วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
บทความพิเศษ : การศึกษาแม่นยำ

บทความพิเศษ : การศึกษาแม่นยำ

วันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

1.การยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ วาระเร่งด่วนที่คนไทยตั้งความหวังกับกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นเวลานานแล้ว แต่คุณภาพนักเรียนก็ยังไม่ดีขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย และเวียดนาม คำถามที่ต้องการคำตอบคือ อะไรเกิดขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ และเพราะเหตุใดกระทรวงศึกษาธิการจึงไม่สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ตามความคาดหวัง ดังนั้น ผมจึงขออาสาพาทุกท่านเดินเข้าไปในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจะพาไปเห็นภาพของคำตอบของคำถามนี้ได้อย่างชัดเจน และแจ่มชัดยิ่งขึ้น

โดยกระทรวงศึกษาธิการและองคาพยพตั้งแต่ระบบใหญ่สุดไปจนถึงตัวนักเรียน ประกอบด้วยกลไก 4 ขั้น คือ 1) ระบบหลัก 3 ระบบ คือ ระบบคุรุสภา, ระบบบริหารงานบุคคล (กคศ.) และระบบสวัสดิการและสวัสดิภาพครู(สก.สค.) 2) ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 3) ระบบเขตพื้นที่การศึกษา (สพม.) 4) ระบบโรงเรียนและชั้นเรียน


ปัญหาสำคัญที่ขวางกั้นการยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ กลไกทั้ง 4 ขั้นนี้ทำงานอย่างไม่สอดคล้องกัน กำกับควบคุมกันไม่ได้ และที่สำคัญคือ แต่ละกลไกไม่ได้เน้นไปที่งานหลักของตน

2.หนึ่ง ระบบหลัก 3 ระบบของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ระบบคุรุสภา สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นกลไกที่จะกำหนดและกำกับมาตรฐานของคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏคือ คุรุสภาทำหน้าที่เพียงกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูและส่งความต้องการนี้ไปให้คณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ดังนั้น ผลที่ปรากฏคือ บัณฑิตที่จบจากคณะศึกษาศาสตร์ที่ออกไปเป็นครูสอนหนังสือไม่เป็น แต่ได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพครูจากคุรุสภา

สำหรับคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นกลไกที่จะกำกับให้อัตราส่วนจำนวนครูต่อจำนวนนักเรียนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด (1:25)ดังนั้น กคศ. จึงเป็นกลไกที่ถือบัญชีจำนวนครูในแต่ละโรงเรียนเพื่อให้ครูแต่ละสาระวิชามีจำนวนสัมพันธ์กับจำนวนชั้นเรียนและนักเรียน ซึ่งในความเป็นจริง พบว่า จำนวนครูต่อจำนวนนักเรียนทั่วประเทศสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่าประเทศไทยไม่ขาดแคลนครู แต่เมื่อลงไปดูในระดับโรงเรียนและชั้นเรียนกลับพบว่า มีครูสาระวิชาไม่เพียงพอตามเกณฑ์ และเกิดปัญหาการขาดแคลนครู โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก

ส่วนระบบสวัสดิการและสวัสดิภาพครูที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นกลไกที่สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตครู ให้ครูมีสวัสดิการและสวัสดิภาพต่างๆ แต่ในความเป็นจริงพบว่า เงินเดือนและค่าตอบแทนของครูโดยเฉลี่ยสูงกว่าข้าราชการพลเรือนทั่วไป (แม้กระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัย) กระนั้นครูส่วนใหญ่ก็ยังมีหนี้สินมากมาย จนเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความมั่นคงในชีวิตและส่งผลกระทบต่อความตั้งใจและทุ่มเทในการเรียนการสอน

3.สอง กลไกขั้นที่ 2 ที่ตั้งบนเสาหลัก 3 เสานี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล, ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนกว่า 40,000 แห่ง ครูอีกหลายแสนคนและนักเรียนหลายล้านคน พร้อมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีกว่า 300,000 ล้านต่อปี ดังนั้น สพฐ. คือเครื่องจักรที่ใหญ่สุดของกระทรวงศึกษาธิการที่จะขับเคลื่อนคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน ซึ่งที่ผ่านมากลไกนี้มีความสามารถสูงต่อการสนองนโยบายทางการเมืองที่เปลี่ยนไปตามคนที่เป็นรัฐมนตรีและรัฐบาล แต่มีความอ่อนแอที่จะกำกับคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน

เมื่อปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของ สพฐ. คือการไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพในโรงเรียนและชั้นเรียนได้ งบประมาณมหาศาลในแต่ละปีจึงเป็นงบประมาณที่ต้องจ่ายเพื่อการคงสภาพโรงเรียนและครูเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการเรียนการสอนก็เดินไปตามสภาพดังเช่นที่ผ่านมา

สาม กลไกขั้นที่ 3 ที่ตั้งบนโครงสร้างของ สพฐ. คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา หลักการสำคัญของสำนักงานเขตพื้นที่ (สพท.) คือการบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบให้สามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ สพท. มีศึกษานิเทศก์ (ศน.) เป็นเครื่องมือสำคัญ หน้าที่ ศน. ที่กำหนดไว้คือ การศึกษาวิจัยโรงเรียนและชั้นเรียน เพื่อนำไปช่วยปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนและชั้นเรียน แต่ในความเป็นจริง พบว่า สพฐ. ไม่ได้มอบอำนาจให้ สพท. เพื่อให้สามารถพัฒนาโรงเรียนและชั้นเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้ ดังนั้น การศึกษาวิจัยที่ สพท. ต้องทำโดย ศน. จึงไม่ได้เป็นประโยชน์กับโรงเรียนที่ สพท. รับผิดชอบ

4.สี่ กลไกขั้นที่ 4 ตั้งบนพื้นฐานของ สพท. คือ โรงเรียนและชั้นเรียน คุณภาพการศึกษาเกิดขึ้นที่โรงเรียนและชั้นเรียน นั่นหมายความว่า การยกระดับคุณภาพการศึกษาเกิดขึ้นได้ที่ชั้นเรียนเท่านั้น ดังนั้น ครูต้องมีความรู้ในสาระวิชาที่สอน ครูต้องมีวิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ และครูต้องมีใจที่อยากสอนและทุ่มเทให้กับการสอน ส่วนนักเรียนต้องมีความสนใจและตั้งใจที่จะคิดและแก้โจทย์ปัญหาตามที่ครูชี้นำ นักเรียนจะต้องสรุปประเด็นของสาระหรือเนื้อหาที่ครูนำเสนอพร้อมกับสาระที่เพื่อนนักเรียนช่วยกันคิดและอภิปรายตอบโจทย์ปัญหาของครู และบรรยากาศในชั้นเรียนต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่เปิดให้นักเรียนคิด และเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ครูต้องเตรียมออกแบบมาก่อน เมื่อนักเรียนฝึกปฏิบัติวิธีการเรียนเช่นนี้จนเป็นนิสัยแล้ว กระบวนการสอนของครูสู่การเรียนรู้ของนักเรียนก็จะพัฒนากลายเป็นประเพณีปฏิบัติหรือวัฒนธรรมการเรียนรู้ของชั้นเรียนไปในที่สุด

ถึงเวลาแล้วครับ ที่การศึกษาไทยจะต้องมี “ความแม่นยำ” คือ การระดมสรรพกำลังทั้งหมดเล็งตรงเป้าหมายไปที่ตัวนักเรียน และวัดผลสำเร็จด้วยคุณภาพของตัวนักเรียนตั้งแต่สมรรถนะ (Competencies), ทักษะ (Skills),อัตลักษณ์ (Character) และจริยธรรมและศีลธรรม (Ethics and Morals) ของนักเรียน นี่คือ“การศึกษาแม่นยำ” ที่ประเทศไทย และคนไทยต้องการครับ

กนก วงษ์ตระหง่าน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'สาธิตจุฬาฯ\'ร่วม\'ยูนิโคล่\' สานต่อโครงการ Happy Gloves เพื่อเด็กพิการทางสมอง จากการคิดค้นของนวัตกรเยาวชนไทย 'สาธิตจุฬาฯ'ร่วม'ยูนิโคล่' สานต่อโครงการ Happy Gloves เพื่อเด็กพิการทางสมอง จากการคิดค้นของนวัตกรเยาวชนไทย
  • EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล\'พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว\' เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา EXIM BANK บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล'พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว' เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
  • ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในพิธีทบทวนคำปฏิญาณ-สวนสนามของลูกเสือ ปี 2568 ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในพิธีทบทวนคำปฏิญาณ-สวนสนามของลูกเสือ ปี 2568
  • Thai PBS Verify Talk: #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง ระดม 13 ผู้เชี่ยวชาญต่อต้านข่าวปลอม ยกระดับสังคมรู้เท่าทันสื่อและ AI Thai PBS Verify Talk: #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง ระดม 13 ผู้เชี่ยวชาญต่อต้านข่าวปลอม ยกระดับสังคมรู้เท่าทันสื่อและ AI
  • ‘เรามีเวลาเท่ากัน’บริหารเวลาและชีวิตด้วยแนวคิดแบบ‘ซีเค เจิง’ ‘เรามีเวลาเท่ากัน’บริหารเวลาและชีวิตด้วยแนวคิดแบบ‘ซีเค เจิง’
  • ‘หอมนสิการ’พลิกโฉมสู่มิวเซียมระดับโลก ชวนสัมผัสประสบการณ์ธรรมะ Immersive แห่งแรกของไทย ‘หอมนสิการ’พลิกโฉมสู่มิวเซียมระดับโลก ชวนสัมผัสประสบการณ์ธรรมะ Immersive แห่งแรกของไทย
  •  

Breaking News

(คลิป) 'อ.วิษณุ'ยัน! 'ลูกน้องนำลูกพี่'เข้าถวายสัตย์ฯตำแหน่ง วธ.1 ได้!

รวบนางนกต่อหนีคดีนาน14ปีร่วมกับพวกอุ้มรีดเงินเหยื่อ

(คลิป) แนวหน้าTAlk : ผ่าแผนผลประโยชน์ทับซ้อน 'ทักษิณ-ฮุนเซน'?

รองเหลือง รับรางวัลคุณธรรมระดับชาติ THAILAND MORAL AWARDS 2024

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved