คำถาม ขอทราบความรู้เรื่องพืชทนดินเค็ม และจะสามารถปลูกพืชผักอะไรได้บ้างครับ
บรรพต ครองสนสาร
อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
คำตอบ ดินเค็ม สามารถแก้ไขฟื้นฟูให้กลับมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ด้วยการลดระดับความเค็มดินให้ลดลง และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งต้องลงทุนสูงและใช้ระยะเวลานาน ทางเลือกที่ดีกว่าคือ ปลูกพืชทนเค็มชนิดที่เหมาะสมกับระดับความเค็ม จะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตในการแก้ไขปรับปรุงดินได้
การทนเค็มของพืช เป็นความสามารถของพืช ที่จะทนต่อเกลือปริมาณมาก รากของพืชชนิดต่างๆ มีความสามารถในการทนเค็มต่างกัน มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทนเค็มของพืช เช่น ชนิดของเกลือ สภาพดินฟ้าอากาศ และช่วงอายุของพืช เมื่อพืชไม่ทนเค็ม หรือทนเค็มน้อย จะแสดงอาการคล้ายกับการที่พืชขาดนํ้า เช่น ชะงักการเจริญเติบโต พืชมีขนาดเล็กกว่าพืชที่ปลูกในดินธรรมดา ใบห่อลง เพื่อลดการคายนํ้าทางปากใบ พืชบางชนิดอาจมีสีเขียวเข้มแกมนํ้าเงิน สีของใบพืชเปลี่ยนเป็นสีเข้มกว่าเดิม เนื่องจากใบมีคลอโรฟิลล์มากขึ้น และมีสารเคลือบใบหนา เพื่อลดการสูญเสียนํ้า อาการปลายใบไหม้ เกิดจุดประบนใบ ใบม้วน และใบเหลือง เนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์ ใบเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ปลายใบและขอบใบแห้งกรอบ
ความไม่สมดุลของธาตุอาหาร การที่ดินมีค่าระดับ pH สูง ทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางตัวลดลง เกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ที่ระดับ pH ระหว่าง 6-7 ฟอสเฟตอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืช แต่ที่ระดับ pH มากกว่า 7 ธาตุอาหารพวกเหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง และโคบอลท์ อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้น้อย
การจำ แนกพืชทนเค็ม นักวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน ได้จำแนกพืชทนเค็ม ออกได้เป็น 3 จำพวก คือ 1) พืชทนเค็ม 2) พืชชอบเกลือ และ 3) พืชที่ไม่ได้มีกำเนิดในสภาพเค็ม
พืชทนเค็ม ได้แก่ พืชที่มีความสามารถเจริญเติบโตได้ครบวงจรชีวิตในสภาพเค็ม เมื่อระดับความเค็มเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง การทนเค็มของพืชแตกต่างกันในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ พืชส่วนใหญ่ทนเค็มได้ในระยะที่พืชงอกจากเมล็ด แต่ความสามารถทนเค็มจะลดลง เมื่อเลยระยะงอกไปแล้ว เช่น ผักกาดหัว จัดเป็นพืชทนเค็มปานกลาง ไม่ทนเค็มในช่วงงอก ข้าวโพด จัดอยู่ในพวกทนเค็มน้อย แต่งอกได้ดีกว่าผักกาดหัว
พืชชอบเกลือ ได้แก่ พืชที่สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ในความเค็มระดับสูง รอดตายได้มากกว่า 75% พืชชอบเกลือเจริญเติบโตได้ดีในสารละลายที่มีเกลือมากกว่า 0.5% โดยนํ้าหนัก แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ พืชที่ขึ้นได้ในความเค็มระดับนํ้ากร่อย และพืชที่ขึ้นได้ในความเค็มระดับนํ้าทะเล พืชพวกนี้ สามารถดูดเกลือเข้ามาสะสมในต้น เพื่อปรับความเข้มข้นสารละลายในเซล ทำให้สามารถดูดนํ้าจากดินได้
พืชที่ไม่ได้มีกำเนิดในสภาพเค็ม เป็นพืชที่มีกลไกที่พัฒนาให้สามารถเจริญเติบโตในดินเค็มได้ในสภาพเค็ม รอดตายได้มากกว่า 75% พืชพวกนี้ ไม่สะสมเกลือในต้น แต่จะผลิตนํ้าตาลหรือกรดอินทรีย์บางชนิดขึ้นมา เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในเซลของราก ซึ่งต้องใช้พลังงานมากทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง
ตัวอย่าง พืชที่สามารถทนเค็มในระดับต่างๆ เช่น
ระดับความเค็มดินเค็มน้อย ได้แก่ ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย แตงร้าน แตงไทย แตงกวา และมะเขือระดับความเค็มปานกลาง ได้แก่ บวบ พริกยักษ์ ถั่วลันเตา นํ้าเต้า หอมใหญ่ ข้าวโพดหวานผักกาดหอม แตงกวาญี่ปุ่น และบรอคโคลี
ระดับความเค็มมาก ได้แก่ กะหลํ่าดอก กะหลํ่าปลี มันฝรั่ง กระเทียม หอมแดง แตงโม แคนตาลูบ สับปะรด หน่อไม้ฝรั่ง และผักชี
ระดับความเค็มจัด ได้แก่ ผักโขม
ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม ชะอม คะน้า กะเพรา และผักบุ้งจีน
การทนเค็มในช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ไปตามระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่งอกจนกระทั่งสุกแก่ และอาจผันแปรตามระยะของการพัฒนาด้วย พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายตั้งแต่ระยะงอก หรือในการเจริญเติบโตช่วงแรก ทำให้มีพื้นที่ที่พืชขึ้นไม่ได้เป็นหย่อมๆ ในแปลงปลูก แต่เมื่อพ้นระยะกล้าไปแล้ว พืชจะทนเค็มได้ดีขึ้นนะครับ
นาย รัตวิ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี