วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ข่าว Like สาระ
สกู๊ปพิเศษ : ก้าวสู่ปีที่ 8 สทนช.  รุกบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติ

สกู๊ปพิเศษ : ก้าวสู่ปีที่ 8 สทนช. รุกบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติ

วันอาทิตย์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2568, 08.30 น.
Tag : สกู๊ปพิเศษ
  •  

ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 8 ในปี 2568 ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ภายใต้การนำของแม่ทัพใหญ่ “ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” ที่เน้นการทำงานในเชิงรุก โดยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการเป็นระบบลุ่มน้ำ ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ ภายใต้สภาวะความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจึงมีความซับซ้อนมากขึ้นและเป็นเรื่องที่มีความท้าทาย

โดยในปี 2567 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ต่อเนื่องมาจากปี 2566 ทำให้มีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และเกิดภาวะความแห้งแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนบนของประเทศสทนช.จึงกำหนด 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรและอุปโภค-บริโภค เพียง 16 จังหวัด 56 อำเภอ 243 ตำบล และเมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งได้ทำการสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การกำหนด (ร่าง) มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2567/2568 อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้งและต่อเนื่องจนถึงต้นฤดูฝน2568 ต่อไป


เช่นเดียวกับด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในฤดูฝน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เข้าสู่ภาวะลานีญาและอิทธิพลของมรสุม สทนช.นำกลไกลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำมาใช้ในการบริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 โดยลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลาก และรับฟังสภาพปัญหาอุทกภัยใน 38 จังหวัด 79 อำเภอ 108 ตำบล และจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) จำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในภาคต่างๆ พร้อมปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และหลังสิ้นสุดฤดูฝนปี 2567 สทนช. ได้ถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำฯโดยนำปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาไปประกอบการจัดทำ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่มากขึ้น

โดยในปี 2568 สทนช. จะนำผังน้ำที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 5 ลุ่มน้ำ และอยู่ระหว่างรอประกาศอีก 7 ลุ่มน้ำ มาใช้เป็นข้อมูลและเครื่องมือบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งนำการพัฒนาแบบจำลองสภาพอากาศ การใช้ข้อมูลจากดาวเทียม การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ แนวโน้มภัยพิบัติจากข้อมูลในอดีตและภูมิอากาศผ่าน Big Data หรือการใช้ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ ในการคาดการณ์ปริมาณฝนในระยะสั้นระยะกลาง และระยะยาว เพื่อยกระดับความแม่นยำในการคาดการณ์และระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยมีเป้าหมายในการลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ สทนช. ได้มีการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) โดยได้มีการปรับปรุงและมีการกำหนดแผนงานในการปรับเผชิญเหตุเพื่อรองรับภัยน้ำท่วม การติดตั้งระบบพยากรณ์ เตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การปรับปรุงการระบายของเขื่อนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังมีการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย และการจัดทำ “แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำ” โดย กนช. ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในเขตลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำเสนอมา และให้หน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ

ในปี 2567 สทนช. ยังได้ขับเคลื่อนโครงการจัดหาน้ำดิบเพื่อผลิตประปาที่โรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า จ.นครราชสีมาระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) เมื่อแล้วเสร็จจะมีปริมาณน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาเพิ่มจากเดิมได้อีกถึงวันละ 45,000 ลูกบาศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 350,000 ครัวเรือน,โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ ส่วนต่อขยาย จากบึงหนองบอนถึงคลองประเวศบุรีรมย์ และคลองสี่ กรุงเทพฯระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (พ.ศ.2569-2575) เมื่อแล้วเสร็จจะมีพื้นที่ได้รับการป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ 95,625 ไร่ และโครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จ.สุโขทัย ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (พ.ศ. 2568-2573) เมื่อแล้วเสร็จจะมีพื้นที่ป้องกันน้ำท่วม 170,189 ไร่ และยังเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในแนวคลองเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร มีพื้นที่รับประโยชน์ราว 35,000 ไร่ เป็นต้น

ในส่วนของการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ สทนช.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ “การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศ และป้องกันการชะล้างพังทลายของดินแบบบูรณาการ ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี”เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ต้นน้ำของประเทศอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ยังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง15 หน่วยงาน 5 กระทรวง จัดทำแผนขับเคลื่อนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค-บริโภค (พ.ศ. 2566-2580)

นอกจากนี้ ในปี 2567 กนช.เห็นชอบผังน้ำจำนวน 5 ลุ่มน้ำ ปี 2568 กนช.เห็นชอบอีก 7 ลุ่มน้ำโดย สทนช.ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเร่งรัดดำเนินการจัดทำผังน้ำส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จครบ 22 ลุ่มน้ำ ภายในปี 2568 ในส่วนของการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ รวมจำนวน 35 ฉบับขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 33 ฉบับและอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 2 ฉบับ ส่วนงานด้านต่างประเทศ สทนช. ได้สร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี สำหรับการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในภูมิภาคเอเชียผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ เช่น สภาน้ำแห่งเอเชีย องค์กรด้านน้ำระดับภูมิภาคเอเชีย เครือข่ายของสภาน้ำโลก รวมถึงการขับเคลื่อนงานสำคัญในฐานะประเทศสมาชิกแม่น้ำโขงอีกด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย สกู๊ปพิเศษ : ‘บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่’ร้ายกว่าที่คิด! ตัวการดึง‘เด็ก-เยาวชน’สู่วงจรอันตราย
  • สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สกู๊ปพิเศษ : สสส.ชูโมเดล‘ชุมชนหัวชุกบัว’ นำร่องรับมือ 3 ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สกู๊ปพิเศษ : ​นำร่อง ‘1 โรงเรียน 3 รูปแบบ online’ แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา
  • สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน. สกู๊ปพิเศษ : รู้จัก!‘ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์’ ผู้อำนวยการ บพค.คนใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ด้าน ววน.
  • สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ  เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สกู๊ปพิเศษ : ปั้นครีเอเตอร์ไทยสู่ผู้ประกอบการ เสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สกู๊ปพิเศษ : สานต่อปีที่ 7 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ 2025  ‘เพื่อนกัน มันส์โนแอล ไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน’ สกู๊ปพิเศษ : สานต่อปีที่ 7 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานฯ 2025 ‘เพื่อนกัน มันส์โนแอล ไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน’
  •  

Breaking News

หวดไทยพร้อมลุย! สู้ศึกชิงแชมป์โลกที่คาซัคฯ

'จุลพันธ์'พร้อมคุย'อนุทิน'ทำประชามติ กม.คอมเพล็กซ์ ไม่ใช่เป็นการเสนอขึ้นมาลอยๆ

จ่ายครบ280ล้าน! 'มาดามแป้ง'เคลียร์เงินสโมสรจบทุกลีก

'สรวงศ์'ขออย่าโยงการเมือง กับการลงโทษ 3 หมอปม 'ทักษิณ' ย้ำไม่เกี่ยว'รัฐบาลอิ๊งค์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved