วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : หนุนภาคีระดับพื้นที่  ลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

สกู๊ปแนวหน้า : หนุนภาคีระดับพื้นที่ ลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

วันเสาร์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” เป็นปัญหาที่ไม่อาจแก้ได้ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาเพียงอย่างเดียว เพราะต้องเผชิญกับปัญหาซ้อนทับหลายมิติ เช่น เด็กยากจนต้องช่วยผู้ใหญ่ในครัวเรือนทำงาน (หรือแม้แต่เด็กต้องเป็นเสาหลักเลี้ยงทั้งครอบครัวเพราะผู้ใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยหรือแก่ชรา) เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กในพื้นที่ห่างไกล ฯลฯ อีกทั้งรัฐบาลส่วนกลางก็ไม่อาจดูแลได้ครอบคลุมทั้งหมด “การส่งเสริมความเข้มแข็งในระดับพื้นที่” ดึงทุกภาคส่วนในพื้นที่นั้นๆ มาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างครบวงจร จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว

ในงาน Direk Talk ประจำปี 2566 “บนทางแพร่ง ของกาลเปลี่ยนผ่าน” จัดโดยศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนามคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ชาย ไชยชิต อาจารย์สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายหัวข้อ “การบริหารงานเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : วิเคราะห์เครือข่ายระดับจังหวัด” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)


งานนี้มีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อน “การจัดการศึกษาระดับพื้นที่ (Area Based Education-ABE)” มีเป้าหมายเฉพาะคือ “ดูแลเด็กที่หลุดหรือเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา และที่ขาดโอกาสทางการศึกษา”บนโจทย์สำคัญคือ ทำอย่างไรในจังหวัดจะมีบทบาทการประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาควิชาการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อเข้าถึงเป้าหมายและสร้างความตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาภายในจังหวัด เพื่อค้นหารูปแบบการช่วยเหลือที่เหมาะสม

โครงการปี 2565 กสศ. สนับสนุน 12 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น สุรินทร์ ระยอง สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลาและปัตตานี ซึ่งผู้นำในการสร้างเครือข่าย บางจังหวัดริเริ่มโดยภาครัฐ (ส่วนกลาง) เช่น ศึกษาธิการจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บางจังหวัดริเริ่มโดยภาครัฐ (ส่วนท้องถิ่น) เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แต่บางจังหวัดก็ใช้ภาคประชาสังคม

ทั้งนี้ กสศ. กำหนดเป้าหมายไว้ 4 ประการ 1.มีกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่ในด้านการศึกษา 2.มีฐานข้อมูลระดับจังหวัดเพื่อดูแลเด็กกลุ่มเป้าหมาย 3.มีกลไกรณรงค์เปลี่ยนวิธีคิดให้คนในพื้นที่เห็นว่าการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่เป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องร่วมกันจัดการ และ 4.เกิดนวัตกรรมซึ่งหมายถึงรูปแบบใหม่ในการให้บริการสาธารณะที่มาจากการร่วมกันคิดของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย

อาจารย์ชาย ขยายความประเด็น “นวัตกรรม” ซึ่งหมายถึง“การดูแล ช่วยเหลือและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างครบวงจร”ว่า “ลำพังการพากลุ่มเป้าหมายเข้าระบบการศึกษา หรือสนับสนุนทุนการศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ” ต้องดูองค์ประกอบแวดล้อมด้วย เช่น ครอบครัวเด็กนั้นเป็นอย่างไร อาทิ สภาพที่อยู่อาศัย จำนวนหนังสือในบ้าน ฯลฯมิติที่หลากหลายเหล่านี้จำเป็นต้องมีกลไกการจัดการเครือข่าย

ข้อค้นพบจากการศึกษาใน 12 จังหวัดนำร่อง พบเครือข่าย 3 รูปแบบ คือ 1.Self-Governed Network (เครือข่ายจัดการตนเอง) เป็นเครือข่ายที่เหนียวแน่นและเป็นอิสระ มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ภาคีเครือข่ายในพื้นที่นั้นเคยทำงานร่วมกันมาแล้วในประเด็นสาธารณะเรื่องอื่นๆ การทำงานมักเป็นวงจำกัด การตัดสินใจเรื่องใดๆ มาจากการเห็นพ้องต้องกันของคนในภาคี รวมถึงการรับสมาชิกใหม่ด้วย ข้อดีคือมีประสิทธิภาพเนื่องจากทุกคนในภาคีรับรู้ร่วมกันตลอดขั้นตอนการทำงาน มีการเฉลี่ยบทบาทหน้าที่ แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะไม่ง่ายในการขยายวงให้กว้างขึ้น รวมถึงความสามารถในการจัดการปัญหาใหม่ๆ เพราะต้องให้ทุกคนมีความรู้และทักษะเหมือนกันจึงจะเดินไปด้วยกันได้

2.Lead Organiztion Network (เครือข่ายองค์กรนำ) แม้จะเป็นเครือข่ายเดียวกัน แต่จะมีองค์กรหนึ่งที่เหมือน “พี่ใหญ่” เครือข่ายแบบนี้มักเกิดในกรณีที่มีหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลัก เป็นหน่วยรับงบประมาณ จึงมีหน้าที่เขียนโครงการ ประสานภาคส่วนต่างๆ ว่าจะให้ใครมาเข้าร่วมเครือข่ายบ้าง กำหนดบทบาทด้วยว่างานใดจะทำเวลาไหนและโดยใคร ซึ่งองค์กรนำจะรู้จักสมาชิกในเครือข่ายทั้งหมด แต่องค์กรอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายอาจไม่รู้จักกันเองอย่างทั่วถึง ข้อดีคือมีประสิทธิภาพสูงในการขับเคลื่อนเพราะมีผู้นำหลักชัดเจน

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายแบบนี้ข้อจำกัดคือ ประสิทธิภาพขององค์กรนำขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มองเห็นโอกาสและพร้อมสนับสนุนทรัพยากรในการทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ซึ่งโดยมากที่พบคือภาคประชาสังคม (เช่น มูลนิธิ) หรือภาครัฐส่วนท้องถิ่น (เช่น อบจ.) จะมีบทบาทเป็นองค์กรนำขณะเดียวกัน การที่องค์กรอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายไม่รู้จักกันเองอย่างทั่วถึง หากเกิดความเปลี่ยนแปลงในองค์กรนำ (เช่น คนที่เคยทำงานไม่อยู่แล้ว นโยบายเปลี่ยนแปลง) การทำงานของเครือข่ายก็จะเฉื่อยลง เพราะขีดความสามารถในการทำงานไม่ถูกกระจายออกไป

และ 3.Network Administration Organization (องค์กรบริหารเครือข่าย) ในขณะที่เครือข่ายแบบที่ 2 องค์กรนำต้องแบกภาระหนักจากการทำงาน 2 หน้าที่ ทั้งภารกิจประจำขององค์กรตนเองและต้องออกไปทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆในเครือข่าย จึงเกิดเครือข่ายแบบที่ 3 นี้ ที่เป็นการนำตัวแทนและทรัพยากรขององค์กรต่างๆ ในภาคีมาร่วมกันทำงานในลักษณะแยกออกมาเป็นอีกองค์กรหนึ่ง มีคำเรียกว่าศูนย์บ้าง สถาบันบ้าง มีนักบริหารจัดการเครือข่ายที่เชี่ยวชาญด้านการประสานงาน และมีประสิทธิภาพในการขยายเครือข่าย

“การวิเคราะห์ผลลัพธ์ในระยะกลางและระยะยาว”มากไปกว่าการทำงานช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะหน้ามีปัจจัยต้องคำนึง เช่น ที่มาของเครือข่าย ซึ่งบางแห่งเป็นการต่อยอดจากเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ อาทิ สมัชชาสุขภาพ เครือข่ายทำงานด้านสิ่งแวดล้อม) จำนวนสมาชิกในเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน (อาทิ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ชายแดน กลุ่มเป้าหมายคือเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ ในขณะที่ จ.ระยอง เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายคือเด็กในครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่น) ทุนหรือทรัพยากรของเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก

“การมีองค์กรภาคส่วนอื่น เช่น ภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก แล้วก็มีการจัดทำโครงการ เช่น CSR แล้วก็พยายามเอาเงินมาลงกับโรงเรียน ลงโรงเรียนไหนก็โรงเรียนนั้น เพราะเขาอาจจะไม่รู้ว่าในพื้นที่จังหวัดนี้มันยังมีอีกหลายเรื่องให้ทำ ไม่ใช่แค่ซื้อของไปแจก ดังนั้น ถ้าเครือข่ายในพื้นที่มองเห็นทุนเห็นโอกาสแบบนี้ แล้วสามารถมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายได้ การจับคู่กันระหว่างคนที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับคนที่ต้องการรับการอุดหนุนช่วยเหลือ มันก็จะตรงเป้ามากขึ้น

อันนี้คือการวิเคราะห์ทรัพยากรว่าในพื้นที่มีอะไร มีทุนอะไร มีการสนับสนุนอย่างไร มีความเข้มแข็งของชุมชนอย่างไรส่วนทรัพยากรภายในของเครือข่าย ก็คือทุนทั้งหลายที่ถูกนำมาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งในการศึกษาวิเคราะห์เครือข่าย ทุนมีหลายประเภท ทั้งที่เป็นเงิน ที่เป็นกายภาพ ที่เป็นข้อมูลความรู้ ที่เป็นอำนาจ เป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเอามาแลกเปลี่ยนและไหลเวียนกัน ทุนภายนอก-ภายใน จะทำให้การจัดการเครือข่ายไปสู่ผลลัพธ์ได้” อาจารย์ชาย ระบุ

หากเจาะจงในประเด็นการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ จะมีองค์ประกอบ 4 เรื่อง 1.ระบบการศึกษา มีแนวทางจัดการเรียนการสอน หลักสูตรทางเลือกที่เข้าถึงเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง มีระบบคัดกรอง ระบบส่งต่อระหว่างโรงเรียนกับสถานประกอบการเพื่อรองรับเด็กหลุดออกนอกระบบ มีศูนย์ประสานการคุ้มครองเยียวยาที่มากกว่าเรื่องการศึกษา เช่น เด็กที่ถูกล่วงละเมิด ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ มีอาการเจ็บป่วยต้องได้รับการดูแล

2.กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับชั้นเรียน เช่น ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีนวัตกรรมหลากหลาย 3.การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะชีวิตของเด็กไม่ได้อยู่แต่ในโรงเรียน แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ครอบครัว ชุมชน อาทิ บางครัวเรือนเด็กกำลังอยู่ในหัดอ่าน-เขียน แต่ไม่มีหนังสือสักเล่ม การมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนรองรับจะช่วยเด็กกลุ่มนี้ได้ และ 4.กลไกการคุ้มครองทางสังคม เช่น การมีกองทุนระดับจังหวัด มีโครงข่ายคุ้มครองเด็ก

หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ จ.ระยอง ซึ่งมี อบจ. เป็นองค์กรนำขับเคลื่อนงาน โดย อบจ. ตั้งองค์กรที่เรียกว่า“RILA (Rayong Inclusive Learning Academy)”เพื่อระดมคนที่ทำงานด้านการศึกษาอย่างจริงจัง เช่น อดีตข้าราชการที่เกษียณอายุ เคยเป็นศึกษานิเทศก์มาก่อน คนเหล่านี้เคยทำงานและเข้าใจพื้นที่เป็นอย่างดี RILA จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่ให้คนเหล่านี้ทำงาน เป็นองค์กร “คลังสมอง” พร้อมไปกับการประสานเครือข่าย รวมถึงตั้งมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาจังหวัดระยอง ประสานภาคเอกชนนำเงินมาลงขันกันเพื่อส่งเสริมคนในจังหวัด

“เขาสามารถทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาระยองเพื่อคนระยองได้ ทั้งในเชิงของระบบ คือการมีหลักสูตรที่เป็นลักษณะเฉพาะ ทั้งการมีนวัตกรรมของการดูแล คือมีห้องเรียนที่มีรูปแบบการเรียนการสอนที่ Sensitive (ละเอียดอ่อน) ต่อความเหลื่อมล้ำ และสุดท้ายคือการมีกองทุนที่จะดูแลช่วยเหลือ” อาจารย์ชาย ยกตัวอย่าง

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

'สุริยะ'มั่นใจ! รักษาเก้าอี้'สส.ศรีสะเกษ'ได้แน่ มอบ'มนพร-สมศักดิ์'ดูแลเลือกตั้ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved