วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
รายงานพิเศษ : ปลดล็อกศักยภาพ ชายแดนประเทศไทย

รายงานพิเศษ : ปลดล็อกศักยภาพ ชายแดนประเทศไทย

วันพฤหัสบดี ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

ผ่านพ้นไปแล้วกับการเปิดตัวรายงานเชิงนโยบายเผยแผนยุทธศาสตร์ “ปลดล็อกศักยภาพชายแดนประเทศไทย” โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับ ธนาคารโลก (World Bank) เมื่อช่วงปลายเดือน ก.พ. 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งชี้ว่า พื้นที่ชายแดนไทยมีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เอื้อให้เติบโตได้ต่อเนื่อง พร้อมเป็นประตูสู่การค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน

“พื้นที่ชายแดนของไทยใน 31จังหวัดแม้ว่าจะตั้งอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่กลับเป็นไปในอัตราที่ช้า ไม่เหมาะสมกับศักยภาพทางภูมิศาสตร์” โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในพื้นที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศถึง 34% อีกทั้งแรงงานในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำงานในภาคการเกษตร ในขณะที่แรงงานในอุตสาหกรรมที่มูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นเพียง 12% จะเห็นได้ว่าภาคเศรษฐกิจสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือและอีสาน คือ ภาคเกษตร ส่วนในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา แม้ว่าประชากรจะประกอบอาชีพหลากหลายและมีฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงกว่า แต่ยังคงตามหลังภูมิภาคอื่นของประเทศ


“ผลจากรายงานฉบับนี้ได้ระบุว่า การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) ในพื้นที่ชายแดน 10 จังหวัด ไม่ได้ผลตามที่ตั้งเป้าไว้ทั้งหมด” เขตเศรษฐกิจพิเศษในบางจังหวัด เช่น สงขลาและสระแก้ว ได้ใช้จุดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ เพื่อขยายตลาดและดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ แต่ในพื้นที่ชายแดนอื่นๆ ยังประสบความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนอย่างต่อเนื่อง

อาทิ ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานปัญหาด้านกฎหมายและระเบียบที่ไม่สอดคล้องกัน และการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเป็นการนำเสนอกรณีศึกษาของ 5 จังหวัดหลัก ได้แก่ เชียงราย สงขลา สระแก้ว หนองคาย และมุกดาหาร โดยหากเขตเศรษฐกิจพิเศษใน 5 จังหวัดนี้ได้รับการเยียวยาและพัฒนาอย่างเพียงพอ จะสามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างก้าวกระโดด

“จากพื้นที่ในการศึกษาเชิงลึกพบว่าจังหวัดมุกดาหารมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี” โดย GPP ต่อหัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4% ระหว่างปี 2554-2563 อีกทั้งยังได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งติดกับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ซึ่งมีประชากรหนาแน่น “แต่แม้จะมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง มุกดาหารกลับได้คะแนนต่ำสุดจาก 5 จังหวัดในกรณีศึกษา” เนื่องจากอัตราการย้ายถิ่นฐานที่สูง สัดส่วนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ และโอกาสทางการศึกษาขั้นสูงที่จำกัด นอกจากนี้ แม้ว่าประชากรราวครึ่งหนึ่งจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง แต่ไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจที่สอดคล้องกัน

สำหรับจังหวัดสงขลาเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในอาเซียน โดยมีจุดผ่านแดนที่รองรับการเดินทางเกือบ 7 ล้านครั้ง และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 878,000 ล้านบาทในปี 2565 อีกทั้งยังมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่หลากหลาย ส่งผลให้ “สงขลาได้รับคะแนนสูงสุดจาก 5 จังหวัดในกรณีศึกษา” อย่างไรก็ตาม “สงขลาประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน” อันเนื่องมาจากข้อจำกัดด้านวีซ่าและทักษะที่ไม่ตรงต่อความต้องการตลาด โครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่น ท่าเรือน้ำลึกและระบบรางเดี่ยว รวมถึงกระบวนการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลที่ซับซ้อน

“กลยุทธ์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้ ควรเน้นการนำศักยภาพในพื้นที่ที่มีจุดผ่านแดนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประตูการค้าการลงทุน แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตร มายกระดับพัฒนาให้สอดคล้องกับความเหมาะสม ควบคู่ไปกับการเดินหน้าแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านคุณภาพของแรงงานที่ยังมีช่องว่างทางทักษะ การขาดโครงสร้างพื้นฐานในบางพื้นที่ การบูรณาการทำงานและวางนโยบายของหน่วยงานต่างๆ ให้เอื้อต่อการค้า” รายงานระบุ

นอกจากนี้ยังให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า ภาครัฐควรจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายแดนเพื่อบริหารจัดการกลยุทธ์การลงทุนและประสานความร่วมมือด้านนโยบายให้ได้ประโยชน์สูงสุด สุดท้ายแล้ว การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกระตุ้นการค้าระหว่างกัน และการบรรจุจังหวัดชายแดนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติและภูมิภาค จะเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่มั่งคั่งและยั่งยืนของประเทศ

สตีเวน รูบินยิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงสาธารณภัยธนาคารโลก กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่ชายแดน ไม่ได้มุ่งเน้นแค่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย การพัฒนาชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพต้องดำเนินการแบบองค์รวม โดยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา และการบริหารจัดการ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพชายแดนประเทศไทย

รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า การเจริญเติบโตของภูมิภาคอย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องเห็นความเจริญเติบโตซึ่งเป็นรั้วของประเทศทำให้เมืองชายแดนมีคุณภาพมากขึ้น ควรยกระดับกลไกการพัฒนาพื้นที่ สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และเมืองชายแดนที่ครอบคลุมในแต่ละมิติและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน รวมถึงผลักดันแผนพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดน และสร้างโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่ของคนในพื้นที่เมืองชายแดนเทียบเท่าคนในเมือง

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” กล่าวถึงที่มาของงานนี้ว่า หน่วย บพท. ได้เล็งเห็นปัญหาการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถกำกับนโยบายของประเทศอื่นได้ สิ่งที่ไทยจะทำได้คือทำให้พื้นที่เมืองชายแดนของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่กระจายความเจริญพอที่จะสร้างศูนย์กลางความเจริญไปสู่ภูมิภาคได้ ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ซึ่งการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนและความต้องการระบบ Area base Approach ที่จะเข้ามาสร้างกลไกการจัดการเสริมกับกลไกที่ทำงานแบบ Function base เพราะฉะนั้นวิธีการที่จะสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานได้คือความรู้ ข้อมูล ที่จะทำให้เกิดการมองเป้าที่ชัดเจนและจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหา และจะจัดการปัญหาตรงไหน รวมถึงมองเห็นว่ากลไกไหนต้องปฏิบัติอะไร ทั้งกลไกระดับนโยบายและกลไกระดับพื้นที่

และเชื่อมั่นว่า จากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานจะทำให้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับพื้นที่ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความร่วมมือเพื่อทำให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหาที่เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนร่วมกันได้จากกลไกการจัดการความร่วมมือโดยใช้ความรู้ และข้อมูล ได้อย่างยั่งยืนต่อไป!!!

SCOOP.NAEWNA@HOTMAIL.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา รายงานพิเศษ : ประเทศไทยยังมีหวัง...พลังเงียบจะกลับมา
  • รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม รายงานพิเศษ : ‘รพ.บางปะหัน’วางแนวทาง จัดแพ็คเกจบริการครอบคลุม
  • รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานพิเศษ : ถึงเวลาทบทวนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รายงานพิเศษ : ​ทบทวน ‘แผนวิจัย’ ของประเทศ ตอบสนองสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
  • รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า รายงานพิเศษ : ‘AHSAN Trustmark’ ศรัทธาสู่มาตรฐานสินค้า
  • รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. รายงานพิเศษ : กางแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน.
  •  

Breaking News

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

'สว.จิระศักดิ์-สว.วุฒิชาติ'ปิดบ้านเงียบ! กกต.-ดีเอสไอ แปะหมายเรียกหน้าบ้าน

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved