วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : สัญญาณแห่งความหวังความปลอดภัยทางอาหาร  Thailand Rapid Alert System for Food

สกู๊ปพิเศษ : สัญญาณแห่งความหวังความปลอดภัยทางอาหาร Thailand Rapid Alert System for Food

วันอาทิตย์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

มีความพยายามจากหลายฝ่ายในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น “ครัวโลก” แต่หากมองย้อนไป เราอาจจะพบว่า ประเทศไทยยังไม่สามารถทำให้เกิดความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่ได้เลย โดยเฉพาะการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อระบบอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ

พาราควอต (Paraquat) ไกลโฟเซต (Glyphosate) และ คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) คือ สารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษร้ายแรงต่อคน ซึ่ง เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือ Thai-PAN ร่วมเฝ้าระวังเช่นเดียวกับทั่วโลก ในปี 2563 มี 48 ประเทศทั่วโลกประกาศแบนสารเคมีเจ้าปัญหาทั้ง 3 ชนิดนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 71 ประเทศในปัจจุบัน โดยในส่วนของประเทศไทยได้ประกาศแบนมาตั้งแต่ปี 2566 ส่งผลให้ปริมาณนำเข้าจากเดิม 128 ล้าน กก. เหลือเพียง 113 ล้าน กก. หรือลดลง 42% สารตกค้างลดลง 26.6 เท่า


น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงาน Thai-PAN ให้ข้อมูลว่า ภายหลังมีการแบนสารเคมีเจ้าปัญหาพบว่า การเจ็บป่วยจากสารเคมีเหล่านี้ลดลงจาก 22.75 ต่อแสนประชากร ในปี 2560 เหลือ 8.72 ในปี 2566 หรือลดลง 2.6 เท่า ส่วนผลประเมินผลตอบแทนทางสังคมไทย โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ใน 10 ปี จะลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข แบ่งเป็นคลอร์ไพริฟอส 4.1 หมื่นล้านบาท พาราควอต 4.750 ล้านบาท ไกลโฟเซต 1.89 พันล้านบาท

ส่วนการเฝ้าระวังสารจำกัดแมลงศัตรูพืช 4 กลุ่ม คือ คาร์บาเมท (Carbamates) ออร์แกโนฟอสเฟต(Organophosphate) ออร์แกโนคลอรีน (Organochlorines) และ ไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) ในผักและผลไม้ส่งออก ปี 2555-2556 พบการตกค้าง ลดลงจากที่เกินค่ามาตรฐาน 50% เหลือ 20% และเป็นที่มาของมติสมัชชาฯ ที่ 5.5 ซึ่งมีผลักดันไม่ให้มีการต่อทะเบียนและยกเลิกทะเบียนสารทั้ง 4 ตัว และขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าไม่ให้วางจำหน่ายผักและผลไม้ที่มีสารดังกล่าว

“ถือเป็นการตื่นตัวและพยายามยกระดับมาตรฐานของไทยจนพบสารตกค้างในผัก ผลไม้ลดลง เช่นที่ห้าง จากที่พบตกมาตรฐาน 60% ในปี 2559 พอปี 2565 ขยับไปตรวจ 567 สาร พบตกค้างลดลงอยู่ที่ 51%” น.ส.ปรกชล กล่าว

แม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารตั้งแต่ก่อนจำหน่ายและหลังจำหน่าย โดยเฉพาะผักและผลไม้ จากการสุ่มตรวจกว่า 1,000 ตัวอย่าง พบสินค้าตกมาตรฐาน 20% ซึ่ง ภญ.สุภาวดี ธีระวัฒน์สกุลผู้แทน อย. ระบุว่า ตัวเลขการตกค้าง หรือไม่ผ่านมาตรฐานแตกต่างจาก Thai-PAN ตรวจพบ เพราะข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น แล็บตรวจในประเทศตรวจสารเคมีได้จำกัด ใช้เวลาตรวจสอบนาน ค่าตรวจแพง ซึ่งการพัฒนาระบบต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เราใช้งบประมาณ 40 ล้านบาท ในการเก็บตัวอย่างทุกๆ อย่าง จึงจำเป็นสุ่มตรวจ โดยเน้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงไว้ก่อน

“แม้เราตรวจสอบหาสารตัวนั้นไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารตัวนั้นตกค้างอยู่” ผู้แทน อย. เน้นย้ำ

ความคาดหวังที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความปลอดภัยทางด้านอาหาร ถูกหยิบยกมาอีกครั้งในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางอาหารมานับทศวรรษของภาคีเครือข่ายที่จะร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนการสร้างระบบและกลไกอาหารปลอดภัยประเทศไทย : Thailand Rapid Alert System for Food)

ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ EU มีระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารที่เข้มข้นเป็นกระบวนการ เรียกได้ว่า เป็นหน่วยเฝ้าระวัง คือ เริ่มจากการถ่ายทอดข้อมูลการเตือนภัย การแชร์ความไม่ปลอดภัยในอาหาร จากนั้นจะมีการปฏิบัติการแจ้งเตือน และหากยังไม่ได้รับการแก้ไจจะมีการลงพื้นที่จัดการทันที

การควบคุมและเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารในประเทศไทยที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เพราะด้วยการขาดเอกภาพในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคการเมืองที่จะต้องจริงจังกับเรื่องนี้

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ชี้ว่า สิ่งที่จะทำให้สำเร็จ คือ 1.ต้องเผยแพร่ความจริงให้ประชาชนได้ตระหนัก 2.คนทำงานต้องอดทนต่อแรงเสียดทานสู้กับผลประโยชน์ แก้กฎหมายให้ร่วมมือกันมากขึ้น รัฐจำเป็นต้องเป็นผู้นำ ดึงภาคประชาชนมามีส่วนร่วม โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ.อาหารปลอดภัย จะต้องเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด

ความเห็นของ ภก.ภาณุโชติ ทองยัง จากสภาองค์กรผู้บริโภค ชี้ว่า ระบบเฝ้าระวังเชิงรุก ถ้าภาครัฐแบกไว้ฝ่ายเดียวงบประมาณก็เยอะ คนก็ไม่พอ และซ้ำซ้อนกัน ปัจจุบันภาคประชาชนมีส่วนร่วมอยู่สองอย่างคือ ร่วมตกใจ กับร่วมเสี่ยงภัย ดังนั้นจึงอยากให้เปิดช่องให้ภาคประชาชนเข้าร่วมกับระบบเฝ้าระวังเชิงรุก เตือนภัยเร่งด่วน ซึ่งประชาชนมีความเข้าใจในพื้นที่ช่วยรัฐในการจับตาเฝ้าระวังได้ดี

สอดรับกับ ดร.พัทธนันท์ เกษมวีรศานต์ ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตรวจสอบเฝ้าระวัง กองควบคุมมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ที่ระบุว่า เรามีระบบสื่อสารเตือนภัยอาหาร THRASFF มาตั้งแต่ปี 2554 ที่มีกลไลขับเคลื่อนจากคณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ อุตสาหกรรม เอกชน และมีระบบตรวจสอบโดยห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO17025 ต้องปรับปรุงด้านการนำเข้าข้อมูลและเตือนภัย และคณะทำงานเห็นควรมีการเปิดข้อมูลสู่สาธารณะด้วย แม้ Thailand Rapid Alert System for Food มีแนวโน้มเชิงบวก มองเห็นทิศทาง แต่ก็ไม่ง่ายที่จะสำเร็จ

ดร.ศักดิ์ณรงค์ ศิริพร ณ ราชสีมา อดีตที่ปรึกษาสถาบันอาหาร ให้ความเห็นว่า จากที่ฟังหน่วยงานต่างๆ พูดถึงการดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยเหมือนจะมีความชัดเจน แต่ไม่มีความชัดเจน ทำให้โครงสร้างความปลอดภัยด้านอาหารไม่เสร็จสมบูรณ์ ตนไม่เชื่อว่ากลไกของรัฐจะตรวจสอบได้ทั้งหมด แต่สิ่งที่ต้องทำมีผู้เล่น 3 ส่วน 1.รัฐ ต้องเป็นผู้นำดำเนินการ 2.ภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการ เกษตรกร ร่วมทำเรื่องมาตรฐานระบบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์คู่ขนานกันไป และตัวที่ 3.เป็นสัญญาณทางบอกและเป็นความหวัง คือการมีสภาองค์กรผู้บริโภค

หากรัฐบาลเห็นความสำคัญกับเรื่องนี้แล้วให้เครือข่ายภาคประชาชนทำ ทำไมจะทำไม่ได้ ก็เหมือนทำพาสปอร์ตที่ให้เอกชนมาทำ แล้ว มกอช.ไปตรวจสอบติดตามแล็บให้ ทำงานประสานอย่างนี้เหมือนกับสหภาพยุโรปที่ทำแบบนี้ สำหรับระบบ Rapid Alert System เป็นเรื่องดี แต่หากไม่สแกน ก็จะทำให้ผู้บริโภคตกใจ แล้วเสี่ยงทำให้ล้มทั้งระบบ

“ประสบการณ์ ของผม 30 ปี ที่ทำงานด้านนี้ รู้สึกว่าไม่อยากให้พูดอย่างเดียว กลไกสำคัญคือภาคการเมืองว่าจะเอาจริงแค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยเอาจริงเรื่องนี้ ที่แข็งแรงที่สุด คือภาคประชาชน เราไม่เคยเห็นภาคการเมืองชูเรื่องอาหารปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่งเลย ถ้ารัฐบาลเห็นความสำคัญของประชาชนอย่าดีแต่พูด ท่านต้องทำด้วย” อดีตที่ปรึกษาสถาบันอาหาร ย้ำชัด

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ชี้ว่า กฎหมายยังมีข้อจำกัด และจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย โดยขอเสนอให้ยกร่าง พ.ร.บ.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งจะทำให้การดูแล และจำกัดการใช้สารเคมีดีขึ้น

การสร้างระบบและกลไกอาหารปลอดภัยประเทศไทย : Thailand Rapid Alert System for Food จะมีแนวโน้มและทิศทางเป็นอย่างไรต่อไป ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะช่วยกันเริ่มนับหนึ่งของการสร้างให้ประเทศไทยมีระบบอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อย่างแท้จริงสมกับเป็นศูนย์กลางด้านอาหาร หรือครัวโลก ที่พูดๆ กัน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ‘สุรา ยาเมา’ ความท้าทายวันพระใหญ่ 2568 สกู๊ปพิเศษ : ‘สุรา ยาเมา’ ความท้าทายวันพระใหญ่ 2568
  • สกู๊ปพิเศษ : ​ถ่ายทอดอัตลักษณ์ไทยผ่านการเต้น ‘Amazing Child’ คว้ารางวัลเวทีโลก สกู๊ปพิเศษ : ​ถ่ายทอดอัตลักษณ์ไทยผ่านการเต้น ‘Amazing Child’ คว้ารางวัลเวทีโลก
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.จับมือเครือข่ายเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ชวนคนไทย‘วางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี’ สกู๊ปพิเศษ : สสส.จับมือเครือข่ายเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษา ชวนคนไทย‘วางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี’
  • สกู๊ปพิเศษ : ‘Thailand Brainpower Briefing 2026’ พลังสมอง ประกายแห่งนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น ‘Smart Nation’ สกู๊ปพิเศษ : ‘Thailand Brainpower Briefing 2026’ พลังสมอง ประกายแห่งนวัตกรรม ขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น ‘Smart Nation’
  • สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน สกู๊ปพิเศษ : ถอดแนวคิดความมั่นคงชายแดน จากมุมมอง นักศึกษา ‘วปอ.บอ.’ 4 ด้าน สะท้อนเส้นแบ่งแห่งโอกาสและอนาคตร่วมกัน
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด สกู๊ปพิเศษ : สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย รณรงค์ต้านยาเสพติด
  •  

Breaking News

(คลิป) ชำแหละ! 'นิรโทษกรรม ม.112' ฉบับ! 'พรรคประชาชน-เอ็นจีโอ'

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved