วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
ไขข้อข้องใจ! ‘สังคมไทย’ไฉนผู้คนต้องให้คุณค่า กับ‘ความรวย’เป็นอันดับ 1

ไขข้อข้องใจ! ‘สังคมไทย’ไฉนผู้คนต้องให้คุณค่า กับ‘ความรวย’เป็นอันดับ 1

วันจันทร์ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 20.06 น.
Tag : สังคมไทย คุณค่า ความรวย
  •  

วันที่ 29 พฤษภาคม  2566  ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Nattavudh Powdthavee” ดังนี้

พอได้อ่านในสิ่งที่พี่หนุ่ม Tomorn Sookprecha เขียนถึงสังคมไทยที่คนส่วนใหญ่มีเป้าหมายอันดับหนึ่งของชีวิตคือ ‘ความรวย’ ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ตัวเองได้มีโอกาสได้เข้าไปเดินในโรงเรียนนานาชาติสองสามแห่งในกรุงเทพ 


มันเป็นประสบการณ์ที่เปิดหูเปิดตาของผมมากๆ เพราะโรงเรียนนานาชาติที่ผมได้เข้าไปดูนั้นมี facilities ที่ระดับโลก ทั้งห้องเรียน โรงอาหาร สนามกีฬา มันเป็นอะไรที่สุดยอดจริงๆ 

แต่ในขณะเดียวกันมันก็ทำให้ผมรู้สึกเศร้าว่า คุณต้องเกิดมาเป็นลูกคนที่มีเงินจริงๆเท่านั้นถึงจะเรียนที่นี่ได้ ซึ่งมันโชคล้วนๆ

ผมไม่เคยรู้สึกเลยนะครับว่าเด็กๆที่เรียนโรงเรียนนานาชาติไม่สมควรที่จะได้รับการศึกษาที่ดีระดับโลก แต่ผมคิดว่าเด็กๆทุกคนควรที่จะมีโอกาสได้รับการศึกษาและมี facilities ที่ดีระดับโลก ไม่ว่าเขาจะเกิดมารวยหรือจนก็ตาม

ผมจึงเข้าใจที่พี่หนุ่มเขียนได้เลยว่าทำไมเป้าหมายชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันถึงคือ ‘ความรวย’

ซึ่งโพสต์ที่ ศ.ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวถึงนั้น เป็นข้อความที่ นายโตมร ศุขปรีชา ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) และนักเขียนชื่อดัง โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊ก “Tomorn Sookprecha” ดังนี้

เหมือนสังคมไทยขาดความสามารถจะทำให้คนเห็นว่า เราสามารถมีเป้าหมายชีวิตแบบอื่นได้นอกจาก 'ความรวย' เท่านั้น

เมื่อเช้าเพิ่งได้ฟังเรื่องราวของชาวสวิตเซอร์แลนด์คนหนึ่ง ที่เรียนจบทนายความ ทั้งชีวิตของเขาจึงสามารถ 'ทำเงิน' ได้มากมายมหาศาล แต่หลังเรียนจบแล้ว เขากลับครุ่นคิดถึงความหมายของชีวิต และเลือกที่จะ 'ทิ้ง' การเป็นทนายความ (ที่แปลว่าจะมีเม็ดเงินมากมายในชีวิต) มาทำงานเป็น 'ครู' ธรรมดาๆ คนหนึ่งแทน (แปลว่าโอกาสทำเงินจะลดลงมหาศาล)

เขาเลือกแบบนั้นได้ เพราะในสังคมที่เขาอาศัยอยู่ ผู้คนไม่ได้เหลื่อมล้ำกันมากนัก ดังนั้น แต่ละคนจึง 'มีโอกาส' ที่จะ 'จินตนาการ' ถึง 'ชีวิต' ที่ตัวเองอยากเป็นได้ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ เขามีความสามารถที่จะ 'ทิ้ง' ชีวิตที่ตัวเองไม่อยากเป็น หรือชีวิตที่ผิดพลาดไปได้เสมอ

ย้อนกลับมาดูสังคมไทย ผมอาจรู้สึกไปเองก็ได้ว่า สังคมไทยเปิดโอกาสให้คนมี 'จินตนาการ' ต่อการมีชีวิตอยู่ของเราไม่ค่อยมากหนทางนัก 

ไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไร ดูเหมือนตัววัดความสำเร็จของเราก็คือ 'ความรวย' ที่ต้องบอกให้คนอื่นรู้ด้วย ส่งผลให้เกิดอาการประเภท 'ขับปอร์เช่แล้วมันฟินฟิ้นฟิน' อะไรทำนองนั้นออกมา

เรื่องน่าเศร้าก็คือ คนจำนวนมากมีเป้าหมายของชีวิตในอันที่จะต้องทิ้งวันวัยที่มีคุณค่าที่สุดของตัวเอง (คือวัยหนุ่มสาว) เพื่อทุ่มเททำงานเก็บเงิน ถ้าโชคดีหน่อย พวกเขาก็วาดหวังว่าจะเก็บเงินได้สักสิบ ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ หรือห้าสิบล้าน (จากการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน) เพื่อเอามันไปสร้าง Passive Income (ที่ไม่รู้มีอยู่จริงแค่ไหน เพราะผลตอบแทนทั้งปวงที่โฆษณากันคือตัวเลขแห่งอดีต แต่อนาคตที่เราอาจก้าวเข้าสู่ Anthropocence นั้น ใครจะไปหยั่งคาดอะไรได้ อีกสิบปี ตลาดหุ้นอาจจะจมอยู่ใต้น้ำก็ได้) แล้วก็วาดหวังว่า ถ้าเก็บเงินได้เร็ว อายุสักสี่สิบ ห้าสิบ ก็จะได้เกษียณเพื่อไป 'ทำสิ่งที่ชอบ' โดย 'ไม่ต้องเครียดกับการหาเงิน' อีกแล้ว

ที่ว่ามาคือคนที่มีลักษณะ 'พ้นน้ำ' ทางเศรษฐกิจพอสมควรแล้วนะครับ จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงคนฐานะไม่ดีหรือคนยากจนเลย คนจำนวนมากมี 'ความสุขแห่งชีวิต' อยู่ที่วันที่ 1 และ 16 คือหวังว่าจะได้มีโอกาส 'ใช้เงิน' ได้บ้างในบางที ถ้าหากเทพีแห่งโชคชะตาอำนวย หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็คือได้เงินรางวัลมากๆ จนกลายเป็นเศรษฐีขึ้นมาจริงๆ (ซึ่งก็มีอยู่น้อยกว่าน้อย)

ดังนั้น 'เป้าหมาย' เพียงอย่างเดียวของชีวิตคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก 'ความรวย' และต้องเป็น 'ความรวยของกู' ด้วย ไม่ใช่ 'ความรวยร่วม' ของสังคม คนจนจึงเล่นหวย ส่วนคนรวยเล่นทำทุนผูกขาดเพราะสุดท้ายก็มีสำนึกกลัวจนเหมือนๆ กัน

แต่ในสังคมที่มี 'ความรวยร่วมกัน' เราจะเห็นได้เลยว่าสังคมแบบนั้นเปิดโอกาสให้คน 'เลือก' ที่จะ 'จินตนาการ' หรือ 'ออกแบบ' ชีวิตของตัวเองได้หลากหลาย จบทนายความมา อยากเป็นครู 'จนๆ' ก็เป็นได้ เพราะพวกเขารู้เสมอว่าอยู่ในสังคมที่มี Social Security หรือความปลอดภัยมั่นคงทางสังคมมากพอ ที่หากเลือกอีกแบบแล้วจะไม่ 'ร่วงหล่น' จากความเป็นมนุษย์ กลายไปเป็นซากเดนของอะไรสักอย่างที่ถูกเหยียบย่ำให้อยู่ต่ำสุดของพีระมิดทางสังคม

คำถามที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็คือ เราจะทำอย่างไรให้สังคมไทยมี 'จินตนาการ' ใน 'เป้าหมายของชีวิต' ที่หลากหลายได้มากกว่าแค่ 'รวย' แบบ 'เฉพาะตัว' โดยมีเป้าหมายจะ 'ตัดช่องน้อย' ไปมี Passive Income เยอะๆ เท่านั้น

เพราะต่อให้โชคดี เกษียณได้เร็วสักอายุสี่สิบห้าสิบปี ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะได้ทำสิ่งที่มีความหมายกับชีวิตจริงๆ เพราะถึงเวลานั้น หลายอย่างอาจจะสายไปแล้วก็ได้ ทั้งเรื่องสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือการพบว่าตัวเองต้องอยู่ในสังคมที่ตัวเองไม่เข้าใจมันอีกต่อไปแล้วเพราะมัวแต่หาเงินจนไม่เหลือเวลามาทำความเข้าใจโลก ฯลฯ

แต่เพราะเราไม่อาจมีจินตนาการถึงความหมายของชีวิตที่หลากหลายมากพอ คนจำนวนมากจึงสูญเสียช่วงเวลาอันมีค่าที่สุดในชีวิตไปกับความพยายามหาเงิน (ที่อาจประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ได้) โดยไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะตั้งคำถามกับมัน ว่านี่คือสิ่งที่เราอยากทำจริงๆ หรือเปล่า

เพราะถ้าไม่ทำ - ก็อาจตกชั้นความเป็นมนุษย์ไปตั้งแต่บัดนี้ก็ได้

เรื่องแบบนี้ ถ้าชนะอาจไม่เศร้า แต่ต่อให้แพ้ - ก็ไม่มีเวลาและต้นทุนของความเศร้าให้มานั่งเศร้าได้อีกเช่นกัน

เศร้า - แต่ไม่สามารถเศร้าได้, น่าจะเป็นความเศร้าอย่างที่สุดแล้ว

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  •  

Breaking News

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved