วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์  (จบ)วิชาการหนุนท้องถิ่น

สกู๊ปแนวหน้า : สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (จบ)วิชาการหนุนท้องถิ่น

วันอาทิตย์ ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 07.42 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ยังคงอยู่กับงานสัมมนาวิชาการ “สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)”จัดโดยสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งหลังจากฉบับที่แล้ว (เสาร์ที่ 8 มิ.ย. 2567) เป็นการนำเสนอรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2566 ส่วนในฉบับนี้ จะเป็นข้อเสนอแนะในการออกแบบนโยบายที่เหมาะสม

อำพา แก้วกำกง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพบทบาทของ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)” ในการจัดทำนโยบายรองรับสังคมผู้สูงอายุ อาทิ เทศบาลตำบลหนองลาน จ.กาญจนบุรี ที่มีการจัดตั้ง “โรงเรียนผู้สูงอายุ” มาแล้ว 10 ปีและประกาศว่าที่นี่คือโรงเรียนผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งโดยท้องถิ่นโดยในช่วงหลังๆ มีทีมวิจัยจาก มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) เข้าไปให้การสนับสนุน


หนึ่งในสิ่งที่โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองลานพยายามทำคือการ “สร้างเครือข่าย” เพื่อเติมเต็มสิ่งที่คิดว่ายังขาดอยู่ และไม่ใช่เฉพาะภายในประเทศ
แต่อยากขยายไปสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศด้วย ทำให้สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยชักชวนเครือข่ายจากเกาหลีใต้ไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนผู้สูงอายุแห่งนี้ อีกทั้งยังได้เห็นการประยุกต์หลักสูตรที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาขึ้น ซึ่งเป้าหมายแรกของโรงเรียนผู้สูงอายุคือให้
ผู้สูงอายุมาร่วมเรียนรู้ แต่เป้าหมายปลายทางคือการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

“อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง เราก็พยายามจะบูรณาการให้ได้ว่าตัวท้องถิ่นเองก็จะได้มีประสบการณ์ที่ได้ประสานงาน ได้พัฒนาทักษะในการสร้างเครือข่าย ทั้งเครือข่ายในประเทศ เครือข่ายต่างประเทศ ตัวผู้สูงอายุเองก็ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม มาร่วมเรียนรู้ หลังจากเราทำกิจกรรมร่วมกันในหลายๆ ครั้ง ซึ่งก็เป็นหลักสูตรที่อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้พัฒนาขึ้น ก็ได้ทดลองเอาไปใช้ โดยเน้นการมีส่วนร่วม” อำพา กล่าว

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังกล่าวอีกว่า หลังจากถอดบทเรียน พบผู้สูงอายุได้รับความรู้ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งจากการดำเนินโครงการเป็นเวลา 2-3 ปี ทีมวิจัยยังพยายามสรรหากิจกรรมเข้าไปเพิ่มเติม บนหลักคิด “กิจกรรมไม่ควรจบแต่เพียงในชั้นเรียน” แต่สามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้จริง เช่น มีเสียงสะท้อนจากผู้สูงอายุ บอกว่าก่อนหน้านี้ได้เรียนทำสบู่และยาสระผมมาแล้ว อยากเรียนอย่างอื่นบ้าง จึงประสานกับเครือข่ายของเกาหลีใต้ ก็ได้อาสาสมัครเข้าไปสอนทำอาหารเกาหลี

ซึ่งผู้สูงอายุที่ได้เรียนก็พยายามประยุกต์วัตถุดิบท้องถิ่น เช่น กิมจิ (ผักดองแบบเกาหลี) จะใช้อะไรในท้องถิ่นทำได้บ้าง กิจกรรมแบบนี้ทำให้ผู้สูงอายุได้ประโยชน์หลายอย่าง อาทิ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ นำไปสู่การมีบทสนทนาใหม่ๆ กับลูกหลาน หรือบางคนก็คิดต่อยอดว่าจะทำในเชิงการค้าได้อย่างไร ทั้งนี้ ด้วยความที่ อปท. ต้องรับมอบภาระงานด้านผู้สูงอายุ ขณะที่พื้นที่ที่ทีมวิจัยเข้าไปทำงานด้วย ก็มีโรงเรียนผู้สูงอายุที่ตั้งมาแล้ว 10 ปี จึงอยากให้โรงเรียนดังกล่าวยังสามารถตอบโจทย์ได้ต่อไป

ด้าน เศรษฐภูมิ บัวทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลตอบแทนทางสังคม วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึง“ปัญหาสำคัญของหน่วยงานภาครัฐ” นั่นคือ “การทำงานอย่างแยกส่วน” เช่น เมื่อพูดถึงเรื่องผู้สูงอายุ บรรดากระทรวง ทบวงกรม ที่ทำงานเรื่องนี้ไม่เคยคุยกัน การทำงานจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใดนัก

ขณะที่ภาคการศึกษา แม้จะผลิตงานวิจัยชี้หนทางแก้ปัญหาออกมามากมาย แต่ผลงานเหล่านั้นกลับไม่ค่อยถูกนำไปใช้ส่วนภาคเอกชน โดยมากจะทำงานประเภท CSR หรือการช่วยเหลือสังคม แต่มักเป็นเพียงการปักป้ายถ่ายรูปเอาหน้าแล้วก็จบ อย่างไรก็ตาม “ระยะหลังๆ พบความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น”เช่น ปัญหาเดิมของงานวิจัย คือขาดกลไกในการนำไปใช้ แต่ปัจจุบันมี กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นกลไกติดตามและประเมินผล

“เขาสนใจแล้วว่าต่อ่ไปนี้ งานวิจัยทุกบาททุกสตางค์ หรือกลไกการใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ สุดท้ายจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรมไหม? เพราะอะไร? ถ้าพูดถึงประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ และประเทศไทยก็เป็นประเทศอยู่รายได้ปานกลางค่อนข้างสูง เราเกิดมา 34 ปี พ่อแม่ก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่บ้านสอนมาเลย ตั้งแต่เรียนหนังสือมาจนวันนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา” เศรษฐภูมิ กล่าว

เศรษฐภูมิกล่าวต่อไปว่า กลไกของ ววน. บังคับใช้กับผู้ที่ทำงานวิจัยให้กับ ววน. นอกจากนั้นยังรวมภึง “องค์การมหาชน” โดยจะมีการประเมินตัวชี้วัดความคงอยู่ขององค์กร ในปี 2569 และ2572 มีการประเมินความคุ้มค่าของภาษีประชาชนที่นำไปสู่การปฏิบัตินอกจากนั้น ยังเน้นบทบาทของภาคประชาสังคมกับการมีส่วนร่วมในงานวิจัยมากขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นก็เริ่มปรับตัวกันแล้ว

โดยกลไกการบูรณาการหลังจากนี้ งานวิจัยทุกชิ้นที่ถูกผลิตขึ้น จะไม่ทำเพียงชี้ว่าทำแล้วดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร แต่จะต้องมีกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และต้องมีกระบวนการถ่ายทอดงานวิจัยลงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วย ในขณะที่ภาคเอกชน รูปแบบกิจกรรม CSR ของภาคเอกชนก็เปลี่ยนไป โดยเข้าไปเติมเต็มสิ่งที่ขาด เช่น การแก้ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) การส่งเสริมอาชีพปลูกผักยกแคร่เพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุที่ก้มๆ เงยๆ ไม่สะดวก เป็นต้น

แต่ความท้าทายสำคัญคือ “การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบ” และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งในอนาคตน่าจะมีการทำงานวิจัยเพื่อหาทางออกมากขึ้น!!!


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

'DSI'ลงนามด่วนถึง'ผบ.ตร.-ปลัด มท.' ร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วเลือก สว.

'รมว.ยุติธรรม'เป็น ปธ.มอบเงินเยียวยาให้เหยื่อตึก สตง.ถล่ม

ตลาดสี่มุมเมืองจัดงานเอ็กซ์โป ขายทุเรียนเริ่มต้นพูละ 5 บาท แจกทุเรียนกว่า 200 ลูก

ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved