วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘สุขภาพจิต’เรื่องใหญ่  ‘ชุมชน’ตัวแปรร่วมดูแลได้

สกู๊ปแนวหน้า : ‘สุขภาพจิต’เรื่องใหญ่ ‘ชุมชน’ตัวแปรร่วมดูแลได้

วันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2567, 05.50 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า สุขภาพจิต
  •  

“หลายที่ตอนเราไปทำ ที่โรงเรียนสอนศาสนาที่ปัตตานี คุณครูก็บอกว่าเอามาเช็คทำไม? เด็กที่นี่สุขภาพจิตดี เราเห็นเด็กหัวเราะร่าเริง เล่นเกม ออกกำลังกาย ปกติดีเอามาเช็คทำไม? แต่พอลองไปเช็ค เด็กๆ ก็จะมีสภาพจิตใจที่แย่ แล้วก็ทำให้สู่การพูดคุยของครู หรือถ้าเป็น อบต. เราไปทำที่วังสะพุง ที่เลย วังสะพุงขึ้นชื่อเรื่องผู้ค้าสลากกินแบ่ง ช่วงที่ผ่านมาจะขายสลากไม่ค่อยได้เพราะรู้สึกสลากออนไลน์ขายกันเยอะเหลือเกิน ปรากฏตอนไปทำท่านนายก (นายก อบต.) ก็ไม่สนใจนะ บอกมาทำทำไม?เราก็สุขภาพจิตดี

ก็เอาแบบประเมินความสุขไปวัด ปรากฏว่าความสุขของคนในตำบลของท่านมีความสุขลดลงนำไปสู่การพูดคุยว่าลดลงด้วยอะไร เช่น เครียด ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน ท่านนายก ก็นำไปสู่การทำแผนส่งเสริมสุขภาพจิต เราไปทำกับโรงเรียนที่ปทุมธานี ทำกับนักเรียนระดับมัธยมต้น ก็พบปัญหาเหมือนกันว่านักเรียนมีปัญหาเรื่องความเครียดจากสถานะทางเศรษฐกิจ เครียดร่วมกับพ่อแม่ พ่อแม่เศรษฐกิจไม่ดี แล้วก็ปัญหาเรื่องความรัก ถ้านักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นความรักเป็นเรื่องใหญ่ของเด็กๆ”


พงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ บอกเล่าในวงเสวนา “สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตของคนทุกช่วงวัยและครู ที่ต้องได้รับการดูแล” ในงานมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงเรียนพัฒนาตนเองเครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 2 เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หาดใหญ่) ถึงเรื่องของ “สุขภาพจิต” ประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามไม่ว่าจะเป็นคนในช่วงวัยใดก็ตาม

นอกจากปัจจัยก่อความเครียดแบบดั้งเดิม (การเรียน ความรัก เศรษฐกิจ ครอบครัว) แล้วยังมีปัจจัยใหม่ของโลกยุคดิจิทัลอย่าง “สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” เช่น โพสต์แล้วไม่มีคนกดถูกใจ (Like) ถูกรังแกทางออนไลน์ (Cyberbullying) โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนจะเครียดเรื่องนี้มาก ทั้งนี้ สุขภาพจิตยังเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิต ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ด้วย โดยอยู่ในเป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)

 

พงศ์ธร กล่าวต่อไปถึง “ปัญหาสุขภาพจิตของแต่ละช่วงวัย” แบ่งเป็น 1.วัยเด็ก เช่น พัฒนาการต่างๆ 2.วัยรุ่น เช่น การได้รับการยอมรับจากเพื่อน ความรัก 3.วัยทำงาน เช่น ความเครียดจากเรื่องเศรษฐกิจ (เงินไม่ชนเดือน มีหนี้สิน) ภาวะหมดไฟในการทำงาน (เบื่องาน ไม่อยากทำงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลงจนถูกเลิกจ้าง หรือไม่ก็ตัดสินใจลาออกด้วยตนเอง) และ 4.วัยสูงอายุ เช่น ความโดดเดี่ยว (จากที่เคยชินกับชีวิตตื่นเช้าไปทำงาน พอหลังเกษียณก็มาอยู่เฉยๆ รู้สึกเบื่อ) ความเจ็บป่วยทางกาย (เป็นผู้ป่วยติดเตียง) รู้สึกไม่มีคุณค่า ถูกกระทำความรุนแรง

แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ในส่วนของงานด้านผู้สูงอายุ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายพื้นที่ให้ความสำคัญมาก เช่น โครงการ “สูงวัยโอเกะ” ทำร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล ให้ผู้สูงอายุมามีกิจกรรมร้องเพลงกันทุกวันศุกร์ หรือ “ธรรมะโอสถ” พาพระสงฆ์ (หรือนักบวชในศาสนาที่ผู้สูงอายุนั้นนับถือ เช่น โต๊ะอิหม่ามกรณีเป็นชาวมุสลิม) ไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเพื่อให้กำลังใจ ขณะที่หลายชุมชนจัดกิจกรรม “สามวัย” โรงเรียนพานักเรียนไปศึกษาชุมชน ได้พบปะพูดคุยกับผู้สูงอายุ หรือมีกิจกรรมฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุ เป็นต้น

“ผมทำประเด็นสุขภาพจิตมา คำที่ได้ยินบ่อยๆ คือการได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุหรือคนทำงาน ประเด็นนี้ก็มีผลต่อความเครียด ถ้าเกิดได้รับการยอมรับความเครียดก็ลดลง การได้รับการยอมรับคือได้รับการยอมรับในผลการทำงาน การยอมรับในการเป็นตัวตนของตัวเอง” ผู้จัดการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าว

สำหรับ “มิติของระบบสุขภาพจิต” จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ปฐมภูมิ หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพจิต ให้ความรู้ค้นหาผู้มีความเสี่ยง ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 2.ทุติยภูมิ หมายถึงการให้การดูแลรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่รุนแรง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ 3.ตติยภูมิ หมายถึง การให้การดูแลรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรง ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ทั้งนี้ “ชุมชนในต่างจังหวัดน่าจะยังมีสุขภาพจิตดีอยู่ แต่ความท้าทายคือชุมชนในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ชุมชนอาคารสูง” เพราะชุมชนต่างจังหวัดยังมองเห็นกันอยู่ ต่างจากชุมชนห้องพักตึกสูงในเมืองกรุงที่ไม่รู้เลยว่าใครมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นยังมี “กลุ่มผู้มีประวัติใช้ยาเสพติด” เป็นอีกกลุ่มที่พบปัญหาในชุมชน กล่าวคือ เคยเสพแล้วถูกส่งเข้ากระบวนการบำบัด แต่หลังจากนั้นก็กลับไปเสพอีก

ผู้จัดการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ยังกล่าวถึง “การพัฒนาสุขภาพจิตของแต่ละช่วงวัย” ไล่ตั้งแต่ พัฒนาการตามวัยของวัยเด็ก พฤติกรรมอารมณ์ของวัยรุ่น ความเครียดและความเข้มแข็งทางใจของวัยทำงาน ความสุขและการดูแลสังคมจิตใจของวัยสูงอายุ ขณะที่เมื่อแยกเป็นช่วงวัย หากเป็นวัยเด็กหรือวัยรุ่น การดูแลจะเป็นบทบาทของสถาบันการศึกษา (โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย) ส่วนวัยทำงานและวัยสูงอายุ จะเป็นบทบาทของชุมชนหรือ อปท.

แต่การขับเคลื่อนมีความท้าทาย เช่น จะทำอะไรในประเด็นสุขภาพจิต? ทำแล้วชุมชนได้อะไร? ใช้งบประมาณจากที่ไหน? ใครจะเป็นผู้ริเริ่ม? สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชุมชนหรือไม่? เป็นต้น ซึ่ง “แนวคิดสุขภาพจิตชุมชน” หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการในชุมชนมากกว่าในสถานพยาบาล เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นแนวทางของชุมชนมุ่งเน้นไปที่ประชากรทั้งหมดในชุมชนมากกว่ารายบุคคล และเกี่ยวข้องกับการวางแผนและการวิเคราะห์ความต้องการด้านสุขภาพจิตของพื้นที่ เน้นเชิงป้องกัน เช่น การระบุสาเหตุที่มาของความเครียดภายในชุมชน และพยายามจัดให้มีระบบบริการที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพจิตในชุมชน

“การดูแลสุขภาพจิตในชุมชน ก็เสนอไว้ว่าเป็นวิเคราะห์ชุมชน สร้างการมีส่วนร่วม มีการพูดคุย อย่างที่บอกขั้นแรกอาจจะมีการสำรวจข้อมูล ใช้แบบสำรวจของกรมสุขภาพจิตก็ได้ ก็มีหลายแบบให้เลือกแล้วก็ใช้เป็นเครื่องมือในการพูดคุย แล้วก็ทำกิจกรรมกัน จะเป็นสูงวัยโอเกะ ธรรมะโอสถ หรือว่ามุสลิมเขาก็จะมาพบปะพูดคุยกัน แล้วก็ติดตามประเมินว่าเป็นอย่างไร” พงศ์ธร กล่าว

พงศ์ธร ฝากทิ้งท้ายไว้ด้วย “หลักการดูแลใจ” ประกอบด้วย 1.สอดส่องมองหา หมั่นสังเกต – ซักถาม คนรอบตัวเครียดก็ชวนกันคุยว่าเครียดเรื่องอะไร เป็นการช่วยหาทางออกไม่ใช่นำไปนินทากันต่อ เพราะการปล่อยให้สมาชิกในชุมชนมีความเครียดโดยไม่จัดการอะไรอาจเกิดเรื่องร้ายแรงตามมาได้ (เช่น เหตุกราดยิง) 2.ใส่ใจรับฟัง รับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ และ 3.ส่งต่อเชื่อมโยง ดูแลช่วยเหลือ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพ!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ละเลย’สูญเสียมหาศาล ‘ใจคนทำงาน’สำคัญต้องดูแล ‘ละเลย’สูญเสียมหาศาล ‘ใจคนทำงาน’สำคัญต้องดูแล
  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  •  

Breaking News

พบศพนักท่องเที่ยวอินเดีย ถูกถุงดำรัดคอลอยทะเลเกาะเสม็ด ตร.เร่งสอบสวน

'มิลลิ'สู้ยิบตารัวแข้งรัวหมัด ก่อนแพ้คะแนนคู่ชกชาวจีน ศึก'Fairtex Fight'

(คลิป) แนวหน้าTAlk : ตีแผ่!! การเมืองภาคใต้ ยุคที่ต้องใช้ทั้งเงินและปืน

คนร้ายยิงสองผัวเมียดับคาที่หน้าบ้าน ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved