วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’  ความขัดแย้งที่ไม่เห็นจุดสิ้นสุด

รายงานพิเศษ : ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’ ความขัดแย้งที่ไม่เห็นจุดสิ้นสุด

วันอาทิตย์ ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 07.15 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

“เด็กชายรามี่ เป็นเด็กชาวปาเลสไตน์เกิดในแผ่นดินสงครามและการทำลาย ชีวิตวัยหนุ่มไม่ทันได้ใช้ , ศรัทธาแห่งศาสนาอยู่เหนือความตาย แตกต่างไม่อาจร่วมแผ่นดินเดียวกันได้ จึงทำสงคราม แยกแผ่นดินปาเลสไตน์” บทเพลง “ด.ช.รามี่” ผลงานของศิลปินเพื่อชีวิต “พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” บอกเล่าเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งซึ่งเกิดมาเป็นชาวปาเลสไตน์แล้วต้องเผชิญกับความขัดแย้งกับชาวอิสราเอล

บทเพลงนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2544 ในอัลบั้มใต้ดวงตะวัน กระทั่งกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง กับเหตุการณ์ที่ “กลุ่มฮามาส” กองกำลังติดอาวุธยกพลข้ามแดนจากฝั่งปาเลสไตน์บุกโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2566 ตามด้วยการตอบโต้อย่างรุนแรงของกองทัพอิสราเอล มีการปิดทางเข้า-ออก และระดมทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ฉนวนกาซาของปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องบอกว่า ความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” หากมองตามประวัติศาสตร์โบราณอาจยาวนานนับพันปี แต่อย่างน้อยที่สุดที่ชัดเจนก็ยาวนานหลายสิบปีนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้น


เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดบรรยายเรื่อง “The Shifting Dynamics of the Israel-Palestine Conflict” โดยมีอาจารย์ประจำคณะที่เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลาง คือ แม็ทธิว ร็อบสัน (Matthew Robson) เป็นผู้บรรยาย และมี ผศ.ดร.วรรณภา ลีระศิริ หัวหน้าสำนักวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นล่ามแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

อาจารย์แมทธิว กล่าวว่า การโจมตีของกลุ่มฮามาสในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการส่งกองกำลังภาคพื้นดินข้ามพรมแดนเข้าไปในอิสราเอล อีกทั้งการโจมตียังไม่เลือกเป้าหมาย ส่งผลให้ผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และถูกจับเป็นตัวประกันจำนวนมากเป็นพลเรือนไม่ใช่ทหาร ส่วนการจับตัวประกันก็เพื่อไว้ต่อรอง ซึ่งรวมถึงการขอแลกเปลี่ยนกับคนของฝ่ายตนที่ถูกจับกุมในอิสราเอลด้วย นอกจากนั้นก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจรจาสันติภาพขึ้นในอนาคต แต่หลังจากนั้นอิสราเอลก็ตอบโต้กลับอย่างรุนแรงโดยไม่เลือกเป้าหมายเช่นกัน

“ปกติแล้วหน่วยข่าวกรองของอิสราเอลจัดเป็นหน่วยข่าวกรองที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ไม่ว่าจะมีปฏิบัติการอะไรมักจะทราบได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนยิงจรวดเข้ามาโจมตีในฝั่งอิสราเอลก็จะรู้ก่อน แต่ในครั้งนี้เป็นครั้งที่น่าประหลาดใจที่หน่วยข่าวกรองอิสราเอลไม่ทราบมาก่อนแล้วก็ทำให้เกิดการโจมตีที่ค่อนข้างรุนแรง” อาจารย์แมทธิว กล่าว

ในพื้นที่พิพาทอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ในส่วนของปาเลสไตน์มีดินแดน 2 แห่ง คือเวสต์แบงก์ (West Bank) ซึ่งอิสราเอลส่งทหารจำนวนมากเข้าไปควบคุม ขณะที่ฉนวนกาซา (Gaza Strip) อิสราเอลไม่ได้ส่งทหารเข้าไป แต่ใช้วิธีปิดล้อมและกดดัน โดยการเข้า-ออกจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากอิสราเอลแม้แต่ทางทะเล นั่นทำให้ชาวปาเลสไตน์จึงพยายามต่อสู้มาตลอดอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา

แต่ในทศวรรษ 1980 (ปี 2522-2532) เริ่มมีความเห็นในหมู่ชาวปาเลสไตน์ ว่าการใช้กำลังอาวุธ หรือการก่อวินาศกรรมต่างๆ เพื่อให้ชาวโลกหันมารับฟังปัญหาไม่ใช่วิธีที่ได้ผล จึงเริ่มหันไปใช้การเรียกร้องโดยสันติวิธีแทน กระทั่งล่าสุดได้หวนกลับไปใช้ความรุนแรงอีกครั้งเพราะสันติวิธีก็ไม่ได้ผล ด้วยแรงกดดันจากสภาพความเป็นอยู่อย่างยากจนแร้นแค้นของชาวปาเลสไตน์ทั้งที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ถึงขนาดที่มีคำกล่าวว่า “สำหรับเด็กที่เติบโตมาที่นี่..มันไม่ต่างอะไรกับนรกบนดิน” นโยบายของอิสราเอลทำให้ชีวิตของชาวปาเลสไตน์ยากที่จะดีขึ้นได้

เมื่อดู “การเมืองภายใน” ของแต่ละฝั่ง ในดินแดนของปาเลสไตน์ยังมีผู้ปกครองที่แตกต่างกัน ขณะที่ฝั่งเวสต์แบงก์ปกครองโดยกลุ่มฟาตาห์ซึ่งเลือกใช้สันติวิธี แต่ฝั่งฉนวนกาซาปกครองโดยกลุ่มฮามาสซึ่งมีแนวคิดหัวรุนแรง ดังนั้นจึงยังไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้นำที่แท้จริงของปาเลสไตน์ เพราะทั้ง 2 กลุ่มต่างพยายามชิงกันแสดงบทบาทนั้น รวมถึงกรณีล่าสุดที่กลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล

ในทางกลับกัน รัฐบาลอิสราเอลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เบนจามิน เททันยาฮู (Benjamin Netanyahu) ก็มีแนวคิดแบบ “สุดโต่ง” เช่นกัน อาทิ การสนับสนุนการขยายอาณาเขตของอิสราเอลเข้าไปพื้นที่ของปาเลสไตน์ การตั้งบุคคลที่มีแนวคิดหัวรุนแรงให้มีตำแหน่งสำคัญในงานด้านความมั่นคงซึ่งส่งผลกับการปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ แต่ก็มีข้อสังเกตว่านายกฯ เนทันยาฮู ซึ่งกำลังเผชิญกับการถูกตรวจสอบในข้อกล่าวหาต่างๆ เลือกใช้นโยบายสุดโต่งเพราะต้องเบี่ยงเบนความสนใจของสังคมอกไปจากตนเองหรือไม่

“อีกอันหนึ่งที่อาจวิเคราะห์ได้ว่าทำไมเขาถึงเลือกดำเนินนโยบายในลักษณะนี้ ก็อาจเป็นเพราะว่าตัวเนทันยาฮูเอง ต้องการที่จะใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายใต้โฮมหน้าของความรักชาติอะไรก็ตาม เพื่อที่จะดึงความสนใจจากตัวเขาที่กำลังตกอยู่ในการจับจ้องของประชาชนในเรื่องของการกระทำความผิดต่างๆ ของเขา กลับไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์”อาจารย์แมทธิว ระบุ

จากการเมืองภายในสู่ “การเมืองระดับภูมิภาค” ซึ่งระยะหลังๆ อิสราเอลพยายามกระชับความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะประเทศที่ยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเรื่องนี้ อาจารย์แมทธิว อธิบายว่า ในตะวันออกกลางยังมีประเทศใหญ่อย่าง “อิหร่าน” เป็นอีกตัวแสดงหนึ่ง อิหร่านในอดีตเคยปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ต่อมาก็ถูกปฏิวัติโค่นล้มไป ทำให้บรรดาประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางที่ยังปกครองด้วยระบอบดังกล่าว หันไปดึงอิสราเอลที่ไม่ถูกกับอิหร่านอยู่แล้วมาคานอำนาจ

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น สำหรับชาวปาเลสไตน์ย่อมรู้สึก “ทำไมทำกับชาวอาหรับด้วยกันแบบนี้?” ชาวปาเลสไตน์คาดหวังให้รัฐชาติต่างๆ ของอาหรับสนับสนุนแต่กลับถูกทอดทิ้ง ซึ่งนี่ก็อาจเป็นสาเหตุให้กลุ่มฮามาสตัดสินใจใช้ปฏิบัติการความรุนแรง เพื่อประกาศว่า “ไม่ว่าอิสราเอลจะสร้างสัมพันธ์กับอีกกี่ประเทศ แต่ ณ ตรงนี้ปาลสไตน์ยังยืนหยัดสู้” รวมถึงย้ำกับรัฐชาติอื่นๆ ว่าจะเพิกเฉยกับชะตากรรมของชาวปาเลสไตน์ไม่ได้

“อันนี้ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่สำคัญ ความรู้สึกที่ตัวเองถูกหักหลัง ความรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนไม่มีพันธมิตร เพราะฉะนั้นอำนาจการต่อรองมันก็น้อยลง ก็ต้องส่งเสียงให้ดังมากขึ้น กระตุ้นมากขึ้น เพราะเราต้องไม่ลืมว่าการใช้ความรุนแรงในลักษณะที่เราเรียกว่าเป็นการก่อการร้าย มันไม่ใช่การใช้ความรุนแรงเพื่อความรุนแรง แต่มันเป็นการใช้ความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง อันนั้นก็คือเป้าหมายของกลุ่มฮามาส”อาจารย์แมทธิว กล่าว

 

SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved