วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘Gen Y’กลุ่มใหญ่วัยทำงาน ‘องค์กรรัฐ’ปรับรับอย่างไร?

สกู๊ปแนวหน้า : ‘Gen Y’กลุ่มใหญ่วัยทำงาน ‘องค์กรรัฐ’ปรับรับอย่างไร?

วันอาทิตย์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“Gen Y จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 26-27 ลากไปจนถึงประมาณ 40 นิดๆ อยู่กันช่วงประมาณนี้ เพราะฉะนั้นถือว่า Gen Y เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ จากผลของการสำรวจ เขาบอกว่า Gen Y เป็นกลุ่มคนที่มากที่สุดในอาเซียนเลย แล้วก็จริงๆ ถ้าลองลากมาอยู่ในประเทศไทย จริงๆ ก็ถือว่าเป็นกลุ่มคนเยอะที่สุดเมื่อเทียบกับ Generation อื่นๆ แล้วก็ถือเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ”

รศ.ดร.กมลพร สอนศรี อาจารย์สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในการบรรยายหัวข้อ “เจียระไนมนุษย์ Gen Y และแนวทางรับมือในระบบราชการ” ในงาน“Direk Talk : มองโลก มองไทย มองไปข้างหน้า” จัดโดยศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงความสำคัญของ “คน Gen Y”ไม่ว่าในภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งไม่เฉพาะแต่ ณ เวลาปัจจุบันเท่านั้น แต่หากมองไปอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากร Gen Y จะเพิ่มขึ้นไปอีกร้อยละ 50 กลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่


เมื่อดูบุคลิกลักษณะของคนแต่ละ Gen ไล่ตั้งแต่ที่เป็นผู้อาวุโสกันไปหมดแล้วอย่าง “Baby Boomer” จะเป็นคนที่ทำงานอย่างแข็งขัน มาเช้ากลับบ้านมืดค่ำ และจงรักภักดีกับองค์กร ชอบการพูดคุยหารือแบบเจอกันมากกว่าผ่านเครื่องมือสื่อสาร, “Gen X” ปัจจุบันจะมีอายุประมาณ 45-55 ปี มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ให้ความสำคัญกับสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) ชอบทำงานที่ใดที่หนึ่งนานๆ ไม่ชอบเปลี่ยนงานบ่อยๆ,

“Gen Y” หรือบางครั้งก็เรียกว่า “Millennial” ชอบความสำเร็จ ชอบการแข่งขันและความท้าทาย มีความรับผิดชอบสูง ชอบทำงานเป็นทีม ชอบความยืดหยุ่น ให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance ใช้เทคโนโลยีได้ดี กล้าแสดงออก และ “Gen Z” เป็นคนรุ่นใหม่ที่สุดในวัยทำงานปัจจุบัน ซึ่งในช่วงท้ายๆ ของชีวิตวัยเรียนจะตรงกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมต่างๆ จึงหันไปทำทางออนไลน์ คน Gen Z คุ้นชินกับการใช้ช่องทางออนไลน์ ขณะที่ในด้านความอดทน คน Gen Z จะมีระดับความอดทนต่ำกว่า Gen Y

“Gen Y ลาออกบ่อยจริงหรือเปล่า? เพราะอะไร? เพราะ Gen Y มีความจงรักภักดีกับองค์กรต่ำ เพราะฉะนั้นเขาก็สามารถที่จะลาออกไปได้เลยโดยที่เขาไม่ได้สนใจว่ามันจะมีสิทธิประโยชน์สวัสดิการอะไรมากมาย จริงๆ ได้ลองไปพูดคุยกับGen Y หลายคน แล้วก็ Gen Y หลายๆ คนที่อยู่ในระบบราชการแล้วลาออกไป ก็ถามว่าไม่เสียดายหรือ? ความเป็นระบบราชการ บำนาญที่เราจะได้ โน่นนี่นั่น อ่อ!..ไม่แคร์! คือถ้างานไม่ได้ท้าทายเพียงพอก็ออกได้เลยเหมือนกัน อันนี้ก็จะเป็นคุณลักษณะทั่วๆ ไปของ Gen Y ทั้งภาครัฐ-ภาคเอกชน” รศ.ดร.กมลพร กล่าว

เมื่อเจาะไปที่คน Gen Y ในภาครัฐ รศ.ดร.กมลพร เล่าถึงการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างรวม 400 คน ทั้งที่เป็นข้าราชการและพนักงานราชการ พบ “6 นิสัยหรือทัศนคติที่พบบ่อยๆ ของคน Gen Y ในภาครัฐ” ไล่ตั้งแต่ 1.ชอบความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 2.สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ 3.ชอบการได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมตัดสินใจ 4.ชอบความท้าทาย 5.มีความรับผิดชอบสูง และ 6.ต้องการความชัดเจน

คำถามต่อมา “มุมมองของ Gen Y ต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภาครัฐ” ไล่ตั้งแต่ 1.ครอบครัว หากคนในครอบครัวภูมิใจกับการรับราชการ คน Gen Y ก็มีแนวโน้มอยากรับราชการด้วย ซึ่งจากแบบสำรวจ พบบุคลากรภาครัฐ Gen Y จำนวนไม่น้อยที่มีพ่อแม่เป็นข้าราชการ 2.ทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการ คน Gen Y อยากทำให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพดีขึ้น ไม่อยากอาศัยตำแหน่งหน้าที่กระทำทุจริตแม้จะมีโอกาสให้ทำได้

3.ความจงรักภักดีต่อองค์กร คน Gen Y พร้อมจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์กรกับบุคคลภายนอก พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงหากทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ ชอบการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็พร้อมจะลาออกหากงานที่ทำไม่น่าสนใจหรือไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมมากพอ และ 4.การสนับสนุนจากองค์กรคน Gen Y มองว่า หากสามารถปรึกษาหารือกับเพื่อนร่วมงานได้ ก็จะมีความสุขกับการทำงานและอยากอยู่ในองค์กรนั้นต่อไป รองลงมาคือการได้รับการยอมรับในความสามารถหรือจากผลงาน

“ความคิดเห็นที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด ก็คือเรื่องของผลตอบแทน โบนัส สวัสดิการทั้งหลาย กระตุ้นให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไหม? Gen Y บอกว่าไม่ใช่! ปัจจัยพวกนี้ไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับเขา นั่นแปลว่าเผลอๆ แล้ว Gen Y ก็รู้อยู่แล้วว่าพอเข้ามาในระบบราชการเงินเดือนก็น้อย สวัสดิการโบนัสก็ไม่ได้มีสูง ทำงานก็ไม่ได้ยืดหยุ่นเท่าไร ฉะนั้นปัจจัยพวกนี้พอมันเป็นสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วเขาก็ไม่ได้ต้องการมากจากระบบราชการ แต่สิ่งที่เขาต้องการมากก็คือมิตรที่ดี แล้วก็ผู้บังคับบัญชาที่ดี อะไรแบบนี้ การมีส่วนร่วมอะไรทั้งหลายแหล่” รศ.ดร.กมลพร ระบุ

รศ.ดร.กมลพร กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยทั้ง 4 ด้านนี้ว่า “การเป็นแบบอย่างที่ดีของคนในครอบครัว มีผลมากที่สุดกับการตัดสินใจรับราชการของคน Gen Y” หากครอบครัวสามารถให้มุมมองที่ดีเกี่ยวกับระบบราชการ ก็จะมีผลต่อพฤติกรรมที่ดีของคน Gen Y ซึ่งถือว่า “ผิดคาด” จากเดิมที่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการได้รับการสนับสนุนจากองค์กร ขณะที่ปัจจัยรองลงมาคือทัศนคติต่อการทำงานในระบบราชการ หมายถึงความต้องการของคน Gen Y ที่ต้องการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม “ทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้น เป็นปัจจัยส่วนบุคคลของคน Gen Y นั้นเอง” หรือมาจากความตระหนักรู้ของตัวบุคคล ทำให้ในส่วนขององค์กรก็ไม่รู้ว่าควรจะปรับเปลี่ยนอย่างไร แต่ถึงกระนั้น ในเมื่อ Gen Y เป็นคนกลุ่มใหญ่ขององค์กร ระบบราชการจะไม่ทำอะไรเลยก็คงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึง 1.ปรับระบบจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน ที่ผ่านมามีการปรับอัตราเงินเดือนแรกเข้าของข้าราชการ แต่นั่นเป็นนโยบายที่มีผลกับคน Gen Z ดังนั้นควรปรับระบบการประเมินผลงาน หากทำผลงานได้ดีก็น่าจะมีโบนัสตอบแทนเพื่อจูงใจให้คนเก่งอยู่ในระบบต่อไป

2.ปรับปรุงกฎระเบียบให้ยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างการทำงานในมหาวิทยาลัยมีระบบสวัสดิการแบบ Flexi Benefit แต่ในระบบราชการยังเป็นรูปแบบเดียวกันหมด ซึ่งหากทำได้ คนแต่ละ Gen ก็จะได้สวัสดิการตรงตามความต้องการของตนเอง 3.ลดความเป็นลำดับชั้น (Hierarchy) ลง ให้คน Gen Y มีส่วนร่วมกำหนดทิศทางองค์กรมากขึ้น ที่ผ่านมาคนกำหนดทิศทางอาจเป็น Baby Boomer หรือ Gen X และ 4.มีการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าในอาชีพ งานในระบบราชการมีเส้นทาง
ความก้าวหน้าที่ชัดเจน แต่การพัฒนาคนให้สอดคล้องกับเส้นทางยังมีคำถามอยู่

“อาจจะต้องหันกลับไปดูว่าในระบบราชการเองมีแผนพัฒนารายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรมหรือเปล่า? รายบุคคลหมายถึงแต่ละคนเขาต้องพัฒนาอะไร? แล้วมันจะทำให้เขาเติบโตไปได้ถึงไหน? แล้วอาจต้องประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะๆ เพื่อให้เขาก้าวไปสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมด้วยเหมือนกัน” รศ.ดร.กมลพร กล่าว


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

'สุริยะ'รับมีงบกระจุกจริง แต่ยังไม่ได้อนุมัติ เหตุมีเอกสารคำขอไม่ตรงกัน

(คลิป) 'รัชดา ธนาดิเรก'คายเรื่องลับ ยุคลุงตู่!! เล่าหมดเปลือก ปมดราม่า

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

'สุริยะ'มั่นใจ! รักษาเก้าอี้'สส.ศรีสะเกษ'ได้แน่ มอบ'มนพร-สมศักดิ์'ดูแลเลือกตั้ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved