วันเสาร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
‘คนไทย’มีปัญหา‘สุขภาพจิต’อื้อ  ‘เยาวชน-วัยเรียน’กลุ่มเสี่ยงน่าห่วง

‘คนไทย’มีปัญหา‘สุขภาพจิต’อื้อ ‘เยาวชน-วัยเรียน’กลุ่มเสี่ยงน่าห่วง

วันอาทิตย์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : ปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพจิต
  •  

ผ่านพ้นไปแล้วกับ “งานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพระดับชาติครั้งที่ 2” ช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่ง “สุขภาพจิต” เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูดในงานนี้ โดย นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ไทยมีประชากร 10 ล้านคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 3 ล้านคน ที่ได้รับการรักษาในระบบสาธารณสุข โดยยังมีอีกจำนวนมากที่ตกหล่นและไม่เข้าถึงการรักษา

“จากข้อมูล Mental Health Check-in ของกรมสุขภาพจิต พบสถานการณ์สุขภาพจิตคนไทยทุกช่วงอายุ ระหว่างปี 2563-2567 มีความเครียดสูง 8.04% มีภาวะเสี่ยง
ซึมเศร้า 9.47% และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 5.39%เฉพาะเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีมีความเครียดสูง 24.83% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 29.51% และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึง20.35% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าวัยทั่วไป สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียดความเหนื่อยล้า การโดนล่วงละเมิดทางเพศบนออนไลน์ ขณะที่จิตแพทย์เด็กมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย” โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าว


ขณะที่ ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธานคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (TUN-HPN) ประจำปี 2565และรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ประเทศไทยมีนักศึกษาประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งจากผลสำรวจประเด็นสุขภาพจิตของนักศึกษา 9,050 คน ภายใต้โครงการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิต-นักศึกษา ในมหาวิทยาลัย ปี 2565 พบนิสิต-นักศึกษาจำนวนมากมีปัญหาสุขภาพจิต

อาทิ พบนักศึกษาที่มีความเครียดบ่อยครั้งถึงตลอดเวลา 40% มีความรู้สึกเศร้า 30% เคยทำร้ายตัวเอง 12% เคยคิดฆ่าตัวตาย 4% และถูกวินิจฉัยว่ามีอาการจิตเวช 4.3% อีกทั้งระหว่างปี 2560-2564 ยังพบนักศึกษาฆ่าตัวตายมากถึง 14 คน โดยพบมากที่สุดในปี 2564 ถึง 7 ราย คิดเป็น 50% ของจำนวนนักศึกษาฆ่าตัวตายทั้งหมด และคาดว่ายังมีตัวเลขที่ไม่ถูกเปิดเผย

“เครือข่าย TUN-HPN จึงต้องมีแนวทางมีแนวทางดูแล และระบบช่วยเหลือนักศึกษาโดยทำงานร่วมกับเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข 4 ด้าน ได้แก่1.ป้องกันและการส่งเสริมปัญหาสุขภาพจิต2.ดูแลช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา พร้อมส่งต่อให้หน่วยงานเครือข่าย 3.สร้างเครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งไร้รอยต่อ 4.สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานช่วยเหลือนิสิต มีการประเมินผลและติดตามอย่างต่อเนื่อง”ศ.ดร.นพ.นรินทร์ กล่าว

ด้าน ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกประสบปัญหาสุขภาพจิต และจิตเวช มีประชากรโลกมีปัญหาจิตเวชมากถึง1 ใน 4 หรือ 450 ล้านคน ส่งผลกระทบต่อความสามารถการใช้ชีวิต ซึ่ง สสส. มียุทธศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพจิต (Mental Health Promotion) ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมสุขภาพทางกาย

“สสส. เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตรวมถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด จึงสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย ASEANUniversity Network หรือ AUN-HPN และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ TUN-HPN ในการขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสุขภาพทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน สนับสนุนการทำวิจัยร่วมในประเด็นสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงเวทีพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์” ณัฐพันธุ์ กล่าว

ทั้งนี้ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพฯ ในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาแนวทาง กระบวนการ และนวัตกรรม ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นของนิสิต นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพลดการสูญเสียชีวิตและโอกาสทางสังคมต่อไป!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ละเลย’สูญเสียมหาศาล ‘ใจคนทำงาน’สำคัญต้องดูแล ‘ละเลย’สูญเสียมหาศาล ‘ใจคนทำงาน’สำคัญต้องดูแล
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘สุขภาพจิต’เรื่องใหญ่  ‘ชุมชน’ตัวแปรร่วมดูแลได้ สกู๊ปแนวหน้า : ‘สุขภาพจิต’เรื่องใหญ่ ‘ชุมชน’ตัวแปรร่วมดูแลได้
  •  

Breaking News

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

คนร้ายยิงชาวบ้านเสียชีวิต ขณะกลับจากโรงพยาบาลดับคาถนน จ.ปัตตานี

'ในหลวง-พระราชินี'ทรงเปิดป้ายชื่ออุโบสถกลางน้ำ'ทศมราชบพิตรปุณฑริกาคารสีมา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved