9 พฤษภาคม 2568 ชาวบ้านตำบลหนองน้ำแดง-ตำบลปากช่อง หมู่ 2 และหมู่ 14 ร่วมฟังประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นการขอประทานบัตรเหมืองแร่ดินของบริษัทปูนซิเมนต์ นครหลวง จัดโดยอำเภอปากช่องและอุตสาหกรรมจังหวัด หลังชาวบ้านรวมตัวออกมาคัดค้านการก่อสร้างเหมืองแร่ดินดังกล่าวหวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตทางการเกษตร ผลไม้และทำลายแหล่งการท่องเที่ยวชุมชนอีกทั้งโครงการดังกล่าวสร้างกลางชุมชนหวั่นมลพิษและการสัญจรของเยาวชน-ประชาชนจะได้รับอันตราย
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมาทางอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับอำเภอปากช่อง ผู้นำชุมชนและตัวแทนจาก บริษัทปูนซิเมนต์ นครหลวง จำกัด(มหาชน) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 14 ขึ้นภายในหมู่บ้านบริเวณศาลาประชาคมเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อการขอประทานบัตรเหมืองแร่ดินของบริษัทปูน ซิเมนต์ นครหลวง จำกัด บริเวณพื้นที่ 105 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นการขอประทานบัตรทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมเลขที่ 28811/15999 ที่เคยได้รับอนุญาตและปัจจุบันสิ้นอายุแล้ว
โดยพื้นที่ขอประทานบัตรที่ 2/2567ทั้งแปลง อยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของบริษัท ได้แก่โฉนดเลขที่ 20455 เลขที่ดิน 7 ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยโครงการทำเหมืองแร่ดินอุตสาหกรรม ชนิดดินซิเมนต์ของบริษัท ปูนซิเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน) จะทำ โดยวิธีเหมืองเปิด (open pit) ตลอดอายุโครงการ 5 ปี และได้ยื่นขอต่อประธานการทำเหมืองต่ออุตสาหกรรมจังหวัด เป็นที่มาของการนำเสนอข้อมูลประชาพิจารณ์ให้กับชาวบ้านในครั้งนี้ ทางด้านกลุ่มชาวบ้าน ประกอบด้วย นายวิรัตน์ กล้าหาญ ,นายมนตรี สุดโต ,นางสาวสาววิต ศรีมงคล ,นายสวิล คงแคลง ชาวบ้านตำบลหนองน้ำแดง หมู่ 2 ได้ออกมาให้ความเห็นว่า พื้นที่ก่อสร้างเหมืองแร่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับวัดและกลางชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่หนาแน่นกว่า 500 ครัวเรือน แล้วมีการปลูกพืช อาทิ แก้วมังกร ทุเรียน อโวคาโด น้อยหน่า เป็นจำนวนมาก อีกทั้งบริเวณโดยรอบเหมืองยังมีการลงทุนของนักลงทุนทำธุรกิจการท่องเที่ยวโรงแรมและรีสอร์ทจำนวนมาก เป็นชุมชนเกษตรและการท่องเที่ยว หากเหมืองแร่มาทำการก่อสร้างจะทำให้เกิดมลภาวะด้วยสิ่งแวดล้อม อาทิ ฝุ่นฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณรัศมี 5 กิโลเมตร การสัญจรจะยากลำบากเพราะมีรถบรรทุกวิ่งเข้าออกวันละเกือบ 100 เที่ยว/วัน อีกทั้งมลพิษจากฝุ่นจะทำให้เกิดผลเสียต่อพืชผลทางการเกษตร
ส่วนน้ำบาดาลใต้ดินที่ทางบริษัทจะเจาะลึกลงไป 15-20 เมตร จะส่งผลต่อน้ำใต้ดินของชาวบ้านทิศทางน้ำอาจจะเปลี่ยนได้ ดังนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จึงไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างเหมืองแร่ดินของบริษัทในครั้งนี้และวิงวอนขอให้บริษัทหยุดก่อสร้างโครงการดังกล่าวเพื่อเก็บป่าผืนนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
ด้าน ดร.เรืองเกียรติ สุวรรโณภาส อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ หมู่บ้านแห่งนี้ ได้ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมกับชาวบ้านร่วมกันคัดค้านโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 พร้อมด้วย ทนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ได้นำชาวบ้านไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ที่ศูนย์ดำรงธรรม และสำนักงานอุตสาหดรรมจังหวัดนครราชสีมา เพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว และเป็นที่มาการเสนอโครงการทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ ซึ่งตนได้ทำการยื่นหนังสือการคัดค้านต่อปลัดอำเภอปากช่อง และนายภพธรรม สุนันธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชน พื้นที่ภาคคะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลว่าชาวบ้านไม่สนับสนุนโครงการนี้เพราะจะให้โทษมากกว่าผลดีต่อขุมชนโดยรอบและตนจะยื่นหนังสือต่อ สส.และกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมต่อไป
.012
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี