วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
โครงสร้างประชากรไทยน่าห่วง เด็กเกิดน้อยแถมส่วนหนึ่งยังตายก่อนวัยอันควร

โครงสร้างประชากรไทยน่าห่วง เด็กเกิดน้อยแถมส่วนหนึ่งยังตายก่อนวัยอันควร

วันเสาร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2566, 09.10 น.
Tag : ประชากรไทย ประชากรไทย เด็กเกิดน้อย ตายก่อนวัยอันควร
  •  

วันที่ 16 กันยายน 2566 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 15 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีการจัดเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ หรือ Policy Dialogue ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อย ปัญหาและทางออก” โดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายองค์กร ซึ่ง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการ สช.  กล่าวว่า เวทีในครั้งนี้เพื่อหยิบยกปัญหาสำคัญของประเทศขึ้นมาพูดคุยและสื่อสารกับสังคม ขณะเดียวกันก็จะสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับรัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันปัญหาเรื่องของเด็กเกิดน้อยเป็นปัญหาใหญ่ มีความซับซ้อน และอนาคตจะส่งผลกระทบอย่างมาก ไม่ว่ากระทบในแง่ของทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และทางด้านสุขภาพ โดยในอดีตประเทศไทยเคยประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการคุมกำเนิด เรื่องประชากรที่เติบโตขยายตัวเร็วตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว แต่การแก้ไขปัญหาประชากร ณ เวลานั้นทำได้ง่าย เพราะมาตรการสำคัญคือเรื่องมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น การคุมกำเนิด การทำหมัน การให้ความรู้ เหล่านี้ทำได้ง่ายและประสบผลสำเร็จ


“แต่ปัญหาใหม่ที่เราเจอนอกจากปัญหาสังคมสูงวัยแล้ว ปัญหาเด็กเกิดน้อยมันมีความซับซ้อนกว่า เพราะมันไม่ใช่แก้ไขด้วยมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของวิถีชีวิต เรื่องของวัฒนธรรม เรื่องทางเศรษฐกิจ ดังนั้นมันมีความจำเป็นที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาจับมือกัน โชคดีที่ขณะนี้เรามีแผนประชากรของสภาพัฒน์เรียบร้อยแล้ว เรามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จับเรื่องนี้อยู่ และล่าสุดนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันก็ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่” นพ.ประทีป กล่าว

นางพรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเด็กเกิดน้อยจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหนึ่งในตัวเลขเศรษฐกิจที่หลายคนคุ้นเคยและติดตาม คือตัวเลขดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์นั้นก็มีที่มาจากผลของธุรกิจของประเทศไทยทั้งหมด โดยขนาดหลักหลักทรัพย์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (Market Cap ต่อ GDP) เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 121 ซึ่งสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจหลายๆ ตัวที่เกิดขึ้น

ดังนั้นหากโครงสร้างประชากรมีผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งสังคมและเศรษฐกิจก็ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การลดลงของประชากรวัยแรงงาน คนรุ่นใหม่มีน้อยลง ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่จะมีภาระดูแลผู้สูงอายุก็จะมีเพิ่มขึ้น และเมื่อส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็จะสะท้อนกลับมาเป็นผลการดำเนินการต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์ด้วย การเตรียมตัวเพื่อพร้อมรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน และคิดว่าพลังจากหลายส่วนก็เป็นกำลังหลักสำคัญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยินดิอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสนับสนุนการหารือครั้งนี้

นางพรรณวดี กล่าวต่อไปว่า อีกส่วนหนึ่งที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดำเนินการมาตลอด ในเรื่องของการให้ความรู้กับประชาชน ซึ่งมองเห็นสภาพความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของโครงสร้างประชากรมาเช่นเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ทำคือการให้ความรู้กับคนในทุกระดับ เช่น ในชั้นล่างของอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

จะมี Investory ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียน-นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเข้ามาเรียนรู้ในเรื่องของการเงินและการลงทุน

นอกจากนั้นยังมีโครงการสร้างทักษะความรู้ทางการเงิน หรือ Financial Literacy ในชื่อโครงการ Happy Money และล่าสุดกับปี 2566 ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่งสมบูรณ์ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป น่าจะแตะร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด จึงมีการพัฒนาหลักสูตร Happy Money , Happy Young Old ส่งมอบให้หน่วยงานที่เป็นพันธมิตรตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2566  โดยเริ่มพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน

“วัยหลังเกษียณจะแตกต่างจากคนที่เก็บเงิน คนวัยหลังเกษียณก็จะต้องใช้เงินที่ตัวเองมีอยู่ สำหรับบางท่านที่ยังคงทำงาน ดำเนินกิจการหรือประกอบอาชีพได้ก็ถือว่าเป็นโชคดี ถ้ามีทั้งงานด้วยมีทั้งเงินเก็บด้วย แต่บางคนไม่มีเงินเก็บก็ต้องทำงานต่อไป ส่วนคนที่มีเงินเก็บอยู่แล้วก็จะต้องมีวิธีการบริหารจัดการเงินที่ตัวเองมีอยู่ด้วย ดังนั้นวิธีการแบบนี้ รวมทั้ง Mindset (วิธีคิด) แบบนี้ ความรู้แบบนี้ไม่ค่อยมีคนทำกัน เพราะเราเร่งทำแต่การออม-การลงทุน ไม่ได้นึกถึงภาพว่าถ้าเกิดมีเงินแล้วแหล่งเงินนี้เป็นก้อนสุดท้ายของคนวัยเกษียณแล้วจะต้องดูแลอย่างไร” นางพรรณวดี กล่าว

น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่า ในปี 2508 อัตราการเกิดของเด็กไทยอยู่ที่ 6 คน แต่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1 คน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดที่ต่ำกว่าระดับประเทศ โดยอยู่ที่ 0.95 ในขณะที่อัตราการเกิดที่เป็นค่าเฉลี่ยของไทยคือ 1.6 นอกจากนั้นยังพบว่า สมุทรสงคราม ชัยนาทและสิงห์บุรี เป็นจังหวัดที่มีอัตราการเกิดน้อยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มแม่วัยรุ่นยังมีอัตราการคลอดบุตรค่อนข้างสูง อยู่ที่ 24.4 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี โดยเฉพาะ จ.ตาก มีอัตราแม่วัยรุ่นสูงต่อเนื่องติดต่อกัน ส่วนอัตราพึ่งพิง เมื่อคนวัยทำงานลดลงแต่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น อัตราการพึ่งพิงย่อมสูงขึ้นไปด้วย เช่น ในปี 2556 อัตราการพึ่งพิงอยู่ที่ร้อยละ 39 แต่ปี 2565 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 44 ทั้งนี้ ภาพโครงสร้างประชากรไทยในอนาคต จะแบ่งเป็น Gen X กับ Gen Y รวมกันที่ร้อยละ 45 Gen Z ร้อยละ 40 และ Baby Boomer ร้อยละ 15

“ถ้าดูเฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ก็จะพบเด็กปฐมวัย เรามีการคาดประมาณไว้คือจะลดลง เช่น ในปี 2566 เรามีเด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ปี 4.3 ล้านคน แต่ถ้าปี 2583 จะเหลือแค่ 3.1 ล้านคนเท่านั้น นอกจากนี้ การตายของทารกแรกเกิดก็ยังสูง อยู่ที่ 2,718 คน คิดเป็น 5.2 คนต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน คือนอกจากเกิดน้อยแล้วเกิดมายังต้องตายอีก ไม่พอยังตายก่อนวัยอันควรก็ยังมีอีก คืออุบัติเหตุก็มีการตายถึง 668 ราย จมน้ำอีก 667 ราย แต่เราพูดว่าเรามีประชากรน้อย เด็กเกิดน้อย แต่ขณะเดียวกันเด็กที่เกิดมาแล้วเราก็ยังรักษาให้รอดต่อไปยังยากเลย” น.ส.วรวรรณ กล่าว

ภายในงานยังมีวงเสวนา โดยวิทยากร 5 ท่าน ประกอบด้วย นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน , นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน , น.ส.สุภัค วิรุฬหาการุญ ผู้อำนวยการฝ่ายห้องปฏิบัติการนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17-18 และ นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ ผู้อำนวยการกองมารดา และทารก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

 

 

 

 

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

พาณิชย์สวน‘เท้ง’วัยรุ่นหลงยุค ย้ำไลฟ์สดช่วยดันยอดขายผลไม้ไทยได้จริง

ถึงคราวรื้อโครงสร้าง! 'เจิมศักดิ์'ชี้เงินคืออสรพิษ ซัดโครงสร้างบริหารหละหลวม ต้นเหตุเจ้าอาวาสโกง

2 ตำรวจสายตรวจคู่หูขับ จยย.ไล่ล่ารถต้องสงสัยเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต 1 นาย

เมเจอร์ที่3! 'เชฟเฟลอร์'แชมป์พีจีเอแชมเปี้ยนชิพ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved