วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ปัญหาเกษตร ที่นี่มีคำตอบ : น้ำหมักชีวภาพจากปลา

ปัญหาเกษตร ที่นี่มีคำตอบ : น้ำหมักชีวภาพจากปลา

วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559, 18.13 น.
Tag :
  •  

คำถาม ที่บ้านมีเศษปลาจำนวนมาก ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ อยากจะขอวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาครับ

ถวิล นาเจริญ


อ.เมือง จ.ตราด

คำตอบ น้ำหมักชีวภาพ เป็นธาตุอาหารธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชที่ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมน โปรตีน วิตามิน ฮิวมิคแอชิต จุลินทรีย์ และอื่นๆอีกมากมาย ธาตุอาหารพืชเหล่านี้ ทำได้จากวัสดุหลายชนิด และหนึ่งในหลายชนิดนั้น คือ เศษปลาหรือปลาเหมาะสำหรับคนที่ทำการเกษตรในแถบชายฝั่ง

น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือด ผ่านกระบวนการหมักโดยการย่อยสลายโดยการใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหลังจากหมักจนได้ที่แล้ว จะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม นอกจากนี้ยังประกอบด้วยธาตุอาหารรอง ได้แก่ กำมะถันเหล็กทองแดง และแมงกานีสอีกด้วย

สูตรที่ใช้

1.ปลาหรือเศษปลาจำนวน 40 กิโลกรัม

2.กากน้ำตาลจำนวน 20 กิโลกรัม

3.หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพพด.2 จำนวน 1 ถุง(สามารถขอได้ที่กรมพัฒนาที่ดิน หรือสำนักงานพัฒนาที่ดินในเขตหรือจังหวัดใกล้บ้าน)

ขั้นตอนการทำ นักวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน ได้แนะนำวิธีทำไว้ดังนี้

นำหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพพด.2 มาละลายในน้ำอุ่น 20 ลิตร ผสมลงในถังขนาด 200 ลิตร พร้อมปลาหมักและกากน้ำตาลเติมน้ำสะอาดจนเกือบเต็มแต่อย่าให้ถึงกับล้นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ นำไนล่อนชนิดถี่มาปิดไว้เพื่อป้องกันแมลงวันวางไข่หมักไว้ประมาณ 25-30 วัน ในระหว่างนี้น้ำในถังจะเริ่มลดลงให้เติมน้ำสะอาดลงไปอีกให้ออกซิเจนตลอดเวลา โดยหมั่นคนน้ำหมักอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้งในกรณีที่ใช้พ่นทางใบควรหมักให้นานกว่าปกติยิ่งนานยิ่งดีเพราะถ้านำมาใช้เร็วอาจเกิดผลเสียทำให้ใบไหม้ได้

วิธีสังเกต มีวิธีสังเกตว่าจะนำน้ำหมักมาใช้ได้ ดังนี้

ระยะที่ 1 สังเกตน้ำหมักจะออกเข้มข้นเป็นฟองใหญ่ไม่แตกง่าย

ระยะที่ 2 ฟองจะค่อยๆเล็กและแตกง่ายจะมีกลิ่นหอม

ระยะที่ 3 ฟองจะค่อยๆเล็กลงมากมีกลิ่นน้ำส้มคล้ายกลิ่นแอลกอฮอล์และฟองจะละเอียดมากขึ้น

ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ ทำให้พืชที่ปลูกออกดอกเร็วเก็บผลผลิตได้เร็วได้ผลผลิตปริมาณที่มากขึ้นและมีคุณภาพดีลงทุนน้อยลดต้นทุนในการผลิตและสามารถผลิตไว้ใช้เองในครัวเรือนไม้ผลจะมีรากที่แข็งแรงใบสวยใบใหญ่และยังปรับให้สภาพพื้นที่ดินดีไม่เสียไม่เปรี้ยว

วิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ ถ้าจะใช้ฉีดพ่นทางใบใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรต่อน้ำ100-150 ลิตร ปริมาณการพ่น 7-10 วัน/ครั้ง และถ้าใช้ราดลงดินให้ราดที่โคนต้นใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร ปริมาณการใช้อย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง หรือ 30-40 วัน/ครั้ง

น้ำหมักชีวภาพจากปลานั้น ทำได้ไม่ยาก สะดวก รวดเร็ว ใช้ได้ง่าย ลงทุนน้อย ลดต้นทุนในการผลิตและสามารถผลิตไว้ใช้เองในครัวเรือนง่ายๆ และมีประโยชน์มากกว่าโทษ หากมีความรู้ความเข้าใจในการนำไปใช้ ก็จะใช้ได้ผลดีเป็นอย่างมาก จากคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้ใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาพบว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลา จะไปช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เช่น ดอกไม้ให้มีสีสดขึ้น ผลไม้มีคุณภาพดีขึ้นช่วยเร่งการแตกยอดและออกดอกใหม่ให้แก่ต้นไม้อีกด้วย

นาย รัตวิ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พด.เร่งใช้ปลาหมอคางดำผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.เร่งใช้ปลาหมอคางดำผลิตน้ำหมักชีวภาพ
  • ก.เกษตรฯถกแก้ปัญหาเครือข่ายคนลุ่มน้ำมูล ก.เกษตรฯถกแก้ปัญหาเครือข่ายคนลุ่มน้ำมูล
  • พีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มองความท้าทายภาคเกษตรยุคใหม่ พีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มองความท้าทายภาคเกษตรยุคใหม่
  • ชาวนาเฮ! กษ.อัดงบ 39 ล้านบาท แจกไร่ละ 1000 บาท ช่วยชาวนา-ปรับพื้นที่ปลูกข้าว ชาวนาเฮ! กษ.อัดงบ 39 ล้านบาท แจกไร่ละ 1000 บาท ช่วยชาวนา-ปรับพื้นที่ปลูกข้าว
  • กรมประมงจับลักลอบนำเข้าปลากระพงกว่า7ตัน กรมประมงจับลักลอบนำเข้าปลากระพงกว่า7ตัน
  • \'นฤมล\'ต้อนรับ รมต.ทรัพยากรน้ำฯ เนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังเสริมแกร่งระบบจัดการน้ำให้ยั่งยืน 'นฤมล'ต้อนรับ รมต.ทรัพยากรน้ำฯ เนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังเสริมแกร่งระบบจัดการน้ำให้ยั่งยืน
  •  

Breaking News

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 4 กรกฎาคม 2568

รู้ยัง!? 'เหี้ย'เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน กรมอุทยานฯ แจงต้องขออนุญาต

ผลศึกษาพบ'ฝุ่นPM'เพิ่มความเสี่ยง'มะเร็งปอด' แม้ในคนไม่สูบบุหรี่

อากาศร้อน! 'โชต้า'เลือกขับรถกลางคืนก่อนเสียชีวิต

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved