วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
วิเคราะห์‘สุขภาพการเงิน’  ทางรอด‘ธุรกิจท้องถิ่น’ไทย

วิเคราะห์‘สุขภาพการเงิน’ ทางรอด‘ธุรกิจท้องถิ่น’ไทย

วันพุธ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

 

“สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ให้ได้ว่าปัญหาที่แท้จริงของการดำเนินธุรกิจท้องถิ่นคืออะไร ไม่ใช่ดูแค่ความต้องการ เช่น หากเขาบอกเราว่าต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งหากจะทำจริงมันก็คือการลงทุน เพราะฉะนั้น ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น จำเป็นต้องรู้สถานการณ์จริงของวิสาหกิจแต่ละแห่งเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องสุขภาพทางการเงิน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลของ SMEs ที่ผ่านมาจะสามารถแบ่งสุขภาพธุรกิจเป็น 3 กลุ่มคร่าวๆ คือ 1.รุ่ง ธุรกิจมีกำไร และมีสภาพคล่องทางการเงิน 2.รอด ธุรกิจมีกำไรแต่ไม่มีสภาพคล่อง หรือไม่มีกำไรแต่มีสภาพคล่อง และ 3.ร่อแร่ ไม่มีกำไรและไม่มีสภาพคล่อง”


คำกล่าวของ ผศ.ดร.บัณฑิตอินณวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร (EAST)ในฐานะหัวหน้าโครงการ “ศูนย์ประสานงาน/บริหารจัดการเพื่อยกระดับ เสริมศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่นพร้อมกับการสร้างแพลตฟอร์มและกลไกการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”ถึงการนำงานวิจัยเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งนักวิจัยจำเป็นต้องนำความต้องการของผู้ประกอบการมาวิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน

นั่นจึงเป็นที่มาของกรอบวิจัย “วิสาหกิจท้องถิ่น (Local Enterprise)” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีเป้าหมายคือ การยกระดับและ
เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชน ที่ผ่าน “การจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่(New Value Chain)” โดยมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนวิจัยในปีงบประมาณ 2563 จำนวนทั้งสิ้น 15 มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.บัณฑิตกล่าวต่อไปว่ากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างวิสาหกิจชุมชนและทีมนักวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกการดำเนินงานวิจัยของมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ในครั้งนี้ จะต้องเกิดการสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนในห่วงโซ่เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 นอกจากนี้ยังต้องทำให้เกิดการกระจายรายได้ลงไปสู่กลุ่มเกษตรกร/ผู้ผลิตที่เป็นภาคีต้นน้ำอย่างน้อยร้อยละ 10 อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยภายใต้กรอบวิจัยนี้ไม่ใช่การสร้างองค์ความรู้ (Knowhow)หรือสร้างความรู้ (Knowledge) ให้กับห่วงโซ่มูลค่าใหม่ (New Value Chain) แต่เป็นทุนสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยที่สามารถเข้าไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของธุรกิจท้องถิ่นได้จริง ดังนั้น การทราบถึงสุขภาพทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนแต่ละแห่งตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้มีแนวทางในการทำวิจัยร่วมกับวิสาหกิจนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม

“ผมได้สื่อสารกับทีมวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัย ในการทำการวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis)ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแต่ละราย เพื่อให้เขาเกิดความเข้าใจในศักยภาพของตนเองและสถานภาพทางการเงินที่แท้จริงเสียก่อน ว่าตัวเขาอยู่ในสถานะรุ่ง รอดหรือร่อแร่ ก่อนเราจะหนุนเสริมด้วยกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการนำข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านการขาย การผลิต การตลาด สภาพคล่องทางการเงิน

และอื่นๆ ที่ได้จากการทำ FinancialAnalysis มาวางแนวทางปฏิบัติใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละรายต่อไป ซึ่งจากประสบการณ์ที่นำวิธีการนี้ไปใช้กับผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 50 ราย พบว่า กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจนี้ สามารถช่วยผู้ประกอบการกว่า 30 ราย ลดหนี้ 10% หรือมีรายได้เพิ่มขึ้น 10% ได้ทันที โดยยังไม่มีการใส่นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือกระบวนการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการแต่อย่างใด” ผศ.ดร.บัณฑิตกล่าว

ผศ.ดร.บัณฑิต ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้กำลังจะถ่ายทอดแนวทางการทำกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ให้กับมหาวิทยาลัยที่รับทุนภายใต้กรอบวิจัย Local Enterpriseของ บพท. ซึ่งหากทีมวิจัยมีการนำไปใช้กับวิสาหกิจที่ร่วมในกระบวนการวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัยแล้ว จะเป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนในการบริหารจัดการงานวิจัยให้แต่ละวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย

สามารถเพิ่มรายได้ร้อยละ 10 ตามเป้าที่กำหนดไว้!!!

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดสัมมนา‘AI เพื่อสังคม 2025’ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดสัมมนา‘AI เพื่อสังคม 2025’
  • 2 โครงการ บพท. ร่วม 25 มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก 2 โครงการ บพท. ร่วม 25 มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก
  • ร่วมเชิดชู-เปิดตัวครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย และครูรางวัลคุณากรประจำปี68 ร่วมเชิดชู-เปิดตัวครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย และครูรางวัลคุณากรประจำปี68
  • \'นฤมล\'สั่งสอบข้อเท็จจริง\'ครูกาญจนบุรี\'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • ‘นฤมล’สั่ง\'สพฐ.-สพท.\'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม  หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • สพฐ.จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ยกระดับครู บุคลากรทางการศึกษา สพฐ.จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ยกระดับครู บุคลากรทางการศึกษา
  •  

Breaking News

ล้วงย่ามพระ!‘สุชาติ’เล็งตั้ง‘ธนาคารพุทธศาสนา’ ดูแลทรัพย์สิน-แยกเงิน‘สงฆ์-วัด’

วิเคราะห์เจาะลึกผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ 'ดร.รุ่ง' หรือ 'วิทัย' ใครเหมาะคุมเสถียรภาพเศรษฐกิจ?

ภูมิธรรม รับฟัง ‘เลขาฯกฤษฎีกา’ แนะ ครม. รักษาการนายกฯยุบสภาไม่ได้ บอกความเห็น ‘วิษณุ’ ก็ต้องฟัง

รุกฆาต! ดันนิรโทษกรรมสุดซอย ส้มแดงดีลลับ ปล่อยผี 'คดีทุจริต-ม.112คดีอาญาร้ายแรง'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved