วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าแก้ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าว  ฉีดสารเข้าต้นช่วยเหลือเกษตรกรใต้

สกู๊ปพิเศษ : เดินหน้าแก้ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าว ฉีดสารเข้าต้นช่วยเหลือเกษตรกรใต้

วันเสาร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

“มะพร้าว” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งในพื้นที่ภาคใต้ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยเนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาหารเพื่อบริโภคหลากหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันมะพร้าวมีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรม แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างหลากหลาย แต่ปัญหาของเกษตรกรในการผลิตมะพร้าวคือ ผลผลิตมะพร้าวในพื้นที่ภาคใต้ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะพื้นที่กว่าร้อยละ 50 มีสภาพเป็นสวนเก่า ต้นมีอายุมาก ที่สำคัญคือ มีแมลงศัตรูมะพร้าวระบาด โดยเฉพาะปัญหาการระบาดรุนแรงของหนอนหัวดำมะพร้าว ทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นภายใต้คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรคือ ให้ตัดทางใบมะพร้าว พ่นเชื้อบาซิลลัส ทูริงเจนซิส รวมทั้งการปล่อย แตนเบียน บราคอน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ สาเหตุที่การป้องกันไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันเป็นการระบาดที่รุนแรง การใช้สารบีทีซึ่งเป็นประเภท Soft pesticide ,มีฤทธิ์ค้างสั้นเกินไปและมะพร้าวมีต้นสูง การพ่นสารกับต้นมะพร้าวทำให้ไม่ทั่วถึง เป็นการเปิดโอกาสให้หนอนหัวดำมีวงจรชีวิตต่อเนื่อง

จากปัญหาดังกล่าว คณะนักวิจัย นำโดย นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ  กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร จึงได้ทดลองวิธีที่จะช่วยเกษตรกรที่ประสบปัญหา โดยการฉีดสารฆ่าแมลงเข้าไปในต้นมะพร้าวโดยตรง เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในลำต้นและใบมะพร้าว และทำให้หนอนหัวดำที่กำลังกินใบอยู่นั้นตาย เนื่องจากได้รับสารฆ่าแมลงที่ฉีดเข้าไป โดยงายวิจัยนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเป็นผลงานวิจัยดีเด่น กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2556 ประเภทงานวิจัยประยุกต์


ทั้งนี้  เนื่องจากหนอนหัวดำเป็นแมลงศัตรูมะพร้าวชนิดใหม่  และมะพร้าวส่วนใหญ่มีอายุการปลูกมานาน ลำต้นสูงมาก  ยากต่อการป้องกันกำจัดด้วยวิธีต่างๆ ประกอบกับมะพร้าวเป็นพืชที่ใช้บริโภคทั้งผลอ่อนและผลแก่ การใช้สารเคมีต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและเข้มงวด เพื่อให้ได้เทคโนโลยีในการป้องกันกำจัดที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยที่สุดสำหรับผู้ปฏิบัติ   ผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม   สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช   จึงได้เร่งดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อหาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างเร่งด่วน วิธีฉีดสารเคมีเข้าต้น (Trunk injection)  เป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ร่วมกับวิธีอื่นๆ 

ก่อนหน้านี้ การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวโดยวิธีการฉีดสารเข้าลำต้น ดำเนินการที่แปลงเกษตรกร อำเภอเมือง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้สารเคมีอะมาเมคติน เบนโซเอท (emamectin benzoate) 1.92 % EC ฉีดเข้าลำต้น อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้นโดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รู ให้รูอยู่ตรงกันข้ามกันขนาดกว้าง 4 หุน ลึก 10 เซนติเมตร ใส่สารรูละ 15 มิลลิเมตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที โดยแนะนำให้ฉีดเข้าลำต้น เฉพาะมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตรขึ้นไปห้ามใช้กับมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวกะทิเนื่องจากผลวิจัยนี้ยังไม่คลอบคลุม

สำหรับเทคนิคการฉีดสารเข้าลำต้น เป็นหนึ่งในเทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีการฉีดสารหรือธาตุอาหารในต้นไม้ที่แสดงอาการขาดธาตุอาหารในกรณีที่สภาพแวดล้อมมีข้อจำกัด เช่น ธาตุอาหารบางอย่างถูกตรึงไว้ในดินไม่สามารถปลดปล่อยได้ เนื่องจากสภาพดินมีคุณสมบัติเป็นกรด หรือด่างจัดเกินไป การใช้สารวิธีนี้จะใช้เครื่องมือที่ดัดแปลงเป็นพิเศษฉีดสารเข้าโดยตรงในต้นพืช ซึ่งสารสามารถเคลื่อนที่ขึ้นไปตามระบบท่อน้ำ ท่ออาหารของพืช แต่ต้องใช้กับสารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซึม โดยต้องค่อยๆ ปลดปล่อย ซึ่งมีพิษตกค้างในพืชที่บริโภค กรณีที่เคลื่อนที่เร็วเกินไปอาจไปสะสมที่ใบ ดอก ผลมากเกินค่าความปลอดภัยที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงสารชนิดนั้น หรืออัตราการใช้นั้นต้องไม่ก่อให้เกิดพิษต่อพืชเป้าหมายด้วย

กรมวิชาการเกษตรทำการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวโดยวิธีฉีดเข้าต้น พบว่าสารอิมาเม็กตินเบนโซเอตอัตรา 30 มิลลิลิตร/ต้น เป็นอัตราที่เหมาะสม และมีความคุ้มค่า ซึ่งสารอิมาเม็กตินเบนโซเอตที่มีการขึ้นทะเบียน ได้แก่ อะบาเมคติน (abamectin) อิมาเม็กตินเบนโซเอต (emamectin benzoate) มิลบีเมคติน (milbemectin) สำหรับ 2 ชนิดแรกมีจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว โดยใช้กำจัดแมลงได้หลากหลาย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก และหนอนกระทู้หอม พิษของสารมีผลกระทบค่อนข้างน้อยต่อผึ้ง ตัวห้ำ และตัวเบียน ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติและแมลงมีประโยชน์ การใช้สารอีมาเมคตินเบนโซเอตโดยวิธีฉีดสารเข้าลำต้น จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมวิธีหนึ่ง เนื่องจากมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนหัวดำได้นานมากกว่า 3 เดือน ซึ่งจะสามารถตัดวงจรชีวิตของหนอนหัวดำมะพร้าว ทำให้การระบาดลดลง หลังจากนั้นในระยะยาวเพื่อให้เกิดความสมดุลจึงใช้วิธีการปล่อยศัตรูธรรมชาติ หรือการพ่นเชื้อบีที วิธีการใช้สารเคมีฆ่าแมลงแบบฉีดเข้าลำต้นยังเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง และสัตว์เลี้ยง ในส่วนผลต่อศัตรูธรรมชาติ จะไม่มีผลกระทบโดยตรง เนื่องจากเป็นการใช้สารเฉพาะต้นต่อต้น ไม่เหมือนกับการพ่นสาร อาจจะมีบ้างในกรณีของผลทางอ้อมที่ศัตรูธรรมชาติบังเอิญไปกินหรือเบียนหนอนหัวดำที่ได้รับสารเคมีไปแล้ว

สำหรับขั้นตอนการใช้สารวิธีการฉีดเข้าต้นมะพร้าว เริ่มจากคัดเลือกต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร แล้วใช้สว่านที่ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้า โดยส่วนปลายตัดใบพัดออก แล้วดัดแปลงใส่ดอกสว่านแทน ทำการเจาะต้นมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร โดยใช้ดอกสว่านขนาด 4 - 5 หุน เจาะต้นละ 2 รู ตรงข้ามกัน ความลึกประมาณ 10 เซนติเมตร การเจาะต้องเอียงให้ทำมุม 45 องศา ป้องกันสารไหลย้อนออกมา ใส่สารฆ่าแมลง อีมาเม็กตินเบนโซเอต (1.92% อีซี) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น โดยแบ่งใส่ครึ่งหนึ่งของสารต่อ 1 รู พร้อมกัน หลังใส่สารใช้ดินน้ำมันตัดให้ได้ขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์นิ้ว อุดตรงรูทันทีเพื่อป้องกันแรงดันที่จะทำให้สารไหลย้อนออกมา

นับว่าเป็นงานวิจัยที่ใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อชาวสวนมะพร้าวในที่ที่จะลดความเสียหาย ลดต้นทุนการผลิตจากการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล ช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ที่สำคัญรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โทร 02-5794115

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ผู้ว่าฯเชียงราย-นำทุกภาคส่วน \'วางพวงมาลาสักการะ\' ในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จย่า ผู้ว่าฯเชียงราย-นำทุกภาคส่วน 'วางพวงมาลาสักการะ' ในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จย่า
  • ตร.เชียงรายนำทีม! \'สกัดกระบะขนยาบ้า\' ชายแดนเวียงแก่น-ยึดของกลาง4ล้านเม็ด ตร.เชียงรายนำทีม! 'สกัดกระบะขนยาบ้า' ชายแดนเวียงแก่น-ยึดของกลาง4ล้านเม็ด
  • คนงานเหมืองแร่คาเรนนีเร่งอพยพ! กองทัพเมียนมาทิ้งระเบิดถล่มโรงถลุงแร่ดีบุก\'มอร์ชี\' คนงานเหมืองแร่คาเรนนีเร่งอพยพ! กองทัพเมียนมาทิ้งระเบิดถล่มโรงถลุงแร่ดีบุก'มอร์ชี'
  • ตร.วิเชียรบุรีไม่ปล่อยผ่าน! ช่วยชีวิตชายเมาข้างถนน-ส่งถึงบ้านอย่างปลอดภัย ตร.วิเชียรบุรีไม่ปล่อยผ่าน! ช่วยชีวิตชายเมาข้างถนน-ส่งถึงบ้านอย่างปลอดภัย
  • ชาวบ้านร้องเรียนต่างด้าว ก๊งเหล้าเสียงดัง พบ22รายไม่มีใบอนุญาตที่พัก ชาวบ้านร้องเรียนต่างด้าว ก๊งเหล้าเสียงดัง พบ22รายไม่มีใบอนุญาตที่พัก
  • อินเดียออฟสาวบาร์! ไม่ถูกใจอกเล็ก-หุ่นไม่ตรงสเป็ค แจ้งตร.จับ อินเดียออฟสาวบาร์! ไม่ถูกใจอกเล็ก-หุ่นไม่ตรงสเป็ค แจ้งตร.จับ
  •  

Breaking News

‘ภูมิธรรม’รอ‘สมช.’เสนอขอใช้งบกลางช่วยเหลือ‘แคมป์ผู้ลี้ภัย’หลังสหรัฐตัดงบ

'สิริพงศ์'ฟาดกลับ'ทักษิณ'ไม่รู้ผู้นำเขมรมีจริยธรรมหรือไม่ แต่ผู้นำไทยเรียก'อังเคิล' อยากได้ไรบอก!

แสบจริง! ฟัง‘ทักษิณ’แล้วอยากให้‘นิรโทษกรรม’กลับมาเป็นนายกฯ โหวตเลย

พร้อมสละเพื่อแผ่นดิน! 'พลทหารธนพัฒน์'เล่านาทีเหยียบกับระเบิดจนต้องเสียขา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved