วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ลดไทยป่วยโรคเรื้อรัง  ‘กิจกรรมทางกาย’สำคัญ

สกู๊ปแนวหน้า : ลดไทยป่วยโรคเรื้อรัง ‘กิจกรรมทางกาย’สำคัญ

วันอาทิตย์ ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“กิจกรรมทางกาย” (หรืออีกคำหนึ่งที่คุ้นเคยกว่าคือ “การออกกำลังกาย”) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับสุขภาพ นั่นคือมีผลต่อการเพิ่มหรือลดโอกาสการป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิ โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ภาวะสมองเสื่อม มะเร็ง ฯลฯ ควบคู่ไปกับปัจจัยอื่นๆ อย่างการพักผ่อน การรับประทานอาหาร ความเครียด การใช้สารเสพติด (รวมถึงยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) หรือก็คือ โรค NCDs เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละคน

ย้อนไปเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. 2566 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพคนไทยในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในผู้ที่มีอายุ 18 - 80 ปี 78,717 คน ครอบคลุม 77 จังหวัด พบร้อยละ 76 มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยการนั่งตั้งแต่ 7 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน และร้อยละ 72 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ 150 นาทีต่อสัปดาห์


“สาเหตุหนึ่งที่คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานที่ใช้แรงกายลดลง เช่น เปลี่ยนจากการทำงานภาคเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรม เป็นรูปแบบการนั่งในห้องทำงานแทนส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากอัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำ” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

ในการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 “ประชากรและสังคม2566 หลากมิติ ในหนึ่งชั่วชีวิต” จัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเร็วๆ นี้ มีการบรรยายหัวข้อ “อัตรากิจกรรมทางกายรายอายุและเพศของประชากรไทย : การวิเคราะห์ช่วงชีวิต” โดยผู้บรรยายคือ สิทธิชาติ สมตานักวิจัยโครงการ ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคมฯ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้การประยุกต์เครื่องมือทางประชากรศาสตร์ นั่นคืออัตรารายอายุและเพศ ซึ่งนักประชากรศาสตร์จะใช้วิเคราะห์อัตราการเกิด การตายและการย้ายถิ่น

ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2555-2565 พบการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นเพิ่มขึ้น (ยกเว้นช่วงปี 2563-2564 ที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19) โดยในปี 2565 นั้น ประชากรไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพออยู่ที่ร้อยละ 62 ขณะที่เพศและช่วงอายุก็เป็นหนึ่งในปัจจัยกำหนดกิจกรรมทางกาย และงานวิจัยที่ผ่านมามุ่งศึกษาความไม่เท่าเทียมกันของระดับการมีกิจกรรมทางกายตามเพศและช่วงอายุ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม

“การศึกษานี้มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาอัตรารายอายุและเพศกับช่วงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย และแม้ทั่วโลกจะมีการศึกษาความชุกของการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพตัดขวางหรือข้อมูลระยะยาว ก็ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับอัตรารายเพศและอายุ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงบริบทของปัจจัยกำหนด รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างอายุและเพศเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย” สิทธิชาติ กล่าว

ข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การออกแบบ การวางแผน การรณรงค์เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายให้ครอบคลุมกับประชากรทุกช่วงอายุ โดย ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเก็บข้อมูลกิจกรรมทางกายของประชากรไทยมาต่อเนื่องหลายปี ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจาก “โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย (2559-2564)” มีกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลในแต่ละปีประมาณ 7,400-7,800 คน

ผลการศึกษาพบว่า 1.การรณรงค์หรือการจัดงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีผลทำให้กิจกรรมทางกายในภาพรวมของคนไทยเพิ่มขึ้น เช่น ในปี 2559 ที่มีกิจกรรมปั่นจักรยาน Bike for Dad ขณะที่ในปี 2560-2562 เป็นช่วงที่การจัดงานวิ่งได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในปี 2562 เป็นปีที่คนไทยมีกิจกรรมทางกายสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 74 และแม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะทำให้ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเพิ่มสูงขึ้นในปี 2563 แต่เมื่อภาครัฐพยายามรณรงค์ (อาทิ Fit from Home) ก็ทำให้ในปี 2564 ปัญหาดังกล่าวลดลง

2.การเปลี่ยนผ่านของร่างกายและบทบาททางสังคมของคนแต่ละช่วงวัยมีผลต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ โดยพบว่า วัยเด็ก (อายุ 5-14 ปี) มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพออยู่ที่ร้อยละ 76 และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเข้าสู่การเป็นเยาวชน (อายุ 15-19 ปี) อยู่ที่ร้อยละ 58 จากนั้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ (อายุ 20-59 ปี) อัตรากิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอจะอยู่ในระดับต่ำและคงที่ ประมาณร้อยละ 30-38 ก่อนที่การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

ซึ่งมีคำอธิบาย คือ ในวัยเด็กความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อยังเป็นข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวร่างกาย กระทั่งเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ตั้งแต่การเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไปจนถึงการทำงานในอาชีพต่างๆ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากขึ้น สุดท้ายเมื่อชีวิตเดินทางถึงวัยเกษียณร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอยลงส่งผลให้การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

3.เพศมีผลต่อความแตกต่างของระดับและแบบแผนของการมีกิจกรรมทางกาย โดยพบว่า หญิงพบการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอสูงกว่าชาย และเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเร็วกว่า กล่าวคือ ในขณะที่ชายพบการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอในอายุเฉลี่ยที่ 70 ปี แต่หญิงจะเริ่มพบเมื่ออายุเฉลี่ย 60 ปี และ 4.การเพิ่มขึ้นและลดลงของกิจกรรมทางกายดูคล้ายกับอัตราการตายแบบดั้งเดิม (Classic Mortality Curve) ซึ่งช่วงวัยเด็กอัตราการตายจะสูง จากนั้นลดลงในช่วงเยาวชน ก่อนจะเริ่มกลับมาเพิ่มอีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ และเพิ่มมากในวัยผู้สูงอายุ

“การออกแบบนโยบายที่มีความเฉพาะและตรงตามความต้องการของประชากรในทุกกลุ่มวัย จะทำให้ประชากรนั้นมีโอกาสในการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ขณะเดียวกัน นโยบายเหล่านั้นจะนำมาสู่ความเสมอภาคในทุกกลุ่มวัยประชากร แม้จะเป็นกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของคนที่ไม่ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย กลุ่มผู้หญิง กลุ่มประชากรวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ ที่เราจะพบว่ามีอัตรากิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอสูง หากเรามีการส่งเสริมแบบเสมอภาคในเรื่องการส่งเสริมความรู้ แนวทางในการปฏิบัติที่แตกต่างกันและเหมาะสม จะทำให้ประชากรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มมากขึ้น” สิทธิชาติ ฝากทิ้งท้าย


SCOOP@NAEWNA.COM
 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved