วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ถึงเวลามีกฎหมายป้องเด็ก  จากอาหาร‘หวาน มัน เค็ม’

รายงานพิเศษ : ถึงเวลามีกฎหมายป้องเด็ก จากอาหาร‘หวาน มัน เค็ม’

วันอาทิตย์ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

“การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก วันนี้สถานการณ์ไม่ได้ลดลงเลย จำเป็นที่ภาครัฐต้องลุกมาปกป้องเด็ก รวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ให้อาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่ในท้องตลาดมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้มีบทบาทหลัก ควบคุม ดูแลกฎหมาย และมีคณะกรรมการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก (คตอด.) มีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน”

พญ.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวในเวทีประชาพิจารณ์ “(ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก” เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ย่านหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเนื้อหาสาระประกอบด้วย4 หมวด 42 มาตรา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีจากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียม ที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน


ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ประสงค์ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงสูตร ลด หวาน มัน เค็ม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กน้อยลง โดยไม่ได้ห้ามการขายอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การบริจาคหรือการทำ CSR ของผู้ประกอบการ ยังสามารถทำได้ตามมาตรา 20 ไม่ได้ห้าม แต่ไม่ให้แสดงโลโก้ ขณะที่ในบทกำหนดโทษ จะมีเฉพาะโทษทางแพ่ง ไม่มีโทษทางอาญา ให้มีโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ขณะที่ นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ในฐานะประธานกระบวนการรับฟังความคิดเห็น กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพยายามแก้ไขปัญหาภาวะอ้วนในเด็กมาอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ โดย 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเด็กไทยอ้วนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ทั้งเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และเด็กวัยรุ่น ซึ่งประเทศไทยยังขาดมาตรการสำคัญในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก โดย (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ฉบับนี้ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ในการพัฒนา

ภายในงานมีการแสดงความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน โดยมีทั้ง “ฝั่งที่สนับสนุนอย่างเต็มที่” อาทิ ผู้แทนจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ ด้วยจะทำให้เห็นฉากทัศน์ของอุตสาหกรรมอาหารไทย มีการปรับสูตรหันผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีปริมาณ ไขมัน น้ำตาล โซเดียมต่ำเช่นเดียวกับ ผู้แทนเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน สนับสนุนการมีกฎหมายฉบับนี้ พร้อมเสนอให้มาตรา 5 เรื่องคณะกรรมการควบคุม ให้มีองค์ประกอบผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ด้วย

ขณะที่ มาตรา 16 ที่ห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก หรือตัวแทนจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในสถานศึกษา ยืนยันว่า อาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผ่านเกณฑ์ไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่ควรทำการสื่อสารทางการตลาดในโรงเรียน ไม่ว่าช่องทางใด รวมถึงการรับบริจาคในลักษณะตอบแทนด้วย อีกทั้ง มาตรา 3 ในกฎหมาย ควรใช้คำว่า การสื่อสารทางการตลาด แทนคำว่า การตลาด

รวมถึง ผู้แทนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยเสนอให้มีการจัดทำฉลากอาหารที่เข้าใจง่ายภายใน 10 วินาที โดยเฉพาะอาหารที่มีความเสี่ยงควรมีสัญลักษณ์คำเตือน อาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง เกลือสูง เนื่องจากการที่เด็กติดเค็ม ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ยิ่งบริโภคขนมเยอะจะทำให้เด็กกินผักและผลไม้ได้น้อยลง และเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่นติดเค็ม ติดหวาน

แต่อีกด้านหนึ่ง “ฝ่ายที่แสดงความกังวล” อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย แม้จะเห็นด้วยกับการปกป้องเด็ก แต่การห้ามโฆษณาทุกช่องทาง ที่ระบุในกฎหมายอาจกระทบผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ซึ่งภาคเอกชนอยากเห็นความชัดเจน และรายละเอียดของกฎหมายลูก เช่นเดียวกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่แม้จะเห็นด้วยกับการที่ภาครัฐจะควบคุมการตลาดอาหารที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก แต่ก็กังวลเรื่องกฎหมายลูก การตีความกฎหมายที่กว้างเกินไป การใช้อำนาจเกินขอบเขต โดยตั้งเป็นคำถามอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสมกับเด็กคืออะไร

และ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอให้มีการบังคับใช้กฎหมาย หรือบูรณาการการใช้กฎหมายที่มีอยู่ก่อนจะออกกฎหมายฉบับใหม่ๆ ออกมา พร้อมกับเสนอมีผู้แทนภาคเอกชนเข้าเป็นกรรมการด้วย นอกจากนั้น ยังมีผู้แทนจากศูนย์กฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ด้านหนึ่งเห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้แต่ก็อยากให้มีความชัดเจน มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา และความจำเป็นที่ภาครัฐจะเข้าไปแทรกแซงการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะให้มีการรายงานการวิเคราะห์ผล
กระทบต่อกฎหมายด้วย

ที่สำคัญแก้ไข นิยาม การตลาด เป็นการสื่อสารการตลาด เพื่อให้ครอบคลุมรวมถึงการทำการตลาดออนไลน์เชื่อว่า กฎหมายฉบับนี้จะมีความชัดเจนขึ้น!!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

สำนักข่าวอิศราเปิดชื่อ 3 หมอโดนแพทยสภาสั่งลงโทษคดี 'ทักษิณ' ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved