วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : ‘โลกร้อน-พัฒนาไม่สมดุล’  ปัจจัยเอื้อ‘คน-สัตว์’ขัดแย้ง

สกู๊ปแนวหน้า : ‘โลกร้อน-พัฒนาไม่สมดุล’ ปัจจัยเอื้อ‘คน-สัตว์’ขัดแย้ง

วันอาทิตย์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

“คุณตามฌาร์มพูดเสมอว่า สัตว์เขาไม่มีเงินเดือน เขาไม่สามารถจะซื้อของกินได้และเขาไม่สามารถจะพูดได้ เขาเจ็บป่วย เขาเป็นอะไรเขาบอกเราไม่ได้ เราจะต้องมีความเมตตาในจุดนั้น แล้วก็เห็นว่าเขาต้องการอะไรแล้วเอาสิ่งเหล่านั้นไปช่วยเหลือเขา ฌาร์มพูดมาตั้งแต่ประกวด แล้วพอได้ตำแหน่งมา ทางสมาคมก็ได้ติดต่อมา และหลังจากนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้น”

ฌาร์ม โอสถานนท์ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สประจำปี 2549 เล่าถึงที่มาที่ไปของการเข้ามาทำงานร่วมกับ สมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ในวงเสวนา “การบูรณาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนและสัตว์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นการทำตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่วันขึ้นเวทีประกวด กับโจทย์คำถามว่านางงามแต่ละคนอยากทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง ตนก็ตอบอย่างชัดเจนว่าอยากทำงานด้านช่วยเหลือสัตว์ และหลังจากนั้นก็กลายมาเป็นนักกิจกรรมของสมาคมฯ ร่วมเป็นวิทยากรปลูกฝังจิตสำนึกรักสัตว์กับเด็กและเยาวชน


วงเสวนานี้ซึ่งจัดโดย TSPCA เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแคนทารี อมตะ บางปะกง จ.ชลบุรี เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ ครั้งที่ 23 เรื่อง “9 ปี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 กับการบูรณาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนและสัตว์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน”ยังมีวิทยากรอีก 3 ท่าน โดย ศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การสมาพันธ์สมาคมสัตว์แพทย์แห่งเอเชีย ได้ยกหลักคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์

กล่าวคือ “ร้อยละ 75 ของโรคที่เกิดขึ้นกับคนเป็นโรคที่มาจากสัตว์” แต่บางครั้งก็มีการถกเถียงกันว่า “โรคเกิดจากสัตว์ก่อนติดต่อสู่คน..หรือเกิดจากคนแล้วแพร่ไปยังสัตว์” แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาก “ความไม่สมดุล” เช่น คนตัดไม้ทำลายป่า พื้นที่ป่าลดลงทำให้สัตว์ไม่มีที่อยู่และต้องเข้ามาหาอาหารในเมือง และที่น่าห่วงคือ “ภาวะโลกร้อน” ทำให้พบโรคที่เกิดจากสัตว์พาหะประเภทยุงและแมลงมากขึ้น

“ในโลกของเรานี้ เราต้องมองภาพรวมให้เห็นชัดเจนก่อน แล้วเราสร้างระบบนิเวศที่ดี สิ่งเหล่านี้จะทำให้สัตว์อยู่ได้ แล้วก็จัดสรรที่ที่เขาอยู่ให้ดี มีอาหารให้ครบถ้วนตามสวัสดิภาพสัตว์ของเขา อาหารที่อยู่อาศัย มีปัญหาก็รักษาโรคกันไป รวมทั้งให้ได้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมทางธรรมชาติด้วย เพราะสิ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะช่วยเรา” ศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา กล่าว

เช่นเดียวกับ จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ที่ปรึกษาอาวุโส องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ที่กล่าวถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน หรือ “ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change)” ซึ่งต้องบอกว่า “ไม่มีเมืองใดในโลกที่ออกแบบไว้เตรียมรับมือกับเรื่องนี้” จึงเห็นภาพความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น ในประเทศเยอรมนี ซึ่งว่ากันว่ามีความเจริญและมีความพร้อมรับมืออย่างมาก แต่เอาเข้าจริงก็มีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม หรือหลายๆ ประเทศในทวีปยุโรป ก็มีผู้เสียชีวิตเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island)

ฉะนั้นแล้ว ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดการออกแบบเมืองและการพัฒนาไปสู่ “การอยู่บนฐานธรรมชาติ (Nature Base Solution)” ที่คนไม่อาจพึ่งพาแต่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และมุ่งเน้นแต่การปลูกสิ่งก่อสร้าง โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติและวัฒนธรรมได้อีกต่อไป และการที่คนกับสัตว์(โดยเฉพาะสัตว์ป่า) จะสามารถอยู่ร่วมกันได้ ก็ต้องสร้างธรรมชาติหรือระบบนิเวศเพื่อรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศขึ้นมา

“เวลาเราสร้างเมือง เราไม่ได้คิดถึงระบบนิเวศ พวกเราไม่คิดถึงป่า ป่าคือบ้านหรือ Habitat (ที่อยู่อาศัย) ของเขา แต่พวกเราได้ทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อมไปเสีย ทำลายในเรื่องของเกี่ยวกับ Wetlands (พื้นที่ชุ่มน้ำ) ซึ่งอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ต่างๆ นานาเหล่านี้มากมายเหลือเกิน ถ้าหากว่าไม่มีป่า ไม่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศที่สมบูรณ์แล้ว สัตว์ป่าก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้ ฉะนั้นพวกเราสามารถที่จะสร้าง ฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนา เป็นเรื่องของพื้นที่สีเขียว ฟื้นที่ป่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ สัตว์ก็จะอยู่ได้ และคนก็สามารถที่จะอยู่ได้” ที่ปรึกษาอาวุโส IUCN กล่าว

ด้าน “หมอล็อต” น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชฉายภาพผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วจากความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ นั่นคือ “เหตุกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้าง” เมื่อช้างออกจากป่าเข้ามาหาอาหารในพื้นที่ชุมชนของคน แน่นอนว่าช้างเป็นฝ่ายบุกรุก แต่เบื้องหลังนั้นคือ ในป่าที่เป็นบ้านของช้างไม่มีแหล่งอาหารสำคัญอย่าง “ดินโป่ง” แล้ว ซึ่งแม้แรกๆ คนจะขับไล่ช้างไปได้ แต่นานวันเข้าช้างก็เกิดการเรียนรู้ที่จะตอบโต้ และด้วยพละกำลังของช้างนั้นก็สามารถทำอันตรายต่อคนถึงขั้นเสียชีวิตได้

รวมถึงผลกระทบจาก “ความไม่สมดุล” ดังกรณีของ “ตัวเงินตัวทองในกรุงเทพฯ” ซึ่งที่ผ่านมามีการระดมกวาดจับตัวเงินตัวทองที่พบในพื้นที่ในกรุงเทพฯ ตามบ้านเรือนบ้าง สวนสาธารณะบ้าง ส่งผลให้ระยะหลังๆ พบรายงานการจับ “งูเหลือมในเมืองหลวง” เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากตามธรรมชาติแล้ว “ตัวเงินตัวทองกับงูเหลือมเป็นสัตว์ที่ควบคุมประชากรซึ่งกันและกัน” โดยตัวเงินตัวทองจะกินไข่งูเหลือม ส่วนงูเหลือมก็กินตัวเงินตัวทอง ดังนั้นเมื่อตัวเงินตัวทองหายไปจากระบบนิเวศ ก็ทำให้ประชากร
งูเหลือมเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ก็ต้องให้ความรู้กับประชาชน

หรือกรณีของ “ลิงลพบุรี” ก็พบว่า เดิมทีประชากรลิงใน จ.ลพบุรี จะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด ต่อมา “คนได้จัดกิจกรรมให้อาหารลิง แต่เป็นกิจกรรมที่ไม่มีการจัดระเบียบ” ใครจะให้อย่างไรก็ได้ ต่างคนต่างให้ “เมื่อลิงได้กินก็มีพลังงานสูง แต่ลิงนั้นอยู่ว่างๆ ผลคือลิงก็ไปผสมพันธุ์ออกลูกหลานมามากมาย และด้วยวิถีชีวิตของลิง ตัวผู้ต้องท้าชิงตำแหน่งจ่าฝูง และผู้แพ้ต้องออกจากฝูงไปสร้างอาณาจักรใหม่” จึงทำให้มีประชากรลิงกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ตามจุดต่างๆทั่วเมืองลพบุรี จนล่าสุดต้องมีการจัดระเบียบลิงอย่างจริงจัง

ในกรณีของลิง จ.ลพบุรี ที่ปัจจุบันมีการจัดระเบียบในทุกมิติทั้งสุขภาพคน สุขภาพลิง สภาพแวดล้อมของเมือง ไปจนถึงมิติด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว หมอล็อต กล่าวถึงข้อค้นพบหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือ “การวิวัฒนาการของเชื้อโรคไป-มาระหว่างคนกับสัตว์” เพราะจากการตรวจสุขภาพลิง พบจำนวนไม่น้อยมีอาการเจ็บป่วย ทั้งจากปัจจัยพันธุกรรมที่เกิดจากการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพราะลิงอยู่ในเมืองไม่มีแหล่งน้ำกิน ต้องคอยหาน้ำจากท่อแอร์บ้าง กองขยะบ้าง แม้กระทั่งเลียผนังตึก ทำให้ลิงสุขภาพไม่ดีและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย

“โรคติดต่อจากคนไปสู่ลิง แล้วเชื้อโรคเหล่านี้มันวิวัฒนาการเกิดการพัฒนาเพราะเจอ Host (พาหะ) ตัวใหม่ และในลิงก็มีเชื้อไวรัสอยู่แล้วด้วย โอกาสที่มันจะย้อนกลับมาสู่คน นั่นคือสิ่งที่รุนแรงมากนี่คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ให้ความสำคัญและมีความกังวล” หมอล็อต กล่าว


SCOOP@NAEWNA.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน  อุตสาหกรรมการบินของไทย สกู๊ปแนวหน้า : เส้นทางสู่ความยั่งยืน อุตสาหกรรมการบินของไทย
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved