วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ท้องถิ่น ในกระแสเปลี่ยนผ่าน  (จบ)เปลี่ยนมุมมองการพัฒนา

สกู๊ปแนวหน้า : ท้องถิ่น ในกระแสเปลี่ยนผ่าน (จบ)เปลี่ยนมุมมองการพัฒนา

วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 08.19 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ยังคงอยู่กับวงเสวนา “คน ชุมชน ท้องถิ่นในกระแสเปลี่ยนผ่าน” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ 101 PUB โดยตอนที่แล้ว (หน้า 5 วันเสาร์ที่ 18 พ.ค. 2567) วิทยากร 3 ท่าน ร่วมฉายภาพสถานการณ์ชุมชนท้องถิ่น ทั้งปัญหาเดิมที่มีอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแนวคิดการพัฒนากระแสหลัก แต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนในฉบับนี้ ยังมีวิทยากรอีก 2 ท่าน ร่วมให้มุมมองในประเด็นเดียวกัน

รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา และประธานหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉายภาพวิถีชีวิตและเศรษฐกิจแบบพื้นบ้านของชาวอีสาน เช่น การหาไข่มดแดง หน่อไม้ปลาพื้นเมือง รวมไปถึงพืชเศรษฐกิจอย่างข้าว ปอ ยางพารา และมันสำปะหลัง ซึ่งไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิตคนในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังถูกส่งผ่านสู่ลูกหลานที่อพยพไปทำงานในต่างถิ่นด้วย


แต่มุมมองของรัฐต่อแนวทางการพัฒนาภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เคยเปลี่ยนเลยตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ที่เห็นว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นพื้นที่ที่ด้อยพัฒนามากที่สุดในทางเศรษฐกิจ มีทั้งปัญหาภัยแล้ง ความยากจน ผู้คนมีการศึกษาน้อย และเมื่อรัฐมีมุมมองแบบนี้ จึงมีความพยายามตลอดมาที่จะนำโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เข้าไปในภาคอีสาน ตั้งแต่เขื่อนปากมูล เขื่อนริมน้ำโขง ไปจนถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน โดยรัฐเชื่อว่าหากส่งเสริม
ให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุน จะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีงานทำและมีรายได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นการแยกคนออกจากธรรมชาติ ไม่ได้มองว่าคนในท้องถิ่นพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการสร้างรายได้ และความมั่นคงในชีวิต และรัฐยังมองทรัพยากรธรรมชาติว่ามีราคาถูก จะทำอะไรตรงไหนก็ได้ ลืมไปว่าธรรมชาติมีคุณค่ามหาศาลไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและจิตวิญญาณ ซึ่งทิศทางที่ควรจะเป็นคือนโยบายที่ขึ้นมาจากการมีส่วนร่วมพื้นที่ ไม่ใช่มีแต่สั่งการมาจากส่วนกลาง จึงจะเกิดความยั่งยืน อนึ่ง แม้กระทั่งในเชิงวิชาการ ข้อมูลก็ยังมีไม่ครบ แต่ผลกระทบได้เกิดขึ้นไปแล้ว

“ตอนนี้เขื่อนปากมูลยังแก้ไม่ได้เลย 34 ปีที่ผ่านมายังไม่ได้ค่าชดเชยประมงเลย เพิ่งมาเก็บข้อมูลกันแล้วประเมินว่ารุ่นลูกรุ่นหลานจะได้ไหม? ตอนนี้ถ้าไปคุยกับคุณแม่สมปอง (หนึ่งในชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ) เพิ่งรู้ว่าคุณแม่สมปองจะได้ แล้วรุ่นลูกรุ่นหลานก็จะได้ เพิ่งมาได้คำตอบเมื่อประมาณเดือนที่แล้ว จากสร้างเขื่อนปากมูล 33 ปีที่แล้ว เขาสูญเสียโอกาสในการทำมาหากินตั้ง 33 ปี คือข้อมูลมันหลุดไปได้อย่างไร? ไม่อยากใช้คำว่าความล่าช้าคือความอยุติธรรมทางนโยบายเป็นอย่างยิ่ง ถ้าพูดถึงเรื่องมิติทรัพยากร” รศ.ดร.กนกวรรณ กล่าว

รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนมองนโยบายของรัฐตั้งแต่ยุคแรก (น้ำไหล-ไฟสว่าง-ทางดี-มีงานทำ) เริ่มขึ้นเมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (ปี 2504),ยุคที่สอง (อุตสาหกรรมนำการส่งออก) ช่วงทศวรรษ 2530-2540 เกิดโครงการพัฒนาขนาดใหญ่พร้อมๆ กับการต่อสู้คัดค้านของชาวบ้าน เช่น โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก

และยุคที่สาม คือหลังรัฐประหารปี 2557 (รัฐบาลทหาร คสช. และต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน) มีการออกกฎหมายและนโยบายสนับสนุนการลงทุน มีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมไปกับนโยบายทวงคืนผืนป่าซึ่งประชาชนใช้เพื่อการดำรงชีพ แต่ในทางกลับกัน ก็ได้เห็นการต่อสู้ของภาคประชาชน รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อหาทางเลือกอื่นๆ ในการพัฒนานอกเหนือจากแนวคิดเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น แนวคิดชุมชนนิยม การทำพื้นที่เกษตรพิเศษ ไปจนถึงการเกิดกลไกทางกฎหมาย เช่น การประเมินผลกระทบ (EIA, EHIA, SEA) บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

เมื่อมองสถานการณ์ชนบทในพื้นราบ (นอกเขตป่า) เช่น ในพื้นที่ภาคกลาง พบผู้คนเปลี่ยนอาชีพออกจากภาคเกษตรไปแล้วจำนวนมาก อาทิ มีโฉนดชุมชนกำหนดให้ทำนา 20 ไร่ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะไม่มีทางอยู่ได้ โดยจากที่ลองคำนวณดูการทำนา 20 ไร่ ให้ได้ข้าว 1 ตัน จะทำนาปีละ 2 ครั้ง หรือ 2 ปี 5 ครั้งรายได้จะได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงทำให้คนตัดสินใจออกไปทำมาหากินด้านอื่นๆ แต่รัฐก็ยังใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร คำถามคือมาก-น้อยเพียงใด?

“ถ้าจะทำให้ชีวิตผู้คนอยู่ได้ ในสภาวะที่มีลักษณะที่เป็นชาวนาที่ไม่ได้ปลูกข้าวแล้ว ทำมาหากินหลายด้าน โดยเฉพาะพืชผักหรือพืชอื่นๆ ถามว่าทำอย่างไรระบบตลาดอะไรต่างๆ พี่น้องบ้านผม เย็นๆ เขาจะเห็นมีผักชีฝรั่ง มีอะไรต่างๆ วางไว้หน้าบ้านแล้วก็มีรถปิกอัพมาเก็บ แล้วอีก 2 วันก็เอากระดาษมาคิดราคาให้ แต่พืชผักพวกนี้มันก็จะไปรวมศูนย์อยู่ที่ตลาดศรีเมือง (ราชบุรี) หรือตลาดไท (ปทุมธานี) ก็เอากลับไปขายที่บ้านผมอีก ขนไป-ขนกลับ

ทำไมเราไม่คิดถึงทรัพยากรพวกนี้ที่จะนำมาสู่เรื่องของการลงทุนในเชิงโครงสร้างพื้นฐานที่มันยั่งยืน อะไรต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่ถ้าพูดให้แรงหน่อย อันนี้มันละลายแม่น้ำ มันไม่ได้อะไร ก็ได้บางนโยบาย ก็คือในเชิงนโยบายสาธารณะอาจจะเรียก SymbolicPolicy (นโยบายเชิงสัญลักษณ์) เป็นสัญลักษณ์เพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความอะไรก็แล้วแต่” รศ.ดร.ประภาส กล่าว

รศ.ดร.ประภาส กล่าวต่อไปว่า เราเห็นภาพของชุมชนและผู้คนที่อยู่ในวิกฤตในชุมชนชายขอบที่ฐานชีวิตพึ่งฐานทรัพยากร ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากทั้งนโยบายอนุรักษ์ เช่น แม้จะให้ชุมชนอยู่ในป่าได้แต่ก็กำหนดระยะเวลาให้เพียง 20 ปี ทั้งที่มีชุมชนที่อยู่มาก่อนมีกฎหมายประกาศพื้นที่อนุรักษ์เป็นร้อยปีและจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันวิถีชีวิตคนในชนบทก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ไม่มีชาวนาที่ทำนาเป็นอาชีพเดียวอีกต่อไป

ชีวิตเหล่านี้จะอยู่ได้อย่างไร? แล้วจะใช้ทรัพยากรแก้ไขปัญหาอย่างไร? สร้างนโยบายเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ไปเรื่อยๆ อย่างนั้นหรือ? นี่คือสิ่งที่ต้องทบทวนการทำโจทย์สร้างความเข้าใจ และการสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย

'บี-วีณา-อามชุ'จูงมือชาว LGBTQIA+ เติมสีสันความเท่าเทียมใน 'พัทยา อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรด์ เฟสติวัล 2025'

ประเดิม'สุริยะ'ทำหน้าที่นายกฯวันแรก ลงนามแต่งตั้ง'ภูมิธรรม'รักษาการนายกฯลำดับที่ 1

‘รวบโจรวิ่งราวทรัพย์’ก่อเหตุ2จังหวัด-รวมเกือบ10ครั้ง เผย!เลือกเหยื่อเป็นผู้สูงวัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved