‘นพ.ยง’ไขที่มาขึ้นทะเบียน‘วัคซีนโควิด’ในภาวะฉุกเฉิน คาดระยะ3ใช้อาสาสมัครนับหมื่น
13 มกราคม 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” เกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิด-19” โดยเฉพาะในประเด็นเรื่อง “วัคซีน” มีเนื้อหาระบุว่า “โควิด-19 วัคซีน โรคทุกโรคป้องกันได้ ควรได้รับการป้องกัน ทำนองเดียวกัน โควิด-19 ก็ควรได้รับการป้องกัน ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า ล้างมือ หรือ ถูแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่างของบุคคล นอกจากการปฏิบัติแล้ว ถ้ามีวัคซีนในการป้องกัน ควรได้รับการป้องกัน”
“โควิด-19 ระบาดอย่างรวดเร็ว และยากที่จะกวาดล้างให้หมดไป มาตรการในการควบคุม ป้องกันการระบาด และสูญเสีย จึงจำเป็นที่จะต้องมีวัคซีนมาเสริม ป้องกัน และควบคุม จึงมีการเร่งพัฒนา ผลิตวัคซีนในการป้องกัน กันอย่างมาก และรวดเร็ว “
“การพัฒนาเป็นไปตามขั้นตอน จากการทดลองในสัตว์ ผ่านเข้าสู่อาสาสมัครในมนุษย์ ระยะที่ 1 2 และ 3 ในระยะที่ 3 จะต้องใช้อาสาสมัครเป็นหลักหมื่น และทำการศึกษาอย่างละเอียด”
“ในภาวะฉุกเฉิน จึงมีการยอมให้ขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน และภาวะปกติจะตามมาทีหลัง มีการรายงานผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในการให้ประชาชนหมู่มาก โดยทั่วไปจะติดตามต่อหลังใช้แล้ว อีก 2 ปี การอนุมัติให้ใช้แบบฉุกเฉิน จะมีการคำนึงถึงผลได้ ประโยชน์ และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น”
“ขณะนี้วัคซีนในการป้องกัน โควิด-19 แต่ละชนิด มีการใช้หลายล้านโดส โดยรวมได้ถูกไปใช้แล้วประมาณ 30 ล้านโดส และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แบบก้าวกระโดด กว่าประเทศไทยจะได้ใช้ ก็น่าจะมีการใช้ทั่วโลกไปแล้วโดยรวมเป็นร้อยล้านโดสแล้ว”
นอกจากนี้ นพ.ยง ยังโพสต์ต่อเนื่องในประเด็นเดียวกัน ระบุว่า “วัคซีนโควิด โรคทุกโรคที่ป้องกันได้ควรป้องกัน ในอดีตที่ผ่านมา จะมีกลุ่มที่ต่อต้านวัคซีน มีการบอกกล่าวและทำการวิจัยปลอม ว่าฉีดวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม ในทารก แล้วทำให้เกิดออทิสติก มีการเผยแพร่ น่าเชื่อถือ และทำให้เด็กจำนวนมากเสียโอกาสในการรับวัคซีน หัด ทำให้เสียชีวิตจากโรคหัดจำนวนมาก ต่อมาจึงมีการศึกษา พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ว่าวัคซีนดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก แต่อย่างใด”
“กว่าจะพิสูจน์ได้ และรู้ว่าการศึกษาวิจัยนั้นปลอมเกิดขึ้นจากกลุ่มต่อต้านวัคซีน ก็ใช้เวลาร่วม 10 ปี และมีเด็กเสียชีวิตจากโรคหัดที่ป้องกันได้จำนวนมาก”
“การสูญเสียจากโรคโควิด กับอาการข้างเคียงของวัคซีนโควิด เป็นเหตุผลหนึ่งที่นำเอามาพิจารณาใช้อย่างฉุกเฉิน และหลังจากการที่ข้อมูลจำนวนมากแล้ว ก็จะอนุญาตให้ใช้หรือขึ้นทะเบียนในภาวะปกติต่อไป”
26 กุมภาพันธ์ 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เผยสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า ม
26 กุมภาพันธ์ 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ผ่านทางเฟซบุ๊ก "Thira W
สธ.วางคิวฉีดวัคซีนให้\"บิ๊กตู่-อนุทิน\" คาดหากตรวจรับรองรุ่นการผลิตเสร็จแล้ว พร้อมดีเดย์เข็มแรก 28 กุมภาฯ ส่วนประชาชนแต่ละจังหวัดคาดเริ่มวันที่ 1 มีนาฯ
ศบค.ห่วงเมียนมาทะลักข้ามชายแดน‘ตาก’ จัด‘วัคซีน’ให้กลุ่มแรก
ศบค.จับตากลุ่ม‘นักกีฬาฟุตซอล’ติดโควิด ข้ามจังหวัด‘สมุทรสาคร-กทม.’/เสี่ยงสูงอีก 50 ราย
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณี ธนาคารกรุงไทย สาขาอ่างทอง ได้ปิดประกาศไว้บริเวณหน้าประตูธนาคาร มีข้อความว่า “แจ้งปิดสาขาฉุกเฉิน 24-
"บิ๊กตู่"ไม่ปิดกั้นเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ปัดตอบสื่อนอกตีข่าว"จตุจักร"ต้นทางแพร่เชื้อก่อน"อู่ฮั่น"
เปิดภาพ‘อนุทิน’นำ‘วัคซีนโควิด’ลอตประวัติศาสตร์ เก็บเข้าคลัง
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี