วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : พรรคการเมืองของแรงงาน  ไฉนในเมืองไทยถึงเกิดยาก?

สกู๊ปแนวหน้า : พรรคการเมืองของแรงงาน ไฉนในเมืองไทยถึงเกิดยาก?

วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน และเครือข่ายองค์กรแรงงาน จัดงานเสวนา “ขบวนการแรงงานกับนโยบายแรงงานของพรรคการเมือง” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยในช่วงหนึ่งของงาน จะเป็นเวทีให้นักวิชาการได้มาสะท้อนบทบาทและข้อจำกัดของขบวนการแรงงานต่อการผลักดันนโยบายผ่านกลไกทางการเมือง

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน ชวนวิเคราะห์ “อะไรที่ทำให้ขบวนการแรงงานไม่ประสบความสำเร็จในการผลักดันนโยบายผ่านพรรคการเมือง” เช่น 1.สหภาพแรงงานไม่เข้มแข็ง เนื่องจากสหภาพแรงงานในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นสหภาพสถานประกอบการขนาดเล็กและอยู่กระจัดกระจาย ทำให้บทบาทเน้นไปที่เรื่องปากท้อง อาทิ การเจรจาต่อรองค่าจ้าง-สวัสดิการ มากกว่าจะขยายไปถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง


2.พรรคการเมืองในประเทศไทย ส่วนใหญ่หากไม่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยมก็เป็นพรรคเสรีนิยม ในขณะที่ประเทศซึ่งขบวนการแรงงานสามารถผลักดันนโยบายผ่านพรรคการเมืองได้ จะทำผ่านพรรคการเมืองที่เป็นพรรคแรงงาน พรรคสังคมประชาธิปไตย หรือพรรคสังคมนิยม แต่ในทางกลับกัน พรรคการเมืองกลุ่มนี้จะเติบโตได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในประเทศที่ขบวนการแรงงานเข้มแข็ง ซึ่งเมื่อดูประเทศไทย พบคนที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานยังมีน้อย

“พรรคแบบนี้เป็นพรรคแบบ Mass Party (พรรคแบบมวลชน) คือต้องมีฐานสมาชิกของขบวนการแรงงาน ที่คุณมนัส (มนัส โกศล หัวหน้าพรรคแรงงานสร้างชาติ) หรือคุณสาวิทย์ (สาวิทย์ แก้วหวาน หัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย) พยายามทำ แต่พรรคของเราไปไม่ถึงจุดนั้นเพราะว่าเรามีฐานของสหภาพแรงงานในสัดส่วนที่น้อยเกินไป ผมคิดว่าพรรคแบบนี้จะเกิดขึ้นได้เราต้องทำคู่กันไป ก็คือต้องสร้างขบวนการแรงงานที่เข้มแข็งระดับใหญ่” อาจารย์ศักดินา กล่าว

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพข้อจำกัดในด้านการต่อสู้เชิงวิชาการ ซึ่งแม้จะมีงานวิจัย มีหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ แต่ก็เป็นข้อมูลที่กระจัดกระจาย หรือเอกสารชั้นต้นหลายชิ้นก็ค้นหาได้ยาก หรือข้อมูลมีหลายชุดและไม่ตรงกัน ซึ่งพบได้แม้กระทั่งเรื่องราวที่เพิ่งผ่านไปยังไม่เกิน 10 ปี นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองแนวทางพรรคแรงงาน จำเป็นต้องทำให้อุดมการณ์กับมวลชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่เมื่อพูดถึงนโยบายแรงงานกลับไม่สามารถหลอมรวมกับคนในสังคมได้

เช่น เคยไปพูดคุยกับ รปภ. ที่ได้รับแจกเอกสารการเดินขบวนในวันแรงงาน ก็ได้รับคำถามว่าอะไรคือการจ้างงานเหมาช่วง? หรือจากที่พูดคุยกับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ทำงานด้านแรงงาน ก็ยังมาถามตนว่าอนุสัญญาฯ 87 และ 98 ที่พูดถึงกันคืออะไร? สิ่งเหล่านี้คนทั่วไปยังไม่เข้าใจ หรือแม้แต่การจัดงานวันแรงงานที่มีกิจกรรมการเดินขบวนซึ่งต้องมีการปิดการจราจร ก็ยังได้ยินเสียงผู้ใช้รถใช้ถนนบ่นว่าการจัดการทำให้การจราจรติดขัด “การสื่อสาร” จึงเป็น “โจทย์ใหญ่” จะทำอย่างไรให้คนอื่นๆ ในสังคมเข้าใจประเด็นของแรงงานด้วย

“ถ้าอุดมการณ์ไปอย่าง มวลชนไปอย่าง ทำไมอาจารย์นภาพร(รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ทำงานวิจัย ‘ขบวนการแรงงานกับนโยบายแรงงานของพรรคการเมืองในประเทศไทย’) ตั้งประเด็นในรายงานวิจัย สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ทำไมสมาชิกของพรรคที่เป็นแรงงานมีจำนวนสมาชิกเท่านี้ หลักหมื่น แต่จำนวนสมาชิกสหภาพมีหลักแสน ผู้ประกันตนประกันสังคมมีหลักสิบล้าน ดังนั้นเสียงที่ออกมาจากการเลือกตั้ง ทำไมพรรคที่เป็นพรรคของแรงงานถึงได้เสียงน้อย” อาจารย์กฤษฎา กล่าว

แล ดิลกวิทยรัตน์ ศาสตราภิชานคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งคำถามว่า เมื่อขบวนการแรงงานเข้าไปเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ ได้พูดคุยกันมากขึ้นหรือน้อยลงในฐานะผู้นำแรงงาน “เราคุยกันเรื่องพรรคมากกว่าเรื่องแรงงานหรือไม่?” หรือเมื่อเข้าไปอยู่ในพรรคการเมืองแล้ว ตัวตนความเป็นแรงงานของเราเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งหากมีชมรมผู้นำแรงงานในพรรคการเมืองให้ผู้นำแรงงานได้มารวมตัวพูดคุยกัน การยื่นข้อเสนอเข้าไปในแต่ละพรรคที่ผู้นำแรงงานแต่ละคนเป็นสมาชิกอยู่ก็จะทำได้อย่างมีเอกภาพ

“อนาคตต้องถามว่า เข้าไปอยู่พรรคการเมืองแล้วตัวตนของผู้ใช้แรงงานขับเน้นให้เห็นชัดขึ้น ขับเน้นให้ตัวตนของผู้ใช้แรงงานมันเติบโตขึ้นในความรับรู้ของพรรคการเมืองและสาธารณชนแค่ไหน?ผมคิดว่าอันนี้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ การต่อสู้ภายในพรรคการเมืองเองเราต้องขับเน้นความเป็นประเด็นแรงงานในพรรค ขณะเดียวกันถ้าเราทำได้ ก็คือทุกพรรคพูดถึงประเด็นแรงงานมากขึ้น” อาจารย์แลกล่าว

ภายในการงานยังมีการเผยแพร่งานวิจัย “ขบวนการแรงงานกับนโยบายแรงงานของพรรคการเมืองในประเทศไทย”โดย รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในช่วงหนึ่งอาจารย์นภาพร ระบุ “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพรรคการเมืองที่แรงงานก่อตั้งและการเข้าร่วมพรรคการเมืองอื่น”ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ อาทิ

1.พรรคการเมืองที่มีนโยบายโดดเด่นมีโอกาสชนะการเลือกตั้งสูง..แต่แรงงานก็เชื่อมั่นในพรรคการเมืองขนาดใหญ่มากกว่าพรรคที่กลุ่มแรงงานตั้งขึ้นเอง ดังตัวอย่างของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล แม้ไม่ใช่พรรคการเมืองของแรงงานแต่เป็นพรรคที่มีนโยบายด้านแรงงานที่ชัดเจน การที่แรงงานเลือกพรรคการเมือง
เหล่านี้ ก็เพราะเชื่อว่าพรรคใหญ่มีโอกาสนำนโยบายไปผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ตาม

2.แรงงานก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง จึงสนใจเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะนโยบายแรงงานอย่างเดียว เช่น นโยบายเศรษฐกิจในภาพรวม นโยบายด้านการเมือง ดังนั้น หากพรรคใดเสนอนโยบายอื่นๆ โดดเด่นด้วย ก็มีแนวโน้มที่แรงงานจะเลือก 3.พรรคการเมืองที่ประสบความสำเร็จต้องจัดตั้งฐานเสียงได้ชัดเจน ดังตัวอย่างของพรรคไทยรักไทย สร้างฐานเสียงจากนโยบายประชานิยม หรือพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล ก็มีฐานเสียงหลักเป็นคนรุ่นใหม่ แต่พรรคที่แรงงานตั้งขึ้นยังไม่สามารถทำได้แบบนั้น แม้จะพยายามบอกว่ามีแรงงานเป็นฐานเสียงก็ตาม

“ประเด็นสุดท้าย ปัจจัยที่จะมีผลสำเร็จ มองไปถึงเรื่องทรัพยากรที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างเพียงพอมีหรือไม่? ทรัพยากรตรงนี้ไม่ได้หมายถึงเราเอาเงินไปซื้อเสียง แต่ยอมรับว่าการที่จะตั้งพรรคการเมืองให้ประสบความสำเร็จ การมีเงินมีทรัพยากรเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน เพราะว่าการที่จะทำงานมวลชนอย่างต่อเนื่องได้มันต้องมีงบประมาณ มีบุคลากรทำงานเต็มเวลา มีสำนักงาน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ แม้ใช้ Social Media (สื่อสังคมออนไลน์) ใช้เงินน้อยหน่อยแต่ก็ยังต้องใช้” อาจารย์นภาพร กล่าว


SCOOP@NAEWNA.COM
 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved