วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : มองตัวอย่างจาก‘ภูเก็ต’  ใช้ข้อมูลหนุนฟื้นท่องเที่ยว

สกู๊ปแนวหน้า : มองตัวอย่างจาก‘ภูเก็ต’ ใช้ข้อมูลหนุนฟื้นท่องเที่ยว

วันอาทิตย์ ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 08.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“95% ของโครงสร้างเศรษฐกิจภูเก็ตคือเรื่องการท่องเที่ยว ถ้าเราไปดูคือมีคนต่างชาติเข้ามาปีที่ดีที่สุดคือ 2019 (2562) 14 ล้านคน 4 ล้านเป็นคนไทย 10 ล้านเป็นคนต่างชาติ เขาถึงบอกว่าเห็นไหม? คนไทยไม่ไปภูเก็ต แต่พอเรามาเรียงชาติ คือถ้าเป็นก้อน ไทยกับไม่ไทยก็น้อยก็อยู่ดี แต่พอเรียงชาติ ไทยมาอันดับ 1 4 ล้าน จีนมาอันดับ 2 คือ 3 ล้านพอการ Disconnect (ตัดการเชื่อมต่อ) ระหว่างประเทศ ก็ทำให้ไม่มีใครเดินทางเข้ามา ตอนนั้นคนไทยก็กังวลเรื่องการระบาดด้วย”

ภูมิกิตติ์ รักแต่งาม ประธานที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เล่าย้อนไปเมื่อ 3 ปีก่อน ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมาตรการควบคุมโรคทั้งการปิดประเทศและลดการเดินทาง ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหากยังจำกันได้ช่วงปี 2563-2564 การที่ใครสักคนติดเชื้อโควิด-19 ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องถูกสอบสวนอย่างละเอียดว่าได้ไปทำอะไรกับใครที่ไหนมาบ้าง


ในเวลานั้น ใน จ.ภูเก็ต เริ่มมีการพูดคุยกันแล้วว่าต้องทำอะไรสักอย่าง นำไปสู่ข้อเสนอต่อรัฐบาลว่าต้องการทำ “แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox)” หรือพื้นที่นำร่องสำหรับแผนเปิดประเทศฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวพร้อมไปกับมาตรการรับมือโรคระบาดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปัญหาที่พบในช่วงแรกๆ คือ “ข้อมูล (Data) ที่จำเป็นต้องใช้ที่กระจัดกระจายอยู่หลายที่ไม่เชื่อมโยงกัน” แต่เมื่อได้อธิบายให้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หน่วยงานพิเศษที่ตั้งขึ้นในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้เข้าใจ ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่

“ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เกิดจากคอนเซ็ปต์ที่ว่านักท่องเที่ยวต้องไม่โดนกักตัว เพราะถ้ากักตัวเขาไม่มา นึกถึงเราไปอยู่ห้อง 14 วันเราก็ไม่ไป ฉะนั้นการที่นักท่องเที่ยวจะไม่กักตัวได้ ภูเก็ตต้องมี Herd Immunity (ภูมิคุ้มกันหมู่)ก่อน ฉะนั้นก็เอาวัคซีนไปฉีดให้คนภูเก็ต 70% จากนั้นนักท่องเที่ยวลงสนามบินจะต้องโดนสว็อบ (Swab-ตรวจคัดกรองหาเชื้อ) ที่สนามบิน แล้วไปรอผล ผลจะออก 6-10 ชั่วโมง เมื่อผลเป็นลบ-ไม่ติด จะไปไหนก็ไปในภูเก็ต

ฉะนั้นมันจะมีข้อมูล 2-3 เรื่อง ข้อมูลสาธารณสุข โดนสว็อบก่อนแล้ว ปัญหาคือข้อมูลนี้ส่งไปทางไหน โรงแรมรู้ได้อย่างไรใครติด-ไม่ติด ก็ยังมีความยากถ้ายังเป็นไซโล (Silo-แบ่งแยกส่วนไม่เชื่อมต่อ) เราก็ขอ ศบค. องค์กรผมดูรู้หมดเลย วันนี้นักท่องเที่ยวเข้ามากี่คน วันแรก 1 ก.ค. 2564 เข้ามา437 คน ติดกี่คน กี่เปอร์เซ็นต์ ไปโรงพยาบาลไหน? แต่ก็เป็นการทำแบบกึ่งออโต้-กึ่งแมนนวลเสียเยอะ ไม่ได้เป็นแบบดิจิทัลเยอะ” ภูมิกิตติ์ ระบุ

ประธานที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต สรุปบทเรียนจากภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ในการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์กับการบริหารจัดการภาคการท่องเที่ยวในมิติต่างๆ ว่า หัวใจสำคัญคือ “3D” ประกอบด้วย 1.Digital นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เช่น ระบบ Phuket Swab Appointment System (PSAS) ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวจองคิวตรวจโควิดครั้งที่ 2 (วันที่ 6-7 ของการอยู่ในภูเก็ต) และครั้งที่ 3 (วันที่ 12-13 ของการอยู่ในภูเก็ต) พร้อมชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้เลย ซึ่งเป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคที่กฎหมายกำหนดไว้ในเวลานั้น

2.Data หน่วยงานภาครัฐมีข้อมูลต่างๆ เก็บไว้มากมายแต่ไม่ค่อยเชื่อมต่อกัน รวมถึงไม่เชื่อมกับภาคเอกชน ในขณะที่ภาคเอกชนต้องการใช้ข้อมูลที่ใกล้เคียงเวลาจริง (Real Time) ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อวางแผนธุรกิจ และ 3.Deregulate หรือการสังคายนากฎหมาย (หรือ “กิโยตินกฎหมาย-Regulatory Guillotine”) เป็นปัญหาที่พูดกันมากว่า “ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่ล้าสมัยและซับซ้อนยุ่งเหยิงอยู่มาก” หากปลดล็อกจุดนี้ได้จะคล่องตัวขึ้น

เรื่องราวข้างต้นนี้ ภูมิกิตติ์ กล่าวในวงเสวนา “Future of Tourism Intelligence” ในงานประชุมวิชาการ Thailand Futurist Conference 2023 ครั้งที่ 2 : Transforming to Resilient Future จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งยังมีวิทยากรอีก 3 ท่าน ร่วมให้มุมมอง

มงคล วิมลรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากล่าวว่า ในอดีตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวถูกจัดเก็บแบบอนาล็อก (Analog) และอยู่กระจัดกระจาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว เช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) กรมศิลปากร (กระทรวงวัฒนธรรม) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตลอดจนภาคเอกชน เกิดปัญหามาตรฐานข้อมูล อาทิ จัดเก็บแบบซ้ำซ้อน ข้อมูลไม่ถูกต้อง รวมถึงขาดการปรับปรุงให้ทันสมัย จึงได้จัดทำมาตรฐานข้อมูลขึ้น

“ถ้าเกิดหน่วยงานเข้ามาแล้วเอามาตรฐานตรงนี้ไปใช้ เวลาเขา Update (ปรับปรุงข้อมูล) ตรงนี้ก็ Update ด้วย แล้วถ้า Update ทั้งประเทศเสร็จ ทางกระทรวงเองเนื่องจากเป็นภาครัฐก็ยินดีให้เอกชนหรือสตาร์ทอัพดึงไปใช้ได้เลย แล้วถ้ามันมีการใช้มากๆ ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากแหล่งหรือกิจกรรม อยากรู้อะไรเราก็จะแชร์ แล้วสุดท้ายเราก็จะรู้แล้วว่าคนที่เข้ามาเที่ยวทั้งไทยและเทศ จุดไหนเป็นจุดยอดนิยม จุดไหนอาจจะเบาบาง กระทรวงฯ เองประโยชน์สุดท้ายคือเอาข้อมูลทั้งหมดมาAnalytic (วิเคราะห์) แล้วสามารถ Create (ออกแบบ) นโยบายได้”มงคล กล่าว

อัญชลิสา แต้ตระกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงแพลตฟอร์ม “www.travellink.go.th” ซึ่งมีตัวอย่างฐานข้อมูลการท่องเที่ยวใน จ.ภูเก็ต พื้นที่นำร่อง โดยคณะทำงานลงพื้นที่พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง หาความต้องการว่าข้อมูลใดที่อยากเห็น อาทิ การกระจายตัวของนักท่องเที่ยว สัญชาติ อายุ เพศของนักท่องเที่ยว ฯลฯ อีกทั้งยังพบข้อมูลเพิ่มเติม เช่น นักท่องเที่ยวบางชาตินิยมมาภูเก็ตมากแต่ไม่มีเที่ยวบินตรงจากประเทศนั้น เป็นต้น ซึ่งระบบนี้จะมีการขยายการทำข้อมูลไปยังจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

“มีหลายท่านชอบถามว่าทำไม Travellink ไปเริ่มที่ภูเก็ต ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด กับทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เอื้อเฟื้อการให้ข้อมูลเรามา ทำเหมือนการ Pilot Test (ทดสอบนำร่อง) ให้เห็นว่าถ้าเราได้ข้อมูลเหล่านี้ประโยชน์จะเกิดอะไรขึ้น ทีนี้พอเราได้สิ่งนั้นมา สิ่งที่เราอยากทำคือเราอยากเห็นตลอดทั้งห่วงโซ่ (Supply Chain) การท่องเที่ยว ว่าข้อมูลมันสอดรับเข้าไปตรงไหนได้บ้าง ตั้งแต่ Inspiration (แรงบันดาลใจ) จนถึง Post Trip (หลังจบการท่องเที่ยว)” อาจารย์อัญชลิสา กล่าว

ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ชวนมองภาพอนาคต เช่น ปัจจุบันที่โทรศัพท์มือถืออาจจะรู้จักผู้ใช้งานได้ดีกว่าตัวผู้ใช้งานเองเสียอีก ดังนั้นหากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อกับทุกมิติการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว อาทิ นักท่องเที่ยวลักษณะนี้ต้องการอะไรในการที่จะเข้ามาเที่ยวประเทศไทย

“ผมว่าจะไม่เหมือนใครในโลก ถ้าประเทศไทยสามารถกระโดดไปอยู่จุดนั้นได้” ตฤณ กล่าว


SCOOP@NAEWNA.COM
 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

(คลิป) ชำแหละ! 'นิรโทษกรรม ม.112' ฉบับ! 'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ'

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved