วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
'ปานเทพ'เปิดงานวิจัย'กัญชา'เสพติดยากกว่าเหล้า-บุหรี่จริงหรือ?

'ปานเทพ'เปิดงานวิจัย'กัญชา'เสพติดยากกว่าเหล้า-บุหรี่จริงหรือ?

วันศุกร์ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 10.54 น.
Tag : กัญชา งานวิจัย บุหรี่ ปานเทพ เสพติด เหล้า
  •  

19 ต.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยกัญชา ระบุว่า

"งานวิจัยว่าด้วยเรื่อง “กัญชา” เสพติดยากกว่า เหล้าและบุหรี่ จริงหรือ? สถานการณ์เรื่องกัญชาในเวทีระหว่างประเทศนั้น กำลังน่าจับตาเป็นยิ่งนัก หลายประเทศนอกจากจะมีการอนุญาตให้นำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ได้ ยังเร่งดำเนินการวิจัยและจดสิทธิบัตรการใช้สารสกัดกัญชาในรูปแบบต่างๆ นับเป็นจังหวะการช่วงชิงผลประโยชน์ในกัญชาในสภาวะที่หลายๆประเทศในเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยยังเคลื่อนไหวช้าอยู่มาก


ตัวอย่างที่วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งพยายามจะจดอนุสิทธิบัตรวิธีการสกัดสารสำคัญในกัญชาก็ไม่สามารถทำได้ในเวลานี้ เพราะด้วยเหตุผลว่ากัญชายังเป็นยาเสพติดอยู่ หรือแม้วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กระทั่งจะขอทดลองปลูกกัญชาในพื้นที่ควบคุมเพื่อวิจัยในหลายมิติก็ยังไม่สามารถทำได้ เพราะภาครัฐอ้างว่ายังไม่มีระเบียบ

ในขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อดัง ก็ได้ปรับตัวหันมาเพิ่มสินค้าทำเครื่องดื่มกัญชา เช่นเดียวกับ บุหรี่ชื่อดังบางยี่ห้อก็เตรียมผลิตกัญชาในรูปของมวนบุหรี่ เพื่อป้อนให้กับตลาดในประเทศที่ปลดล็อกกฎหมายเพื่อให้กัญชามาใช้เพื่อความรื่นรมย์หรือบันเทิงได้ ลองคิดดูว่าถ้ากัญชาเป็นยาเสพติดร้ายแรงจริงในมุมมองจากทุกประเทศ เหตุใดบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้จึงเตรียมความพร้อมได้ถึงขนาดนี้

แต่ประเทศไทยอย่าเพิ่งไปถึงเรื่องการปลดล็อกเพื่อความรื่นรมย์บันเทิงเลย เอาเฉพาะความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย ด้วยการปลดล็อกกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ยังเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามมากมาย นอกจากจะมีสาเหตุมาจากอิทธิพลของผลประโยชน์ในกลุ่มต่างๆที่ยังไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้ แต่เอาเฉพาะในเรื่องความวิตกกังวลของคนทั่วไปก็คือปัญหาในมิติของ “ยาเสพติด” ว่าการปลดล็อกกัญชาจะสร้างปัญหารุนแรงให้กับประเทศเพียงใด

สำหรับทัศนคติของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องกัญชาในทางการแพทย์นั้น ปรากฏผลเป็นผลการสำรวจของนิด้าโพล, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) , กัญชา ประโยชน์ หรือ โทษ, การสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2561 เผยแพร่วันที่ 19 สิงหาคม 2561 โดยผลสำรวจประชากรจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่างพบเรื่องที่น่าสนใจว่า

“68.24 %เคยได้ยินเกี่ยวกับประโยชน์ของ กัญชา ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้, 72.40% เห็นด้วยเรื่องการมีกฎหมายเฉพาะให้ใช้ กัญชา เป็นยารักษาโรคโดยถูกกฎหมายในอนาคต, และ 54.32% เห็นว่าหากในอนาคตมีกฎหมายรับรองกัญชา เพื่อการรักษาโรคได้แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐของไทยจะไม่สามารถควบคุมการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคได้ เพราะ กัญชาถูกนำไปใช้เป็นสารเสพติด อาจจะมีการลักลอบนำมาใช้เสพมากกว่าการนำมาทำเป็นยารักษาโรค  และเจ้าหน้าที่รัฐบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา” [1]

จากผลสำรวจข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเร็วกว่าภาครัฐเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเร็วของโชเชียลมีเดียในยุคปัจจุบัน ได้ส่งผลทำให้ประชาชนชาวไทยจำนวนมากรับรู้เรื่องราวว่ากัญชาสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้ และประชาชนส่วนใหญ่ก็สนับสนุนให้ใช้ในทางการแพทย์ด้วย แต่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อด้วยว่าเจ้าหน้าที่รัฐของไทยจะควบคุมไม่ได้ในท้ายที่สุด และกลายเป็นสารเสพติดที่จะสร้างปัญหาต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) ได้ให้ความหมายของสิ่งเสพติดว่า "สิ่งเสพติด" หมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

ดังนั้นจะเห็นว่ายาเสพติดมีหลายชนิด ตั้งแต่เฮโรอีน โคเคน ยาบ้า ฝื่น ซึ่งจัดเป็นยาเสพติดที่รุนแรง ซึ่งทั่วโลกต้องมีการกวาดล้างกันอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะยังมีการผ่อนปรนอยู่ก็มี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล้า และบุหรี่ ก็เสพติดได้เหมือนกัน แต่กลับไม่เคยถูกกำหนดกฎหมายในฐานะเป็นยาเสพติดเลย ทั้งนี้ก็เพราะความรุนแรงของการเสพติดของสารเสพติดแต่ละชนิดนั้นไม่เท่ากัน

จึงมีคำถามอยู่ว่า “กัญชา” ซึ่งมีประโยชน์ในทางการแพทย์ แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดนั้น เสพติดได้จริงหรือไม่ และการเสพติดรุนแรงระดับใด

ผลจากงานวิจัยพบว่าคนที่เคยเสพกัญชาเมื่อเลิกใช้กัญชาแล้ว จะมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย นอนหลับยาก เจริญอาหารน้อยลง มีความอยากใช้กัญชา กระสับกระส่ายไม่ได้พักผ่อน อาการเหล่านี้จะเป็นมากที่สุดใน 1 -2 สัปดาห์นับแต่วันที่เลิกใช้กัญชา [2] [3]

นั่นคือการรุนแรงที่สุดเวลาเลิกกัญชา ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่ได้รุนแรงไปกว่าการเลิกเหล้าและบุหรี่แต่ประการใด

ทั้งยังมีผลการวิจัยระบุว่าการเสพติดกัญชาจะเกิดขึ้นเมื่อสมองปรับตัวในการรับสารในกัญชาได้ในปริมาณที่มาก โดยการปรับตัวของสารสื่อประสาทและต่อมรับกัญชาในร่างกายมนุษย์ (Endocannabinoid) จะมีความไวต่อสารแคนนาบินอยด์ในกัญชาน้อยลดลง [4] [5] หรือพูดภาษาชาวบ้านให้เข้าใจมากขึ้นก็คือร่างกายมีความชินชาต่อกัญชามากขึ้น จึงต้องใช้กัญชาในปริมาณมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาอัตราการเสพติดกัญชานั้นพบจากผลการศึกษาว่า จำนวนผู้ที่ใช้กัญชานั้นมีอัตราความเสี่ยงสะสมที่จะเสพติดกัญชา 8.9% , ต่ำกว่าอัตราสะสมของผู้ที่เสพติดโคเคน 20.9%  ต่ำกว่าอัตราสะสมผู้ที่ติดดื่มแอลกอฮอล์ 22.7% และต่ำกว่าอัตราสะสมของผู้ที่ติดบุหรี่หรือนิโคติน 67.5%  [6] [7] (ดูภาพประกอบบทความ)

แม้ว่าประมาณการความน่าจะเป็นสะสมในการเสพติดกัญชา น้อยกว่านิโคติน (บุหรี่), แอลกอฮอล์, โคเคน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วก็ยังพบอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยก็คือ อายุของผู้ที่เริ่มใช้กัญชาเป็นเท่าไหร่ เพราะถ้าเร่ิมใช้กัญชาตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะเสพติดกัญชามากกว่าเริ่มใช้กัญชาตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยหากเริ่มเสพกัญชาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นก่อนอายุ 20 ปี ความน่าจะเป็นในการเสพติดกัญชาจะเพิ่มขึ้นเป็น 17% [8], [9]

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการเริ่มเสพกัญชาตั้งแต่อายุยังน้อย จะมีผลทำให้เสพติดกัญชาได้มากกว่าการเริ่มใช้กัญชาในตอนอายุมากแล้ว(17%) แต่เมื่อพิจารณาแล้วก็ยังมีอัตราการเสพติดสะสมน้อยกว่าโคเคน (20.9%) แอลกอฮอล์ (22.7%) และบุหรี่ (67.5%)อยู่ดี 

นั่นหมายความว่าหากจะพิจารณากัญชาในฐานะเป็นพืชเสพติดแล้ว เมื่อกัญชามีความรุนแรงเสพติดน้อยกว่าบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว มาตรการและควบคุมไม่ควรจะเกินความเข้มข้นเกินมาตรฐานบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่

อย่างไรก็ตามในแนวทางเภสัชศาสตร์ยุคใหม่ ที่เน้นสารสกัดสำคัญออกมาจากตัวกัญชา ก็ย่อมต้องส่งผลทำให้สารสำคัญในกัญชา ที่มีการจับกุมได้ในสหรัฐอเมริกามีปริมาณเข้มข้นทยอยสูงเพิ่มขึ้นไปด้วยตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา [10]

โดยในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1990 ( พ.ศ.​2533 - พ.ศ. 2542) กัญชาที่มีการจับกุมได้ที่สหรัฐอเมริกานั้นมีสาร THC เฉลี่ยประมาณ 3.8% แต่เมื่อเทียบกับเมื่อปี พ.ศ. 2557 กัญชามีสาร THC โดยเฉลี่ยสูงเพิ่มขึ้นเป็น 12.2% และหากเป็นผลผลิตการสกัดกัญชาจะพบสาร THC สูงมากกว่านั้น 50% และในบางครั้งก็มีสาร THC สูงกว่า 80% เสียด้วยซ้ำ นั่นหมายความว่าความเข้มข้นของสาร THC ซึ่งได้มากขึ้นจากวิธีการสกัดกัญชาของวงการยาในแผนปัจจุบัน

ในขณะที่หลายคนมีความไม่แน่ใจในเรื่องการเสพติดอันเนื่องมาจากความเข้มข้นของ THC จากสารสกัดกัญชายุคใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ในขณะที่วงการแพทย์แผนไทยนั้นนอกจากจะไม่สกัดสารสำคัญออกมาแล้ว ยังมีสัดส่วนในตำรับยาโดยใช้ทั้งใบและดอกผสมกับตัวยาอื่นๆอีกจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่าความเข้มข้นของสาร THC ในตำรับยาไทยจะเจือจางกว่ามากเมื่อเทียบกับการสกัดสารสำคัญของกัญชาในยุคปัจจุบัน จริงหรือไม่?

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ถ้าสารสกัดกัญชามีการใช้ในทางการแพทย์ได้ในโลกใบนี้ ไม่มีเหตุผลเลยที่จะห้ามตำรับยาไทยที่มีกัญชาเข้าในตำรับอยู่ในปริมาณที่เจือจางกว่ามาก

ในวงการแพทย์แผนไทยนั้น นอกจากจะใช้กัญชาอย่างระมัดระวังในตำรับยาแล้ว ยังไม่เคยให้มีการสูบกัญชาในทางการแพทย์เพื่อความมัวเมาเลย แม้แต่ในวงการแพทย์แผนไทยเอง ก็ยังบันทึกเขียนในตำราเวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป ซึ่งเขียนขึ้นโดยพระยาพิศณุประสาทเวช ผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร เมื่อร้อยกว่าปีก่อนคือ พ.ศ. 2451 ในหัวข้อเรื่อง “แพทยาลังการว่าด้วยคุณธรรมอันเป็นเครื่องประดับหมอ” ข้อ 12 ความว่า

“ข้อ 12 ไม่เป็นคนมีสันดานอันประกอบด้วยความมัวเมา เป็นต้นว่าเสพสุรา สูบกัญชา ยาฝิ่น หรือมัวเมาละเลิงหลงไปในการเล่นเบี้ย เล่นการพนันต่างๆ.อันเป็นทางที่จะทำให้ตาให้ความเดือดร้อนรำคาญ เพราะความประพฤติอันเป็นข้าศึกกับคุณวิชชาของตา เพื่อหลีกเลี่ยงไปพ้นผิดมิให้พัวพัน มีสันดานตั้งมั่นในทางสุจริตดังนี้ จัดเป็นคุณธรรมเครื่องประดับของหมอประการหนึ่ง” [11]

แสดงให้เห็นว่าแพทย์แผนไทยมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าไม่ควรใช้อย่างไรเป็นความเมามัวหรือเป็นยาเสพติด และใช้อย่างไรจึงจะสามารถใช้เป็นยาได้ ดังนั้นการปลดล็อกกฎหมายเพื่อให้สามารถนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ได้แล้ว ก็ควรจะปลดล็อกให้ภูมิปัญญาในแพทย์แผนไทยด้วย จริงหรือไม่?"

ด้วยความปรารถนาดี

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • 3 ปี‘กัญชาเสรี’สร้างปัญหาสังคม เร่งเดินหน้า‘พ.ร.บ.ควบคุม’หลัง‘ใบอนุญาต’เกลื่อน 3 ปี‘กัญชาเสรี’สร้างปัญหาสังคม เร่งเดินหน้า‘พ.ร.บ.ควบคุม’หลัง‘ใบอนุญาต’เกลื่อน
  • ‘กัญชา-กาสิโน’ยังทำได้! เริ่มแล้ว‘เอ็มพาวเวอร์’ล่าชื่อปลด‘ขายบริการทางเพศ’พ้นอาชีพผิดกม. ‘กัญชา-กาสิโน’ยังทำได้! เริ่มแล้ว‘เอ็มพาวเวอร์’ล่าชื่อปลด‘ขายบริการทางเพศ’พ้นอาชีพผิดกม.
  • ‘ผู้ใหญ่สูบ=เด็กป่วย’! หมอย้ำ‘บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า’รักลูกหลานจริงขอให้เลิก ‘ผู้ใหญ่สูบ=เด็กป่วย’! หมอย้ำ‘บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า’รักลูกหลานจริงขอให้เลิก
  • ‘หมอธีระวัฒน์-รสนา-ปานเทพ’ นัดแถลงยื่น สธ. ประกาศกัญชาเป็นยาเสพติดแบบมีเงื่อนไข ‘หมอธีระวัฒน์-รสนา-ปานเทพ’ นัดแถลงยื่น สธ. ประกาศกัญชาเป็นยาเสพติดแบบมีเงื่อนไข
  • ม็อบกัญชาบุกทำเนียบฯ  ค้านกลับเป็นยาเสพติด ม็อบกัญชาบุกทำเนียบฯ ค้านกลับเป็นยาเสพติด
  • \'ภท.-สายเขียว\'รุมต้านดึงกัญชากลับสู่ยาเสพติด เปิดปมพิรุธมีมติตั้งแต่ยังไม่ได้ประชุม 'ภท.-สายเขียว'รุมต้านดึงกัญชากลับสู่ยาเสพติด เปิดปมพิรุธมีมติตั้งแต่ยังไม่ได้ประชุม
  •  

Breaking News

ชำแหละ 4 ข้อ 'ทักษิณ'โชว์วิสัยทัศน์! 'หลงยุค หลงตัวเอง ขายฝัน แก้ตัว'

'ยุน ซอกยอล'อดีตปธน.เกาหลีใต้ติดคุกอีกรอบ ศาลอนุมัติหมายจับหวั่นหลักฐานถูกทำลาย

'วัส ติงสมิตร'ชี้'หมอ-พยาบาล-จนท.ราชทัณฑ์'ไม่รอด เตรียมรับวิบากกรรม ป่วยทิพย์ชั้น 14

นักธุรกิจการเมืองทำรัฐล้มเหลว! 'สมชาย'ชี้คอร์รัปชันเชิงนโยบาย บ่อนทำลายพลังอำนาจแห่งชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved