วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า  ให้ถูกกฎหมายเพื่อปกป้องเยาวชน

รายงานพิเศษ : การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ให้ถูกกฎหมายเพื่อปกป้องเยาวชน

วันอาทิตย์ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

หนึ่งในเหตุผลของการสนับสนุนให้ยังคงไว้ซึ่งการห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยซึ่งมาตั้งแต่ปี 2557 คือการปกป้องเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

แต่การแบนบุหรี่ไฟฟ้ามาตลอด 8 ปีที่ผ่านมานั้น กลับไม่ได้ผลอย่างที่ตั้งใจไว้ จึงเป็นที่มาของหนึ่งในนโยบายของบางพรรคการเมืองที่เสนอควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย


เพราะในความเป็นจริง เราเห็นการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย รวมถึงในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง และอาจชี้ชัดถึงความไม่มีประสิทธิภาพของมาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าดังกล่าว ดังนั้น เวลา 8 ปีอาจเพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานยืนยันว่า ประเทศไทยถึงเวลาที่จะเปลี่ยนไปใช้มาตรการอื่นที่จะปกป้องเด็กและเยาวชนของชาติจากการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้

ดังที่ล่าสุด หน่วยงานด้านสาธารณสุขชั้นนำอย่างราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ของลอนดอน (The Royal College of Physicians) ได้ประกาศความเห็นในเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าและเยาวชนไว้ว่า ควรจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และควรให้หน่วยงานเฝ้าระวังการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายในผู้ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น รวมถึงการสนับสนุนให้เพิ่มราคาบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง หรือ Disposable Vaping Products เพราะเป็นรูปแบบของบุหรี่ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชน ขณะที่ยังคงให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้สูบบุหรี่

สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในประเทศที่อนุญาตให้การซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย และรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขยังสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่ในประเทศเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน ดังที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษา และผลวิจัยระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่มวนต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากการที่ประเทศอังกฤษสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อทดแทนหรือเพื่อการเลิกบุหรี่นั้น ทำให้เริ่มมีข้อกังวลถึงการที่กว่า 15% ของเด็กอายุระหว่าง 11-15 ปีเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ เนื่องจากพบว่ามีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบผิดกฎหมายให้กับเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จึงได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชน

รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงได้ออกมาเปิดรับข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชน (Call for Evidence on Youth Vaping) เพื่อเสาะหาวิธีที่จะลดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าในเด็ก แต่ก็ยังทำให้ผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่สามารถเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขชั้นนำอย่างราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ของลอนดอน (The Royal College of Physicians) ซึ่งมีจุดยืนที่ชัดเจนมาโดยตลอดว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ ก็ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลสหราชอาณาจักร ซึ่งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของราชวิทยาลัยเช่นกัน เนื้อหาระบุว่า ทางราชวิทยาลัยฯ สนับสนุนการห้ามให้บุหรี่ไฟฟ้าฟรีแก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ออกมาประกาศว่าจะทำการปิดช่องโหว่ด้านกฎหมายที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าฟรีเล็ดลอดไปถึงมือเด็กและเยาวชน ราชวิทยาลัยฯ ได้ระบุเพิ่มเติมว่า การซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายในเด็กและเยาวชนควรได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจังผ่านการทำงานและการจัดสรรงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของหน่วยงานท้องถิ่น

นอกจากนี้ ราชวิทยาลัยฯ ยังสนับสนุนให้เพิ่มราคาของบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง เนื่องจากเป็นบุหรี่ไฟฟ้าชนิดที่เป็นที่นิยมที่สุดในกลุ่มเด็กและเยาวชน แต่ก็ได้ระบุว่า การขยายกรอบการควบคุมการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้มงวดเกินไปนั้นอาจส่งผลให้เป็นการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่ เนื่องจากผลการศึกษาชี้ว่า อัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนลดลงอย่างมากในหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งหลักฐานระบุว่าเด็กอาจลองสูบบุหรี่หากผู้ใหญ่ในบ้านสูบบุหรี่ ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงผลทางอ้อมจากการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ เพราะหากผู้ใหญ่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ก็อาจจะทำให้เด็กในบ้านกลายเป็นผู้สูบบุหรี่นั่นเองในเรื่องของการจำกัดรสชาติของบุหรี่ไฟฟ้า ทางราชวิทยาลัยให้ความเห็นว่าไม่แนะนำวิธีดังกล่าว เนื่องจากรสชาติเป็นตัวแปรหนึ่งที่ช่วยให้การเลิกบุหรี่ด้วยบุหรี่ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากหันกลับมามองที่ประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564 พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนนั้นมีอัตราต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรอื่นๆ ดังนั้น วาทกรรม นักสูบหน้าใหม่ อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงนัก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ เพศ เขตที่อยู่อาศัย และภาค พบว่ากลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่ สูงสุด (ร้อยละ 21.0) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 45-59 ปีและ 20-24 ปี(ร้อยละ 19.7 และ 18.5 ตามลำดับ) กลุ่มผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ12.7 สำหรับกลุ่มเยาวชน (อายุ 15-19 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุดคือ (ร้อยละ 6.2) ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560

เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขโดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้สำรวจ “พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย” โดยดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับประเทศ และระดับพื้นที่ระหว่างวันที่ 25 เมษายน-6 มิถุนายน 2566 มีผู้ตอบแบบสำรวจฯ จำนวน 61,688 คน พบว่าในภาพรวมของประเทศเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 9.1

สาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ไฟฟ้าจากคนรอบข้าง โดยส่วนใหญ่ถูกชักชวนจากเพื่อนร้อยละ 92.2 รองลงมาถูกชักชวนจากญาติร้อยละ 3.2 และจากคนในครอบครัวร้อยละ 1.6

จากการสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวจากการแบนบุหรี่ไฟฟ้าเพียงเพราะอ้างว่าต้องการคุ้มครองเยาวชน เพราะหากมีกฎหมายควบคุมจริงเช่นเดียวกับบุหรี่ธรรมดา เราอาจไม่ได้เห็นการเติบโตของตลาดใต้ดินและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนพุ่งสูงถึงร้อยละ 9.1 เช่นทุกวันนี้ดังนั้นแนวทางการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและการละเลยปัญหาที่แท้จริงอาจทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่สูงที่สุดในโลกทั้งที่มีการแบนมาตั้งแต่ปี 2557

ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแต่อนุญาตยาสูบให้ความร้อนก็พบข้อมูลที่น่าสนใจ โดยนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรบกวนการนอนหลับ และการใช้อินเตอร์เนตที่มากเกินไปในกลุ่มนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายญี่ปุ่นกว่า 15,800 ราย การสำรวจได้จัดทำขึ้นในโรงเรียนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ปีพ.ศ. 2564 โดยสำหรับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดทำได้สังเกตไปถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่มวน การใช้ยาสูบแบบใช้ความร้อน และการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และได้ทำการขอให้ผู้เข้าร่วมการสำรวจรายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในรายวันและรายเดือน

ผู้จัดทำสรุปได้ว่าความถี่ของการสูบบุหรี่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดและสัดส่วนของนักเรียนที่เคยสูบบุหรี่นั้นลดลงอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มที่ผ่านมาในอดีต นอกจากนี้สัดส่วนของนักเรียนที่เคยสูบบุหรี่ในเดือนก่อนหน้าและผู้ที่เคยสูบบุหรี่ทุกวันดูเหมือนจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว ในด้านของกฎหมายและข้อบังคับโดยเฉพาะการกำหนดราคาที่สูงขึ้น การยืนยันอายุและการจำกัดการใช้งานของเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ก็ส่งผลให้การซื้อบุหรี่ทำได้ยากขึ้น ผู้เข้าร่วมการสำรวจเห็นว่าอันตรายจากควันบุหรี่มือสองนั้นต่ำกว่าอันตรายที่ผู้สูบบุหรี่ได้รับ

นอกจากนี้ ยังเห็นว่าอันตรายจากการใช้ยาสูบแบบใช้ความร้อนนั้นต่ำกว่าอันตรายจากการสูบบุหรี่มวน โดยรวมแล้วการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคตินนั้นกำลังลดลง แต่ผู้จัดทำก็ได้เน้นย้ำว่าการสร้างการรับรู้ในเรื่องของอันตรายจากควันบุหรี่มือสองรวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนนั้นยังคงจำเป็นอยู่มาก

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาจากศูนย์สุขศึกษาแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี จากกลุ่มผู้้เข้าร่วมอายุ 12 ถึง 25 ปีกว่า 7,002 ราย ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าร้อยละ 0.3 ของวัยรุ่นและร้อยละ 2.5 ของผู้ใหญ่ พบว่าเคยใช้งานผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนมาก่อน ขณะที่ร้อยละ 0.1 ของวัยรุ่นและร้อยละ 0.5 ของผู้ใหญ่ระบุว่าได้มีการใช้งานผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าต่ำกว่าสัดส่วนวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่มวนอยู่มาก (ร้อยละ 8.7 ในวัยรุ่น และร้อยละ 32.0 ในผู้ใหญ่)

ขณะที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการสำรวจระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2561 ในกลุ่มนักเรียนอายุ 11 ถึง 15 ปีจำนวน 11,121 ราย พบว่า ร้อยละ 1.7 ของนักเรียนเคยลองใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน และร้อยละ 1.1 เคยใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งก็จัดว่าต่ำกว่าสถิติการสูบบุหรี่มวนอยู่มากเช่นกัน (ร้อยละ32.6 เคยสูบบุหรี่มาก่อน และร้อยละ 15.9 เคยสูบบุหรี่ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา)

ดังนั้น อาจสามารถสรุปได้ว่าข้อกังวลที่ว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนหรือบุหรี่ไฟฟ้าอาจดึงดูดให้เด็กและเยาวชนหันมาสูบบุหรี่มากขึ้นนั้นไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน โดยสรุปแล้ว การควบคุมที่ดีคือการสร้างสมดุลที่เหมาะสมและคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในสังคมทั้งผู้ที่สูบและไม่สูบบุหรี่ รวมถึงรับฟังความเห็นและพิจารณาโดยอิงจากหลักฐานและเหตุผล เพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนของเราโดยไม่ทิ้งผู้สูบบุหรี่เกือบ 10 ล้านคนไว้ข้างหลัง

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved