ขอนำ มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University)ของจีนมาเป็นตัวอย่าง มหาวิทยาลัยชิงหัว (TsinghuaUniversity) ได้จัดตั้ง UICC ขึ้นในปี ค.ศ. 1995 หรือเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ปัจจุบันมีความร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมของต่างประเทศและบริษัทอุตสาหกรรมของประเทศจีน ทำให้คณะกรรมการ UICC ของมหาวิทยาลัยมีสมาชิกมากกว่า 190 บริษัทที่ประกอบด้วยบริษัทของจีน 150 แห่ง และบริษัทต่างประเทศ 40 แห่ง
บริษัทที่สำคัญของประเทศจีนที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชิงหัว อาทิ Bao Steel Group, China Telecom, Shanghai Automotive, China MetallurgicGroup Corp., China Huaneng Group Cooperation,Shenhua Group, Yalong Hydropower, Huawei, Sichuan Changhong Electric, Dongfang Electric,Guangdong Nuclear Energy Development Group, Juhua Group, ฯลฯ
บริษัทต่างประเทศที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชิงหัว อาทิ Toyota, UTC (United Technologies Corporation, USA), GM (General Motor, USA), P&G (Procter & Gamble, USA), Siemens, Boeing, Toshiba, Samsung, Microsoft, Hitachi, Sone, KONE, ฯลฯ
ในการร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิงหัวตั้งหน่วยงานขึ้นมา เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) ด้วยการใช้ศักยภาพของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการดูดซับ (Absorptive capacity)
ในช่วงปี ค.ศ. 2006-2013 มหาวิทยาลัยชิงหัว ได้ตั้งหน่วยงานความร่วมมือกับบริษัทอุตสาหกรรมต่างประเทศ ดังนี้
ค.ศ. 2006
(1) ความร่วมมือกับ Toyota ของญี่ปุ่น ตั้ง “Joint Research Center” เพื่อส่งเสริมการบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรม การศึกษา และการวิจัย
ค.ศ. 2007
(1) ความร่วมมือกับบริษัท United Technology Corporation (UTC) ของสหรัฐอเมริกา ตั้ง “Tsinghua-UTC Joint Research Center on Building EnergyEfficiency, Safety and Control”
ค.ศ. 2008
(1) ความร่วมมือกับ Siemens ของเยอรมนี ตั้ง “Center of Knowledge Interchange (CKI)” เพื่อกิจกรรมร่วมในด้าน Energy Science, Industrial Automation and Medicare
ค.ศ. 2009
(1) ความร่วมมือกับบริษัท Veolia ของฝรั่งเศส ตั้ง “Tsinghua-Veolia Advanced Environment Technology Joint Center” ในการวิจัยและพัฒนาในด้าน water treatment, water resource management and waste disposal
ค.ศ. 2010
(1) ความร่วมมือกับบริษัท Johnson & Johnson ของสหรัฐอเมริกา ตั้ง “Tsinghua-Janssen Contagious Research Project”
(2) ความร่วมมือกับบริษัท Boeing ของสหรัฐอเมริกา ตั้ง “Tsinghua-Boeing Research Center”
(3) ความร่วมมือกับบริษัท PIM ของสหรัฐอเมริกา ในโครงการทดสอบ Automatic Control Technology และทำให้เป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนสามารถส่งออก Advanced
Grid Control Technology ไปอเมริกา
ค.ศ. 2011
(1) ความร่วมมือกับบริษัท Hach ของสหรัฐอเมริกา โครงการ “Water Quality Monitoring Technology and Equipment”
(2) ความร่วมมือกับ Swire Properties ของฮ่องกง ตั้ง “Joint Research Center for Building Energy Efficiency and Sustainable Development”
(3) ความร่วมมือกับ Toshiba ของญี่ปุ่น ตั้ง “Tsinghua-Toshiba Energy and Environment
Research Center”
(4) ความร่วมมือกับ Toyota ของญี่ปุ่น ตั้ง “Tsinghua University-Toyota Research Center”
(5) ความร่วมมือกับ Phillips ของเนเธอร์แลนด์ ตั้ง “Biomedical Imaging Research Center”
ค.ศ. 2012
(1) ความร่วมมือกับ United Technologies Corporation (UTC) ของสหรัฐอเมริกา ตั้ง “Tsinghua-UTC Joint Research Center of ArchitecturalEnergy Saving, Safety and Control”
(2) ความร่วมมือกับ Siemens ของเยอรมนีตั้ง “Tsinghua-Siemen Center for KnowledgeInterchange”
(3) ความร่วมมือกับบริษัทฮ่องกง ตั้ง “Tsinghua University-Chinluck Frontier Science Research Center”
(4) ความร่วมมือกับบริษัท Statoil ASA ประเทศนอร์เวย์ ตั้ง “Cooperation Project”
(5) ความร่วมมือกับ Bristol-Myers Squipp ของสหรัฐอเมริกา โครงการ “Biopharmaceutical”
(6) ความร่วมมือกับ Bayer Healthcare ของเยอรมนี ตั้ง “Institute of Biomedicine”
(7) ความร่วมมือกับ MIT ของสหรัฐอเมริกา ตั้ง “Tsinghua-MIT Program Energy and Climate Change”
ค.ศ. 2013
(1) ความร่วมมือกับ Microsoft ของสหรัฐอเมริกา ตั้ง “Tsinghua University-Microsoft Joint Research Center Innovation and Intellectual Property”
(2) ความร่วมมือกับ Samsung ของเกาหลีใต้ ตั้ง “Tsinghua University-Beijing
Samsung Telecom R&D Center Joint Laboratory for Intelligent Media Computing”
(3) ความร่วมมือกับ Daimler Greater China ของเยอรมนี ตั้ง “Joint Research Center forSustainable Transportation”
(4) ความร่วมมือกับ Samsung Electronics Co., Ltd. ของเกาหลีใต้ ตั้ง “Tsinghua-Samsung Semiconductor Joint Lab”
(5) ความร่วมมือกับบริษัท Intel ของสหรัฐอเมริกาตั้ง “Tsinghua-Intel Collaborative ResearchInstitute of Mobile Networking and Computing”
(6) ความร่วมมือกับบริษัท Mitsubishi ของญี่ปุ่น ตั้ง “Tsinghua-Mitsubishi Heavy Industry (MHI) R&D Center”
มหาวิทยาลัยชิงหัวได้นำความรู้และประสบการณ์จากการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทอุตสาหกรรมต่างประเทศ มาทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาต่อยอด แล้วใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัย “ถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อ” ด้วยการทำงานร่วมกันกับบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ ของจีน มีการทำข้อตกลงเป็น Strategic partners กัน เช่นกับ บริษัท China Electronics Corporation, COMAC, Sichuan Changhong, China Hydropower Engineering Consultant Group, China Dongfang Electric Corporation, China Huaneng Group, Datang Electric Group, China State Construction Engineering Corporation, China Telecom, China Metallurgic Group, Ningxia Pagoda Petrochemical Group, Hainan Development Holding ฯลฯ
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยชิงหัว ยังมีบริษัทในรูปแบบ University-Run-Enterprises (URE) อีกจำนวนมากที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และในปัจจุบันมีมูลค่าในตลาด (Market value) รวมกันเป็นมูลค่าหลายแสนล้านหยวน หรือเป็นล้านล้านบาท ประกอบด้วยบริษัท Tsinghua Holdings Co., Ltd., Tsinghua Unigroup, Tellhow Sci-Tech Co., Ltd., Chengzhi Shareholding Co., Ltd., TongfangCo., Ltd., Unisplendor Guhan Group Co., Ltd., Harbin Gong Da High-Tech Enterprise Development Co., Ltd., ฯลฯ
โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี