วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ลดเหลื่อมล้ำช่องว่างรายได้(จบ)  4ตัวแปรกับข้อเสนอเชิงนโยบาย

สกู๊ปแนวหน้า : ลดเหลื่อมล้ำช่องว่างรายได้(จบ) 4ตัวแปรกับข้อเสนอเชิงนโยบาย

วันอาทิตย์ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.11 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

(ต่อจากฉบับวันเสาร์ที่ 20 พ.ค. 2566) ยังคงอยู่กับการเผยแพร่ผลการศึกษา เรื่อง“โครงการศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ หลังจากในตอนที่แล้วกล่าวถึงภาพความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยและตัวอย่างการแก้ไขจากต่างประเทศ ส่วนฉบับนี้จะว่าด้วยปัจจัยที่ท้าทายอยู่ในปัจจุบันและอนาคต

งานครั้งนี้มีอาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์3 ท่านร่วมบรรยาย โดย ผศ.ดร.ธร ปิติดล กล่าวว่า มีปัจจัยท้าทาย 4 ด้าน 1.ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การขยายตัวของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การซื้อ-ขายสินค้าทำผ่านแอปพลิเคชั่น แต่เทคโนโลยีก็ทำให้การจ้างแรงงานคนลดลง และข้อมูลมีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้นจนอาจมีอำนาจเหนือตลาดได้เพราะสะสมเครือข่ายผู้ใช้งานไว้จนเหลือผู้เล่นในตลาดน้อยราย ความท้าทายจึงอยู่ที่จะทำอย่างไรให้ธุรกิจรายย่อยและแรงงานที่ทำงานกับแพลตฟอร์มได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม


เทคโนโลยียังทำให้ระดับค่าจ้างแตกต่างกันอย่างมาก กล่าวคือ แรงงานทักษะน้อยถึงปานกลางจะมีความต้องการในตลาดลดลง แต่ความต้องการจะไหลไปหาแรงงานทักษะสูง ทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้น หรือจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้เทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ด้วย ไม่ใช่ให้ข้อมูลไปอยู่กับภาคธุรกิจเป็นหลัก นโยบายที่จำเป็นในการลดความเหลื่อมล้ำด้านนี้คือเรื่องป้องกันการผูกขาด สนับสนุนการแข่งขัน

2.สังคมสูงวัย ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยแล้ว และในอนาคตก็จะยิ่งเข้มข้นขึ้น ซึ่งสิ่งที่พบคู่กันคือ “สัดส่วนคนจนที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น” จึงกลายเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำไปโดยปริยายอีกทั้งภาวะสังคมสูงวัยยังหมายถึงสัดส่วนประชากรวัยแรงงานที่ลดลง ส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ นโยบายที่ควรมีคือการรักษากำลังแรงงาน แม้กระทั่งผู้สูงอายุที่ยังสามารถทำงานได้ก็ควรให้มีงานทำอยู่ การดูแลความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุโดยเฉพาะในภาคเกษตร

3.การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศแปรปรวนและเกิดภัยพิบัติบ่อยขึ้น แน่นอนว่าผู้มีฐานะด้อยกว่ามักเสียเปรียบในการเผชิญความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะคนยากจนในภาคเกษตรมีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะอาชีพที่ทำต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติทั้งน้ำแล้ง-น้ำท่วม หากไม่มีเครื่องมือรองรับความเสี่ยงก็จะได้รับผลกระทบมากขึ้น จึงสุ่มเสี่ยงตกไปอยู่ในวงจรหนี้สินระยะยาว นโยบายที่จำเป็นคือจะลดความเสี่ยงลงและช่วยให้ฟื้นฟูจากผลกระทบได้เร็วขึ้นได้อย่างไร

และ 4.การฟื้นฟูหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19แต่ละคนได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวไม่เท่ากัน เช่น คนรายได้สูงสามารถปรับตัวไปทำงานออนไลน์ได้ง่ายกว่าคนรายได้น้อย ขณะที่การฟื้นตัวหลังวิกฤตนั้นไทยก็ยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก และในจำนวนนี้ก็มีกลุ่มที่ฟื้นตัวได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการหรือแรงงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งแม้จะไม่ใช่ธุรกิจที่ใหญ่แต่ก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย นโยบายฟื้นฟูจึงต้องให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ด้วย

ธนสักก์ เจนมานะ กล่าวถึงข้อเสนอเชิงนโยบาย 1.การค้าระหว่างประเทศ เช่น การสร้าง Beat Alternative to a Negotiated Agreement และสร้างความร่วมมือกับประเทศพัฒนาอื่นๆ อาทิ ในภูมิภาคเดียวกัน มีตัวอย่างจากสหภาพยุโรป (EU) ในการทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก โดยฝ่ายหลังสามารถต่อรองกับฝ่ายแรกได้แม้ฝ่ายแรกจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าและมีอำนาจมากกว่าก็ตาม

ยังมีมาตรการกำหนดถิ่นกำเนิดสินค้าและที่มาแรงงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์จากการที่อีกฝ่ายจะนำเข้าแรงงานและทรัพยากรจากภายนอก การสร้างทักษะใหม่ให้แรงงาน การอุดหนุนค่าใช้จ่ายแรงงานสำหรับสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ การจับคู่ธุรกิจเพื่อกระจายผลประโยชน์ เนื่องจากสถานประกอบการขนาดเล็กมีข้อมูลน้อยและมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่

2.สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย กระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสร้างตลาด ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงตลาดการเงินที่สะท้อนความแตกต่างของพื้นที่ ขณะที่การดึงรายย่อยเข้าระบบต้องทำได้ง่ายและไม่เก็บภาษีย้อนหลัง การให้ความรู้ด้านบัญชีเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการทำธุรกิจและบริหารภาษี การจับคู่ธุรกิจ สุดท้ายคือสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และแพลตฟอร์มต้องมีนโยบายให้แข่งขันกันเอง ไม่ให้ผูกขาดทางการค้า

3.ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้เทคโนโลยี ที่ต้องมากกว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่รวมไปถึงการลดต้นทุน เพิ่มทักษะความรู้ในการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย 4.พัฒนาฐานข้อมูลร่วมรัฐ-เอกชน โดยรัฐควรมีบทบาทนำในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ บนความไว้วางใจระหว่างรัฐ
และเอกชน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กระทรวงพาณิชย์) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

5.การอุดหนุนการจ้างงานผู้เกษียณอายุ มีนโยบายลดต้นทุนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการคงการจ้างงานไว้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 6.การฟื้นฟูเศรษฐกิจนอกระบบ สนับสนุนการคืนทุนของผู้ประกอบการ หรือเกี่ยวกับการเสริมทักษะและหาช่องทางการทำการค้า โดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย

และ 4.การสนับสนุนภาคการเกษตร ประเด็นนี้ ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ กล่าวว่า เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากเป็นผู้สูงอายุ จึงจำเป็นที่ต้องดึงคนรุ่นใหม่เข้ามา ซึ่งกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีได้ค่อนข้างดี นโยบายที่เหมาะสมคือการให้ทุนสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีและใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนมากขึ้น การสนับสนุนเครื่องมือทางการเกษตรและทุนหมุนเวียนสำหรับเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่ม เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น การพัฒนาทักษะความรู้ทั้งด้านการผลิตและการตลาด โดยด้านการตลาดนั้นจะสอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงพาณิชย์

อนึ่ง สินค้าบางชนิดที่มีต้นทุนการผลิตสูง เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ หนทางที่จะขายได้คือการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งเป็นบทบาทของกระทรวงพาณิชย์ที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค ขณะเดียวกันรัฐควรสร้างช่องทางสื่อสารระหว่างเกษตรกรกับรัฐเกี่ยวกับการทำให้สินค้าเกษตรมูลค่าสูงขึ้น เพื่อทำให้ตลาดสินค้าเกษตรมูลค่าสูงขยายตัวออกไปได้ การพัฒนาระบบวางแผนการผลิตและโลจิสติกส์ เป็นอีกเรื่องที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญทั้งการให้ความรู้และสนับสนุนเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

สำนักข่าวอิศราเปิดชื่อ 3 หมอโดนแพทยสภาสั่งลงโทษคดี 'ทักษิณ' ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved