วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘เชื่อมข้อมูล’ฉายภาพ‘เส้นชีวิต’ ตัดตอน‘เหลื่อมล้ำ’ไม่บานปลาย

สกู๊ปแนวหน้า : ‘เชื่อมข้อมูล’ฉายภาพ‘เส้นชีวิต’ ตัดตอน‘เหลื่อมล้ำ’ไม่บานปลาย

วันเสาร์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรที่เป็นสังคมสูงวัยในหลายๆ ภูมิภาคของโลก องค์กรต่างประเทศหลายๆ องค์กรทั่วโลก อย่างเช่นสหประชาชาติ ก็มีนโยบาย เริ่มมีการเตรียมตัว ออกแผนออกยุทธศาสตร์ในการเตรียมตัวกับสังคมสูงวัย เริ่มต้นก็มาจากที่ประชุมของสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) ก็ได้ออกแผนเกี่ยวกับการสูงวัยแล้วก็เรื่องสุขภาพ ในช่วงปี 2016-2030 (2559-2573) และมีวิสัยทัศน์ว่าสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

ต่อมาสหประชาชาติก็ได้กำหนดในปี 2021-2030 (2564-2573) ก็เป็นทศวรรษของการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี (Decade of Healthy Aging) แต่ว่าถ้าดูจากตัวเลขทางสถิติเราก็ยังค่อนข้างห่างไกลอยู่ ตัวเลขทางสถิติก็ยังบอกว่าผู้สูงวัยจำนวนมาก 142 ล้าน หรือประมาณ 14% ทั่วโลก ยังไม่มีแม้แต่ปัจจัยความต้องการด้านพื้นฐานในชีวิตประจำวันยังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง”


รศ.นพ.ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ กล่าวในวงเสวนา “เชื่อมโยงฐานข้อมูลภาครัฐเพื่อลดความเหลื่อมล้ำตลอดช่วงชีวิต” จัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเร็วๆ นี้ ฉายภาพสถานการณ์โลกที่กำลังเข้าสู่ภาวะ “สังคมสูงวัย” แต่ผู้สูงอายุจำนวนมากยังคงประสบกับความยากลำบากในชีวิต นำไปสู่ความพยายามขององค์กรระหว่างประเทศ ในการทำงานร่วมกับรัฐชาติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งก็ต้องเผชิญกับ “ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ” หนึ่งในปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสู่การบรรลุเป้าหมายที่ว่านั้น

แต่การลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ จำเป็นต้องดูความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ ด้วย เช่น การศึกษา รายได้และโอกาสต่างๆ ในชีวิต “การลดความเหลื่อมล้ำต้องเข้าไปจัดการกับสังคม..โดยเฉพาะปัจจัยเชิงโครงสร้าง” อาทิ ธรรมาภิบาล การออกนโยบายสาธารณะ ไปจนถึงวัฒนธรรมหรือค่านิยม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตของบุคคล เช่น การเข้าถึงทรัพยากร พฤติกรรม ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพ โดยต้องอาศัยฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ว่า การออกนโยบายกับคนแต่ละช่วงวัย ตอบโจทย์ลดเหลื่อมล้ำได้มาก-น้อยเพียงใด

ขณะที่ รศ.ดร.อารี จำปากลาย อธิบายความหมายของคำว่า “Life Course (หลักสูตรชีวิต)” ว่า เป็นกรอบคิดที่คำนึงถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของชีวิตแต่ละช่วงวัย ซึ่งให้ความสำคัญตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต กับปัจจัยรอบข้างของคนคนนั้นที่อาจเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา “ประสบการณ์ที่คนคนหนึ่งพบเจอ อาจส่งผลต่อทางเลือกในชีวิตหลังจากนั้น” แต่ขณะเดียวกันมนุษย์ก็สามารถเลือกทางเดินของตนเองได้ภายใต้โอกาสและข้อจำกัดของสังคมที่คนคนนั้นใช้ชีวิตอยู่โดยกรอบคิดเรื่อง Life Cost จะดูใน 4 เรื่อง คือ

1.ประวัติศาสตร์เวลาและสถานที่ (Historical Time & Place) หมายถึงบริบทแวดล้อมตัวเรา ที่ส่งผลกระทบต่อตัวเราและได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตของตัวเรา 2.จังหวะเวลา (Timing) เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามามาชีวิต จะส่งผลกระทบต่อตัวเรามาก-น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้น ณ ช่วงจังหวะเวลาใดในชีวิตของเรา 3.ชีวิตที่เชื่อมโยงกัน (Linked Life) ชีวิตของคนเราล้วนส่งผลกระทบต่อกันและกันผ่านเครือข่ายความสัมพันธ์ร่วม และ 4.ทางเลือกที่แตกต่าง (Human Agency) มนุษย์ที่เกิดมาแตกต่าง (เช่น ยุคสมัย สถานที่)จะเลือกทางเดินที่ไม่เหมือนกัน

ในการพัฒนากรอบ Life Course ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งมนุษย์ออกเป็น 4 ช่วงวัย คือเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ “ในเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้จะส่งผลต่อชีวิตต่อไปข้างหน้า..กรอบคิดเรื่อง Life Course จึงให้ความสำคัญกับการเริ่มต้นที่ดี” นอกจากนั้น WHO ยังแยกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนไว้ 3 ด้าน คือ ความจุที่เข้มข้น (Intensive Capacity)ความสามารถในการทำงาน (Functional Ability) และสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุน (Supportive Environment) และตัวชี้วัดก็จะแตกต่างกันไปแต่ละช่วงวัยด้วย

สำหรับประเทศไทย เมื่อดูข้อมูลที่หน่วยงานต่างๆ เก็บรวบรวมไว้ ในส่วนของวัยเด็กและวัยรุ่น ไม่ค่อยพบการเก็บข้อมูลเรื่องปัญหาพฤติกรรม ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ การใช้เวลาร่วมกับพ่อแม่ ความรุนแรงในโรงเรียนและชุมชน ขณะที่ในส่วนของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จะไม่ค่อยพบการเก็บข้อมูลเรื่องการเรียนรู้การเติบโต การตัดสินใจ ตัวชี้วัดด้านการเคลื่อนไหว ความปลอดภัยในบ้าน การเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ การใช้อุปกรณ์ไอทีและเข้าถึงอินเตอร์เนต

“โดยสรุปแล้ว ฐานข้อมูลที่เรามีอยู่อย่างมากมาย ที่เราบอกว่ามีเยอะ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เรามีค่อนข้างเยอะแต่พอมาคลี่ดูตามตัวชี้วัดทั้ง 3 ตามแต่ละช่วงวัย เราก็จะเห็นว่ายังมีช่องว่างที่เรายังขาดข้อมูลของหลายๆ ตัวชี้วัดและที่จำเป็นต้องเน้นให้มากขึ้น และเห็นความจำเป็นของการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และให้ได้ภาพที่สมบูรณ์รอบด้านมากที่สุด” รศ.ดร.อารี กล่าว

ด้าน รศ.ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ กล่าวว่า การเชื่อมโยงฐานข้อมูลทำให้เข้าใจสถานการณ์ความเป็นอยู่และสุขภาวะของประชากรได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การออกนโยบายที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายและขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่าง เช่น 1.ความร่วมมือระหว่าง RIECE Thailand (โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ) กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

โดย RIECE Thailand เป็นโครงการของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเก็บข้อมูลเด็กอายุ 2-4 ปี และจะติดตามไปจนถึงอายุ 30 ปี พร้อมกับนำหลักสูตร High Scope เข้ามาเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ขณะที่ กสศ. เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจสนับสนุนประชากรอายุ 3-21 ปี ให้เข้าถึงการศึกษา โดยมีฐานข้อมูลที่มาจากครูแต่ละท้องถิ่นว่ามีประชากรช่วงวัยดังกล่าวคนใดต้องการความช่วยเหลือบ้าง หรือก็คือกลุ่มคนที่อยู่ในครัวเรือนระดับล่างสุด (15% สุดท้าย) ของสังคม การเชื่อมฐานข้อมูล 2 ฝ่ายนี้เข้าด้วยกัน ทำให้ความช่วยเหลือถูกส่งไปถึงเป้าหมาย

2.ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (HDC) โดยกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลผู้มารับบริการจากหน่วยบริการของกระทรวงฯ (เช่น โรงพยาบาลในสังกัด) ถูกใช้เพื่อศึกษาปัญหาการป่วยหรือบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในกลุ่มเกษตรกรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเชื่อมโยง
กับฐานข้อมูลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ในแต่ละจังหวัด เพื่อให้เห็นภาพว่าการป่วยหรือบาดเจ็บเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพมาก-น้อยเพียงใด นำไปสู่การออกนโยบายป้องกันได้ต่อไปในอนาคต

และ 3.งานศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์เด็กกำพร้าที่เป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) และกระทรวงมหาดไทย (สำนักบริหารการทะเบียน) ว่ามีประชากรอายุต่ำกว่า 18 ปี มาก-น้อยเพียงใด ที่สูญเสีย
พ่อแม่ หรือสูญเสียบุคคลอื่นที่มีหน้าที่เลี้ยงดูประชากรกลุ่มดังกล่าวในครัวเรือนไปจากการติดเชื้อโควิด-19 และส่งผลต่อทรัพยากรในการเลี้ยงดูของครัวเรือนนั้นอย่างไร

“จำนวนเด็กกำพร้าที่เราได้มา ก็จะสามารถนำไปสู่นโยบายในการจัดสรรทรัพยากร เงินให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่ตั้งไว้อยู่แล้วว่ามีสวัสดิการที่จะช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อยู่แล้ว ก็จะส่งต่อไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่จะลงไปถึงเด็กคนนั้นและให้ความช่วยเหลือได้อย่างตรงเป้าหมาย” รศ.ดร.จงจิตต์ กล่าว

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง

'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น

'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved