วันศุกร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
รายงานพิเศษ : กรมประมงเตือนระวังโรคระบาดปลา

รายงานพิเศษ : กรมประมงเตือนระวังโรคระบาดปลา

วันอังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

จากสภาวะอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกหนักสลับกับอากาศร้อน หรือบางพื้นที่เริ่มมีอากาศหนาว ทำให้อุณหภูมิของน้ำในรอบวันแตกต่างกันมาก ส่งผลให้คุณภาพน้ำลดต่ำลง ทั้งทางชีวภาพ กายภาพ และเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพปลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งในการปรับตัวนี้ จำเป็นต้องนำพลังงานที่ได้จากการเผาผลาญอาหารมาใช้ ทำให้พลังงานที่จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโตหรือสร้างระบบภูมิคุ้มกันลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้ทำให้ปลาอ่อนแอ ป่วย และติดโรคได้ง่าย ประกอบกับในช่วงปลายของฤดูฝนจะมีฝนตกทิ้งช่วง และมีฝนตกหนัก ซึ่งน้ำฝนจะชะเอาหน้าดิน และพวกปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ขี้เถ้าจากการเผาป่า ที่เป็นพิษต่อปลา ทำให้ปลาตายได้

ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน น้ำจะมีอุณหภูมิต่ำเป็นเหตุทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี โดยเฉพาะโรคอียูเอส โรคตัวด่าง และโรคไวรัสเคเอชวี ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome ; EUS) หรือ “โรคระบาดปลา” หรือ “โรคแผลเน่าเปื่อย” เป็นโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังและควบคุมขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE โดยลักษณะปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแผลลึกตามตัวและส่วนหัว โดยแผลจะมีลักษณะของเส้นใยคล้ายเชื้อราฝังอยู่ สามารถพบได้ในปลาหลายชนิดทั้งที่อยู่ในธรรมชาติ และที่เลี้ยงในบ่อเช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลากระสูบ ปลาแรด และปลาสลิด ฯลฯ ปัจจุบันยังไม่มียาและสารเคมีที่จะใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังอยู่ภายในเนื้อเยื่อปลาได้ แต่ถ้าสภาพอากาศและน้ำในบ่อเลี้ยงมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีผลทำให้เชื้อราต่างๆ จะเจริญและแพร่กระจายได้ช้าลง ในขณะเดียวกันปลาที่กำลังป่วยจะมีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นทำให้หายป่วยได้ในเวลาต่อมา

โรคตัวด่าง (Flavobacteriumcolumnalis) เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกษตรกรควรเฝ้าระวัง เนื่องจากโรคนี้มักเกิดกับปลาหลังจาก
การย้ายบ่อ การลำเลียง หรือการขนส่งเพื่อการนำไปเลี้ยง หรือในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงในรอบวันมาก โดยปลาที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามลำตัว และเมื่อติดโรคแล้วจะตายเป็นจำนวนมากและรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง สำหรับปลาที่พบว่าป่วยเป็นโรคนี้เสมอ คือ ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาช่อน ปลาบู่ และปลาสวยงาม วิธีที่ควรปฏิบัติ คือ พักปลาที่จะเคลื่อนย้ายก่อนและใส่เกลือแกง ประมาณ 0.1% เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำในระหว่างการลำเลียง

โรคเคเอชวี (Koi Herpesvirus Disease : KHVD) ซึ่งมักเกิดในปลาคาร์ฟและปลาไน โดยปลาที่ป่วยจะมีอาการซึม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตามลำตัวมีเมือกมาก มีแผลเลือดออกตามลำตัวและด้านท้อง บางครั้งพบแผลตื้นๆ ร่วมด้วย ในปลาที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงจะพบอาการเงือกเน่าและมีคราบสีขาวอมเหลืองแทรกอยู่ ปลาอ่อนแอกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ว่ายน้ำเสียการทรงตัว ลอยอยู่ใกล้ผิวน้ำ และตายอย่างช้าๆ โดยอัตราการตายสูงถึง 50-100% โดยปลาจะทยอยตายไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ โรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้สารเคมี วิธีที่ควรปฏิบัติ คือ การรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามอาการ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิต เป็นต้น

จากปัญหาดังกล่าว กรมประมงจึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรแล้ว โดยเบื้องต้น ขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสัตว์น้ำของเกษตรกร มีดังนี้

1.ลดปริมาณอาหารที่จะให้ลง 10-15% เพราะปลากินอาหารน้อยลง หากมีปริมาณอาหารเหลือมาก ทำให้เกิดก๊าซพิษ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อปลา 2.เสริมวิตามินซีในอาหาร 1-2% โดยน้ำหนัก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ ความต้านทานโรค การทนทานต่อความเครียด 3.หากมีปลาป่วย ควรแยกออกไปเลี้ยงและรักษาต่างหาก หรือทำลายทิ้ง เนื่องจากปลาที่ป่วยหากตับ ม้าม ไต ถูกทำลายแล้วโอกาสรักษาให้หายป่วยนั้นยาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ปลาที่ยังไม่ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วย 4.ช่วงต้นฤดูหนาวมีโอกาสสูงที่จะมีปรสิตภายนอกมาเกาะตามตัวและเหงือกปลา ดังนั้น ควรมีการป้องกัน เช่น ในกระชังปลาควรใช้ด่างทับทิม 1 ช้อนชา ห่อด้วยผ้าหนาๆ ถ่วงด้วยหิน แช่น้ำลึก ประมาณ 30 เซนติเมตร ผูกตามมุมกระชังหรือด้านเหนือน้ำ เพื่อป้องกันปรสิตภายนอก โดยทำวันละ 3 ครั้ง

5.หากกระชังปลาอยู่ในบริเวณน้ำตื้น ควรย้ายลงไปอยู่ที่บริเวณน้ำลึก ซึ่งจะเป็นการปรับอุณหภูมิของน้ำเพราะอุณหภูมิ
น้ำลึกจะสูงกว่าน้ำตื้น 6.ในบ่อดิน นำเกลือแกงมาละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อ ประมาณ 20-80 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ปูนขาว ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ 7.หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อ ให้ใช้เกลือสาดบริเวณ
ดังกล่าว ประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ 8.ในสภาวะที่อากาศเย็นทำให้น้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ไม่ควรสูบน้ำออกจากบ่อ และไม่ควรย้ายหรือลำเลียงปลาไปที่อื่นๆ เพราะจะทำให้ปลาเครียดและติดเชื้อโรคได้ง่าย

ดังนั้น เกษตรกรจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น หากพบมีปลาป่วยให้รีบแจ้งสำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยฯ หรือสถานีประมงฯ ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ หรือแจ้งมายังสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรุงเทพฯ โทร.0-2579-4122 / สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา โทร. 0-7433-5243

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • กรมประมงเร่งช่วยผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดภาคเหนือ กรมประมงเร่งช่วยผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดภาคเหนือ
  • ‘ปลาหมอคางดำ’ยังขาดข้อมูลพื้นฐานสำคัญ นักวิชาการชี้ชดเชยต้องมีข้อมูลจากกรมสรรพากร ‘ปลาหมอคางดำ’ยังขาดข้อมูลพื้นฐานสำคัญ นักวิชาการชี้ชดเชยต้องมีข้อมูลจากกรมสรรพากร
  • ‘อรรถกร’ สั่งกระทรวงเกษตรฯตั้งวอร์รูมรับมือศึกไทย-เขมร รองรับผลกระทบเกษตรกรไทย ‘อรรถกร’ สั่งกระทรวงเกษตรฯตั้งวอร์รูมรับมือศึกไทย-เขมร รองรับผลกระทบเกษตรกรไทย
  • ส.ป.ก. ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ส.ป.ก. ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
  • ปศุสัตว์ออกร้านสินค้าคุณภาพโครงการหลวง ปศุสัตว์ออกร้านสินค้าคุณภาพโครงการหลวง
  • เกษตรฯติดสถานการณ์น้ำใกล้ชิดหลังฝนต่อเนื่อง ย้ำแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร เกษตรฯติดสถานการณ์น้ำใกล้ชิดหลังฝนต่อเนื่อง ย้ำแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร
  •  

Breaking News

เรียลไทม์! รายงานเหตุสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา 9 จุดสำคัญ

ชาวบุรีรัมย์ผวา!! เร่งอพยพ หลัง'เขมร'ระดมยิงกระสุนปืนใหญ่ตกใส่แล้วกว่า 50 ลูก

ประณามไทย! วุฒิสภากัมพูชาออกแถลงการณ์ 6 ข้อ วอนนานาชาติช่วย

‘จักรภพ’ย้ำไทยยังไม่สูญเสียดินแดน แจงปมวิวาทะ‘น็อต วรฤทธิ์’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved