วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ส่องเกษตร : น้ำ...ไปไหน

ส่องเกษตร : น้ำ...ไปไหน

วันพุธ ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

 

น้ำ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโลกใบนี้ และยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ รวมไปถึงการผลิตทางการเกษตร น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่ชี้วัดความสำเร็จของการทำการเกษตร ถ้าน้ำดีเชื่อได้ก่อนว่าการทำการเกษตรจะไม่มีปัญหา ดังนั้นการพัฒนาด้านการเกษตรจึงเริ่มต้นที่การพัฒนาน้ำก่อนที่จะพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นดิน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ การดูแลรักษา สิ่งเหล่านี้มักจะมีความสำคัญในลำดับรอง เมื่อเทียบกับการพัฒนาด้านน้ำ


ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่า ปริมาณน้ำจากฝนที่ตกลงมาที่ภาษาคนในวงการเขาเรียกกันว่าน้ำฟ้าในแต่ละปีของประเทศไทยเรานั้น จะมากบ้างน้อยบ้าง แต่ปริมาณที่กักเก็บเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคต่างๆ มีปริมาณไม่เกินร้อยละ 30 และเรามักจะได้ยินปัญหาน้ำมาก น้ำน้อยกันเป็นประจำ โดยเฉพาะในปีที่น้ำน้อยถึงกับต้องมีการจัดสรรให้แต่ละภาคส่วนได้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และต้องมีผู้เสียสละเสมอ ซึ่งก็ไม่พ้นการเกษตรที่ต้องยอมไม่ทำการผลิตในปีที่น้ำน้อย เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม และการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของผู้คนในสังคมยังคงอยู่กันได้

ประเด็นการกักเก็บน้ำดังกล่าว มีทั้งผู้รู้และผู้แสดงว่ารู้ออกมาให้ความเห็นกันหลายอย่างถึงการกักเก็บน้ำให้ได้มากยิ่งขึ้น ไม่ให้ไหลลงสู่ทะเลโดยไม่เกิดประโยชน์ หากจะให้ขยายความถึงวิธีการกักเก็บ คำตอบยังไม่ชัดเจนออกมาเท่าใดนัก หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำโดยตรง รับผิดชอบในการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ ได้ให้ข้อมูลด้านปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะประเด็นของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ฝ่ายต่อต้านการสร้างเขื่อนไม่เคยยอมรับผลการวิเคราะห์ดังกล่าว เพราะมองว่าการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บกักน้ำขนาดใหญ่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีของชุมชน โดยที่ผลที่ได้จากการสร้างเขื่อนดังกล่าวไม่สามารถชดเชยสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นกว่าร้อยปีของงานชลประทานในบ้านเมืองของเราจึงสามารถสร้างพื้นที่ในเขตชลประทานได้เพียง 30 ล้านไร่ จากพื้นที่การเกษตรรวมราว 149 ล้านไร่ ไม่นับรวมพื้นที่ในเขตชลประทานที่กลายร่างเป็นพื้นที่เมืองและย่านอุตสาหกรรมแทนการเกษตรเดิมที่ถูกผลักไสออกไป ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพื้นที่การเกษตรกว่า 100 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานที่จะต้องแสวงหาแหล่งน้ำมาทำการเกษตรเอง แม้ว่าจะมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาดำเนินการในส่วนนี้ แต่ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด ความแตกต่างของการผลิตทางการเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทานกับเขตนอกพื้นที่ชลประทานจึงแตกต่างกันมาก

การสูญเสียน้ำฟ้าไปในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความพยายามที่จะกักเก็บน้ำเหล่านี้ไว้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับฟังข้อมูลจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลถึงแนวคิดในการทำธนาคารน้ำใต้ดินซึ่งกำลังเป็นกระแสของในปัจจุบัน โดยมีหลายแนวคิดและทฤษฎีมาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้ทดลองดำเนินการในพื้นที่ทุ่งบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งที่ทราบดีว่าเป็นทุ่งรับน้ำที่มีน้ำท่วมเป็นประจำแทบทุกปี เมื่อพิจารณาโครงสร้างของชั้นดิน พบว่า ดินชั้นบนเป็นดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินทราย และสามารถที่จะกักเก็บน้ำไว้ในใต้ดินได้ แต่ประเด็นคือ ดินบนที่เป็นดินเหนียวทำให้น้ำที่อยู่บนผิวดินซึมลงสู่ชั้นใต้ดินได้น้อย ดังนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการเจาะจากผิวดินทะลุชั้นดินเหนียว ลงไปในชั้นดินทรายลึกประมาณ 30 เมตร จำนวนมากกว่า 300 จุด เพื่อให้น้ำบนผิวดินซึมผ่านลงไปกักเก็บไว้ในชั้นล่าง
ได้ ซึ่งนอกจากจะสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้แล้ว ยังชะลอการไหลของน้ำ ลดปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน คงความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้อีกด้วย แนวทางการดำเนินงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลดังกล่าว
นับว่ามีประโยชน์หลายด้าน นอกจากการเก็บกักน้ำแล้ว การลดความสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของผิวหน้าดินก็เกิดผลดีด้วย ผมจึงเสนอให้ขยายการดำเนินการไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อจะได้เป็นอีก
กำลังหนึ่งในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ วิธีการดังกล่าวน่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันไม่ให้ใครมาประท้วงว่าทำลายวิถี ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ น้ำที่หายไปจะกลายเป็นน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด

สมชาย ชาญณรงค์กุล

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘เลขาธิการมกอช.’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2568 ‘เลขาธิการมกอช.’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2568
  • ‘อธิบดีกรมฝนหลวง’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2568 ‘อธิบดีกรมฝนหลวง’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2568
  • ‘อธิบดีกรมปศุสัตว์’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2568 ‘อธิบดีกรมปศุสัตว์’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีพุทธศักราช 2568
  • ‘กรมชลประทาน’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2568 ‘กรมชลประทาน’ เข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2568
  • สชป.7 ลงพื้นที่อุบลฯ หารือแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือประชาชน สชป.7 ลงพื้นที่อุบลฯ หารือแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือประชาชน
  • ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น ชาวกาฬสินธุ์‘ปลูกเห็ดฟาง’ลงทุนหลักพันฟันกำไรหลักหมื่น
  •  

Breaking News

โอละพ่อ! คนสนิท 'สว.โชคชัย' บอกพิกัดบ้านผิด ทำ 'กกต.-DSI' หลงทาง

สอยคิวลุ้น! บรรจุแข่งโอลิมปิกเกมส์

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

จอดรถถ่ายรูป'ว่าที่ สท.คนดัง' โดนล้อมรถทุบกระจกร้าว อึ้งตำรวจไม่รับแจ้งความ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved