วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปแนวหน้า : เดินหน้า ‘Medical AI Data Platform’  สร้าง AI ช่วยวินิจฉัยโรค ลดภาระแพทย์

สกู๊ปแนวหน้า : เดินหน้า ‘Medical AI Data Platform’ สร้าง AI ช่วยวินิจฉัยโรค ลดภาระแพทย์

วันอาทิตย์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
Tag : สกู๊ปแนวหน้า
  •  

ปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เป็นผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการวินิจฉัยรอยโรคจากภาพถ่ายทางการแพทย์ เพราะ AI มีศักยภาพในการประมวลผลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลภาพหรือ visual computing ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระงานด้านการคัดกรองโรคเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับกรมการแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้ง Medical AI Consortium หรือภาคีเครือข่ายปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ อันประกอบด้วยหน่วยงาน
และบุคลากรด้านการแพทย์และการวิจัย เช่น กรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยชั้นนำในประเทศไทย เพื่อดำเนินการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์คุณภาพสูงของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยและผลิตระบบบริการ AI คัดกรองโรค สำหรับแบ่งเบาภาระงานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ นำไปสู่การเพิ่มโอกาสให้ประชาชนไทยได้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ในการดำเนินงานภาคีเครือข่ายฯ (2566-2569) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)


ดร.ศวิต กาสุริยะ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. เปิดเผยว่า การพัฒนา Medical AI Data Platform แพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมเทคโนโลยีสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายฯ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วนั้น ภายในแพลตฟอร์มประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก 1.คือเทคโนโลยีสำหรับจัดเก็บและเผยแพร่ภาพถ่ายทางการแพทย์จากทั่วประเทศ 2.คือเทคโนโลยีกำกับข้อมูลภาพถ่ายให้อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้ผลิตโมเดล AI และ 3.คือเทคโนโลยีสำหรับผลิตโมเดล AIในรูปแบบใช้งานง่าย เพื่อลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการผลิต

“ในส่วนแรก เทคโนโลยีหลักที่เนคเทคพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีเดิมให้เหมาะสมกับการจัดเก็บภาพถ่ายทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น คือ Open-D เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่มีฟังก์ชั่นกำหนดระดับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ หรือแบ่งปันเฉพาะกลุ่ม สำหรับใช้จัดเก็บและแบ่งปันภาพถ่ายเพื่อประโยชน์ด้านการวิจัยร่วมกัน ส่วนที่สอง เทคโนโลยีสำหรับกำกับข้อมูล ภาพถ่าย เพื่อใช้ในการเทรนโมเดล AI เทคโนโลยีหลักที่นำมาให้บริการคือ RadiiView ที่รองรับไฟล์ภาพได้หลากหลายประเภท ทั้งภาพถ่ายทั่วไป ฟิล์มเอกซ์เรย์ และภาพสแกน 3 มิติโดยมีฟังก์ชั่นสำหรับการกำกับข้อมูลภาพที่ช่วยเตรียมข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการผลิตโมเดล AI ต่อไป และ ส่วนสุดท้าย เทคโนโลยีสำหรับอำนวยความสะดวกด้านการผลิตโมเดล AI คือ NomadML เว็บแอปพลิเคชั่นสำหรับผลิตโมเดล AI โดยไม่ต้องเขียนโค้ด เพียงนำภาพที่ผ่านการกำกับข้อมูลภาพเรียบร้อยแล้วเข้าสู่ระบบ แล้วเลือกฟังก์ชั่นการเทรนโมเดล AI ที่มีให้เลือกทั้งแบบกำหนดพารามิเตอร์เองหรือระบบกำหนดให้โดยอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็จะได้โมเดล AI ช่วยคัดกรองโรคมาใช้งานแล้ว โดยแพทย์หรือผู้พัฒนาสามารถนำโมเดล AI ไปใช้งานได้ผ่าน National Medical AI Service Platform ที่เนคเทค สวทช. เป็นผู้พัฒนา ซึ่งจะเปิดให้บริการแก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศในอนาคตโดยกรมการแพทย์” ดร.ศวิต กล่าว

รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช. กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันเนคเทค สวทช. พัฒนา Medical AI Data Platform เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในปี 2567 ภาคีเครือข่ายฯ ได้รับความร่วมมือในการนำภาพถ่ายทางการแพทย์เข้าสู่ระบบมากกว่า 1 ล้านภาพ และตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนภาพให้ได้มากถึง 3 ล้านภาพภายในเฟสแรกของการดำเนินงาน (2566-2569) ในปี 2568 นี้ นอกจากจะเป็นช่วงประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัย สถานพยาบาลต่างๆ บริษัทซอฟต์แวร์ รวมทั้งผู้พัฒนาจากทั่วประเทศไทยเข้าร่วมภาคีเครือข่ายฯ และใช้งานแพลตฟอร์มกลางของประเทศร่วมกันแล้ว ยังเป็นช่วงที่ภาคีเครือข่ายฯ เริ่มดำเนินงานกำกับข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์ที่ได้รับการสนับสนุนด้วย

“ผู้ดำเนินงานหลักด้านการกำกับข้อมูลภาพในช่วงเริ่มต้นจะเป็นบุคลากรจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งศาสตร์ทางการแพทย์และการกำกับข้อมูลภาพสำหรับใช้เทรนโมเดล AI เพื่อให้ได้ต้นแบบการกำกับข้อมูลที่ได้มาตรฐาน ก่อนที่กรมการแพทย์จะขยายผลในการจัดสรรบุคลากรมาร่วมดำเนินงานกำกับข้อมูลที่จะมีจำนวนภาพเพิ่มเติมอีกหลายเท่าตัวในอนาคต ส่วนขั้นตอนการผลิตโมเดล AI เพื่อคัดกรองโรค สมาชิกภาคีเครือข่ายฯ และบุคคลทั่วไปจากภายนอก จะเริ่มดำเนินงานหลังจากภาพคุณภาพสูงที่ผ่านการกำกับข้อมูลเรียบร้อยแล้วมีจำนวนมากเพียงพอ โดยจำนวนภาพขั้นต่ำสำหรับเทรนโมเดล AI เพื่อคัดกรองแต่ละรอยโรค คือ 10,000 ภาพ ซึ่งระดับความแม่นยำจะขึ้นอยู่กับจำนวนภาพถ่ายคุณภาพสูงที่ผ่านการกำกับข้อมูลอย่างถูกต้อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของแพทย์นักวิจัย นักพัฒนา และผู้ใช้งานที่นำ AI ไปใช้งานจริงในการตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ เพื่อให้นำข้อมูลที่ได้กลับมาใช้ปรับปรุงโมเดล AI ให้มีความแม่นยำและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต” ดร.ศวิต ระบุ

แม้ในเฟสแรกหรือภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2569 ทางภาคีเครือข่ายฯ อาจยังขาดความพร้อมที่จะผลิตโมเดล AI คุณภาพสูงเพื่อให้บริการแก่สาธารณะ เนื่องจากยังมีจำนวนภาพถ่ายทางการแพทย์คุณภาพสูงที่ผ่านการกำกับข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่มากพอ และการพัฒนาโมเดล AI ให้มีความแม่นยำสูงในระดับที่เหมาะกับการเปิดให้บริการจำเป็นต้องอาศัยเวลาในการวิจัยและพัฒนา อย่างไรก็ตามภาคีเครือข่ายฯ มีแผนที่จะนำระบบบริการ AI ที่เนคเทค สวทช. และพันธมิตรพัฒนาจนพร้อมใช้งานแล้วและให้บริการแก่สาธารณะได้ มาเปิดให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศไทยได้เข้าใช้งานก่อนภายในการทำงานเฟสแรกนี้หรือภายในปี 2569 ผ่านทาง National Medical AI Service Platform


SCOOP.NAEWNA@HOTMAIL.COM
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย สกู๊ปแนวหน้า : ‘โครงสร้างประชากร’ ระเบิดเวลาสังคมไทย
  • สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’ สกู๊ปแนวหน้า : ลดความสูญเสียบนถนน เป้าที่ท้าทายของ‘ปราจีนบุรี’
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน สกู๊ปแนวหน้า : ‘เหลื่อมล้ำ’ด้านการศึกษา ปัจจัยมากกว่าระบบโรงเรียน
  • สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง สกู๊ปแนวหน้า : ‘ลมแดด’ภัยหน้าร้อน ‘ไรเดอร์’อีกอาชีพเสี่ยง
  • สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปแนวหน้า : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  •  

Breaking News

ยันเป็นเขตแดนไทย! ทบ.แจง Google Map ไม่มีผลด้านกฎหมาย หลังหมุดปราสาทโผล่เขมร

บุกทลายร้านชำกระทุ่มแบน! พบปืนเถื่อน บุหรี่ไฟฟ้า น้ำท่อม ยาแก้ไอ วงพนันครบครัน

พลังบวกเชิงลบ!! 'ปกรณ์วุฒิ'ต้อนรับ'ภท.' บอกทำงานสบายๆ เพราะไม่ได้อยู่กันด้วยความสมัครใจ

แฟนคลับช็อก! 'อีซอยี'นักแสดงเกาหลีเสียชีวิตด้วยวัย 43 ปี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved