนับสนุนให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบภาษี (จากปัจจุบันที่มักจะยื่นกันเฉพาะผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี) โดยใช้แนวคิด Negative Income Tax (รัฐจ่ายเงินให้สำหรับคนมีงานทำแต่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี) มาสร้างแรงจูงใจกับคนรายได้น้อยยื่นแบบภาษี เพิ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ลดค่าลดหย่อนการออมและการลงทุน

อันดับ 3 คือ “การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)” ด้วยเหตุผล เช่น อำนวยรายได้ให้รัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีโครงสร้างการจัดเก็บไม่ซับซ้อน อีกทั้งปัจจุบันไทยยังเก็บภาษีนี้ในระดับต่ำ รวมถึงท้องถิ่นก็จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวล เช่น สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ที่อยู่ในและนอกระบบภาษี เพิ่มภาระให้ประชาชนหากเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และไม่มีกลไกชดเชยผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบ

อนึ่ง มีการพูดถึง “การเก็บภาษีที่ระบุวัตถุประสงค์ของการเก็บและใช้ภาษีส่วนนั้นเป็นการเฉพาะ (Earmarked Tax)” เช่น หากขึ้น VAT จากในปัจจุบันที่เก็บอยู่ร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8-10 ในส่วนร้อยละ 1-3 ที่เก็บเพิ่มนั้นระบุว่าให้นำเม็ดเงินที่ได้ไปอุดหนุนรายจ่ายด้านสวัสดิการของประชาชน หรือใส่ในบัญชีเงินออมชราภาพส่วนบุคคล แต่ก็มีข้อท้วงติงว่า บิดเบือนหลักการจัดสรรงบประมาณที่ดี ขาดความยืดหยุ่น และอาจส่งผลต่อวินัยการคลังในระยะยาว

ในช่วงท้ายยังมีการเสวนา “ระบบบำนาญแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน สู่นโยบายพรรคการเมืองด้านระบบความคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ” โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นว่า หากจะทำเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องดำเนินการแบบ Earmarked จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นคนหนึ่งที่คัดค้านการออกกฎหมายวินัยการเงินการคลังที่ห้ามทำ Earmarked Tax

ด้วยเห็นว่า “สังคมปัจจุบันคนไม่อยากจ่ายภาษีเพิ่มเพราะไม่พอใจการใช้จ่ายภาษีแบบที่เป็นอยู่ แต่หากประชาชนได้รับความชัดเจนว่า 1 บาทที่เติมเข้าไปกลับมาเป็น 1 บาทในบัญชีเงินออมของประชาชน เชื่อว่าแบบนี้มีความเป็นไปได้” และจริงๆ ภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยต้องจัดเก็บที่ร้อยละ 10 แต่มีการลดเป็นการชั่วคราว ลงมาเก็บที่ร้อยละ 7 เมื่อ 21 ปีก่อนแล้วก็ใช้อัตราชั่วคราวนี้มาจนปัจจุบัน

“ตอนที่ผมทำเบี้ยยังชีพถ้วนหน้าครั้งแรกก็ถูกวิจารณ์ว่าคนรวยได้ด้วย พูดง่ายๆ เศรษฐีอายุเกิน 60 ปีก็ได้ 500 บาท รัฐบาลก็รณรงค์ว่าใครที่รวยแล้วก็อย่าไปรับเลย 500 บาทนี้ ก็ได้ผลอยู่ประมาณไม่กี่เดือน หลังจากนั้นทุกคนก็ไปรับ ผมก็ส่งคนไปสอบถามว่าทำไมถึงมารับ คำตอบที่ได้คือฉันเอาไปทำบุญดีกว่าปล่อยให้รัฐบาลไปใช้ อันนี้เป็นการยืนยันว่าจุดที่มันขัดข้องในความรู้สึกคน ผมจึงต้องกลับมาเรื่อง Earmarked หลักของ Earmarked ต้องบอกกับคนว่า ที่คุณเคยเสีย 7% นั้น 3% ที่เพิ่มขึ้นมาคุณไม่ได้ส่งเข้าคลัง เพียงแต่รัฐบาลบังคับคุณออมเอาไว้” อภิสิทธิ์ กล่าว

เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ศูนย์นโยบายของพรรคก้าวไกล และอดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อถามว่าจะหาเงินมาจากไหนก็ต้องพูดถึงเรื่องภาษี เริ่มจาก 1.ภาษีเงินได้ แบ่งเป็นในส่วนของนิติบุคคล ให้แบ่งฐานเป็น 3 ระดับ คือรายเล็ก กำไร 3 แสน-3 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีร้อยละ 10 รายกลาง กำไร 3 ล้าน-30 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีร้อยละ 15 และรายใหญ่ กำไร 300 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป เสียภาษีร้อยละ 23 เพื่อสร้างความแตกต่างมากขึ้นระหว่างผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่

ซึ่งคาดว่าหากปรับโครงสร้างภาษีแบบนี้รัฐจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 9 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันในส่วนของบุคคลธรรมดา ต้องหาทางให้คนเข้ามาอยู่ในระบบภาษี และปรับปรุงการลดหย่อนภาษีให้เป็นธรรม 2.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เสนอให้เก็ยแบบรวมแปลง หมายถึงนำจำนวนที่ดินที่ผู้ครอบครองถือครองรวมกันทั้งประเทศมาคำนวณภาษี และเก็บแบบอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าที่ดินที่เป็นราคาประเมินตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป

อีกด้านหนึ่งก็คาดหวังว่าการเก็บภาษีที่ดินแบบรายแปลงจะจัดเก็บได้ดีขึ้น หากทำได้ในส่วนของภาษีที่ดินทั้ง 2 ประเภท รัฐจะมีรายได้เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท และ 3.ภาษีความมั่งคั่ง วัดจากความมั่งคั่งสุทธิเกิน 300 ล้านบาท ก็จะเริ่มเสียด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หมายถึงหากหักลบหนี้สินหมดแล้วเหลือ 300 ล้านบาท ก็เสียภาษี 1.5 ล้านบาท ยังเหลืออีก 298.5 ล้านบาท ถือว่าไม่เท่าไร ถือว่าขอนำเงินนี้มาพัฒนาประเทศ คาดว่ารัฐจะได้เงินเพิ่มอีก 6 หมื่นล้านบาท

ส่วนการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่าที่เคยสอบถามประชาชน พบคำตอบคือยังไม่พร้อมจะจ่ายเพิ่ม แม้จะระบุวัตถุประสงค์ของการเก็บและใช้เงินภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้เป็นการเฉพาะก็ตามว่าจะย้อนกลับมาที่ประชาชนและอาจจะได้กลับมามากขึ้นด้วยเพราะมีส่วนของคนอื่นๆ ที่บริโภคมากกว่า โดยแสดงให้เห็นเลยว่าเมื่ออายุ 60 ปีจะได้เท่าไร แต่เรื่องนี้คาดว่าน่าจะเป็นเงื่อนไขด้านเวลา หากได้เห็นกฎหมายที่ยืนยันสวัสดิการพื้นฐานของประชาชนอย่างแท้จริง ตนก็หวังว่าในอนาคตคำตอบจะเปลี่ยนไป

“เรื่องนี้ตั้งใจ ไม่ใช่ว่าเป็นเม็ดเงินใหญ่อะไร เพียงแต่ถ้าคนไทยทุกคนได้เห็น ได้จ่ายภาษีไปมันกลับคืนมากับเขาอย่างไรผมคิดว่าอยากเห็นการเสียภาษีที่เต็มด้วยความภูมิใจว่าเราได้เสียภาษีเพราะฉะนั้นเราก็พยายามทำเรื่องนี้ต่อไป เราอยากจะเปลี่ยนภาพลักษณ์คือเราบางครั้งอยู่ในสังคมที่ไม่อยากเสียภาษีแล้วเราเก็บเงินไปทำบุญตกลงเราจะเปลี่ยนเป็นว่าการเสียภาษีคือการทำบุญที่มีความเสมอภาค ขณะเดียวกันก็น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดด้วย” เดชรัต ระบุ

ศ.ดร.เอื้อมพร พิชัยสนิธ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนมองในภาพใหญ่ว่า “สังคมไทยต้องหาข้อสรุปร่วมกันก่อนว่าอยากได้ระบบแบบใด” เช่น ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ระบบสวัสดิการดีมากแต่ประชาชนก็ต้องจ่ายภาษีมากเช่นกัน ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้จ่ายภาษีมากขนาดนั้นระบบสวัสดิการก็ลดหลั่นลงมา แต่คนในประเทศเหล่านั้นต่างก็ยอมรับกันได้ทั้งสิ่งที่ได้รับ (สวัสดิการ) และสิ่งที่เสียไป (ภาษี)

“เรายังไม่มีประชามติที่ชัดเจนว่าเราจะเลือกแบบไหนจะเอาแบบไหน แล้วถ้าเราเลือกแบบไหนแล้วก็ต้องตระหนักถึงระดับภาษีที่ประชาชนจะต้องจ่าย คือมันต้องมาเป็นแพ็กเกจ หรือว่าจริงๆ แล้วเราก็ยังงงๆ อยู่ว่าต้องการแบบไหน ก็ไม่แปลก อย่างนิยายรักหลายๆ เรื่อง พระเอก-นางเอกก็ไม่รู้ตัวว่าเริ่มต้นต้องการอะไร แต่ก็เรียนรู้ค้นหาตัวเอง” ศ.ดร.เอื้อมพร กล่าว

ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า “เรื่องภาษี Earmarked จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ พบว่าเห็นด้วยหากมีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพื่อมาใช้เป็นการเฉพาะเรื่อง” แต่ถ้าเพิ่มทั่วไปสงสัยมีเสียงค้านพอสมควร!!!

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ด่วน!! 'จอน อึ๊งภากรณ์'เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 77 ปี

ลูกค้าสายลับ! เชียงรายจับค้ามนุษย์ หมอนวดต่างด้าวเพียบ-แฝงขายบริการ

สมุทรสาครป่วน! จ่อแจกใบแดงซื้อเสียง เลือกตั้งนายกเล็ก

ไปอีก 2!‘อุตตม-สนธิรัตน์’ลา‘บิ๊กป้อม’ไขก๊อกสมาชิกพรรค‘พปชร.’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved